ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูนศุข พนมยงค์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox Person
{{Infobox Person
| name = ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์
| name = ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์
| image = Poonsuk Phanomyong.jpg
| image = Poonsuk Phanomyong.jpg
| caption =
| caption =
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
| footnotes =
| footnotes =
}}
}}
'''ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์''' ([[2 มกราคม]] [[พ.ศ. 2455]] - [[12 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2550]]) เป็นภริยาของ [[ปรีดี พนมยงค์|ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์]] รัฐบุรุษอาวุโสและอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ท่านเป็นแบบอย่างของภริยานักการเมืองที่ใช้ชีวิตสมถะ เรียบง่าย เข้มแข็ง กล้าหาญ และให้อภัยเสมอ
'''ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์''' ([[2 มกราคม]] [[พ.ศ. 2455]] - [[12 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2550]]) เป็นภริยาของ [[ปรีดี พนมยงค์|ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์]] รัฐบุรุษอาวุโสและอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ท่านเป็นแบบอย่างของภริยานักการเมืองที่ใช้ชีวิตสมถะ เรียบง่าย เข้มแข็ง กล้าหาญ และให้อภัยเสมอ


[[พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)]] เคยกล่าวถึงท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ไว้ว่า
[[พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)]] เคยกล่าวถึงท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ไว้ว่า

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:26, 17 กรกฎาคม 2556

ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์
เกิดพูนศุข ณ ป้อมเพชร์
2 มกราคม พ.ศ. 2455
จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศสยาม
เสียชีวิต12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 (95 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากภริยานายกรัฐมนตรี
คู่สมรสศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์
บุตร6 คน
บุพการีมหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์)
คุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา
ญาติเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์ (2 มกราคม พ.ศ. 2455 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550) เป็นภริยาของ ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสและอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ท่านเป็นแบบอย่างของภริยานักการเมืองที่ใช้ชีวิตสมถะ เรียบง่าย เข้มแข็ง กล้าหาญ และให้อภัยเสมอ

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เคยกล่าวถึงท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ไว้ว่า

ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ มิใช่เป็นเพียงบุคคลหนึ่ง ที่มีชื่อผ่านเข้ามาในประวัติศาสตร์ ในฐานะเป็นภริยาของท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ เท่านั้น แต่ชีวิตของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เป็นประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งด้วยทีเดียว อย่างน้อย ในกระแสแห่งความผันผวนปรวนแปรของเหตุการณ์บ้านเมือง ที่ชีวิตของท่านผู้หญิงพูนศุข ถูกกระทบกระแทก อย่างหนักหน่วงรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่า ตลอดช่วงเวลายาวนาน ท่านผู้หญิงรู้เห็น รู้สึก มองสถานการณ์และเหตุการณ์เหล่านั้นอย่างไร รวมทั้งนำชีวิตและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะครอบครัว ลุล่วงผ่านพ้นมาได้อย่างไร ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาอย่างมาก

ชีวิตก่อนสมรส

ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (สกุลเดิม: ณ ป้อมเพชร์) เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในจวนเจ้าเมือง จ.สมุทรปราการ เป็นธิดาคนที่ 5 ของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร) อธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ[1] กับ คุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ธิดาของนายดี และนางนิล สุวรรณศร) ได้รับพระราชทานนาม "พูนศุข" จากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง

ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ มีศักดิ์เป็น "หลานตา" ของ มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) นับเนื่องด้วยมารดาของท่าน คือ คุณหญิงชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (เพ็ง สุวรรณศร) เป็นบุตรีของหลวงแก้วสัสดี (ดี สุวรรณศร) กับนางนิล สุวรรณศร (สุขุม) ซึ่งเป็นพี่สาวของเจ้าพระยายมราช อีกด้านหนึ่ง ท่านผู้หญิงพูนศุขก็มีศักดิ์เป็น "หลานป้า" ของท่านผู้หญิงตลับ สุขุม (พี่สาวของพระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา) ผู้เป็นภริยาของเจ้าพระยายมราช ชีวิตในวัยเด็กของท่านผู้หญิงพูนศุขจึงมีความสนิทสนมและคุ้นเคยกับญาติทาง "บ้านศาลาแดง" เป็นอย่างดี

ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา (รวมตัวท่านด้วย) จำนวน 12 คน ดังนี้

  • นางอดิศักดิ์อภิรัตน์ (พิศ บุนนาค) สมรสกับ พันตำรวจเอก พระอดิศักดิ์อภิรัตน์ (เต็ม สุริยวงศ์ บุนนาค บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์)
  • หลวงวิชิตอัคนีนิภา (ขาว ณ ป้อมเพชร์)
  • นายเข็ม ณ ป้อมเพชร์
  • นางศรีราชบุรุษ (สารี ปุณศรี) สมรสกับ หลวงศรีราชบุรุษ (แปลง ปุณศรี)
  • ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ สมรสกับ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของประเทศไทย
  • นางอัมพา สุวรรณศร (มีศักดิ์เป็นยายของ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ภริยานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย) สมรสกับ ศาสตราจารย์ประมูล สุวรรณศร
  • นางเพียงแข สุนทร-วิจารณ์ สมรสกับ ศาสตราจารย์เย็น สุนทร-วิจารณ์
  • นางสาวนวลจันทร์ ณ ป้อมเพชร์
  • เด็กหญิงเภา ณ ป้อมเพชร์
  • นางอุษา สุนทรวิภาต
  • นายอานนท์ ณ ป้อมเพชร์
  • นายชาญชัย ณ ป้อมเพชร์

เมื่อท่านผู้หญิงพูนศุขอายุได้ 4 ปี บิดาของท่านได้ย้ายเข้ากรุงเทพฯ เพื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ มีบ้านพักอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาที่คลองสาน ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ "บ้านป้อมเพชร์" ถนนสีลม พออายุย่างเข้า 6 ปี ก็ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ จนจบชั้นมัยม 7 มีเพื่อนร่วมรุ่นอาทิ คุณหญิงแร่ม พรหมโมบล คุณหญิงละไม หงส์ยนต์ คุณเจริญ ชูพันธุ์ ม.ล. ต่อ กฤดากร

สมรส

ท่านผู้หญิงพูนศุข สมรสกับ นายปรีดี พนมยงค์ ญาติฝ่ายบิดา ดุษฎีบันฑิตหนุ่มทางกฎหมายจากฝรั่งเศส ซึ่งมีอายุมากกว่า 11 ปีเมื่อปี พ.ศ. 2472 ขณะมีอายุได้ 17 ปี และยังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยม 7 ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ หลังจากสมรสได้เพียง 3 ปี ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยนายปรีดี ผู้เป็นสามีเป็นหนึ่งในผู้ก่อการร่วมด้วย ด้วยเหตุที่เป็นภริยาของผู้ที่เคยเป็นผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเคยเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 หัวหน้าขบวนการเสรีไทย รัฐบุรุษอาวุโส ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ทำให้ท่านผู้หญิงพูนศุข เข้าไปอยู่ในหลายเหตุการณ์ของประวัติศาสตร์การเมืองไทยโดยปริยาย ถูกกลั่นแกล้ง จนต้องระหกระเหินและเผชิญชะตากรรมไม่ต่างไปจากสามี

ท่านมีบุตร-ธิดา กับนายปรีดี พนมยงค์ รวมทั้งหมด 6 คน คือ

เผชิญมรสุมทางการเมือง

เมื่อเกิดการรัฐประหารในคืนวันที่ 8 พ.ย. 2490 คณะรัฐประหารได้นำรถถังบุกยิงถล่มใส่ในบ้านทำเนียบท่าช้าง เพื่อที่จะกำจัดนายปรีดี แต่นายปรีดีได้หลบหนีลงเรือไปก่อนที่คณะรัฐประหารจะบุกเข้ามา และเป็นโชคดีที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ทำให้ท่านผู้หญิงพูนศุขต้องดูแลลูก ๆ เพียงลำพัง โดยต้องรับหน้าที่เป็นพ่อและแม่ในคราวเดียวกัน เพราะสามีต้องหนีภัยการเมืองไปต่างประเทศ

เมื่อตามจับนายปรีดีไม่ได้ คณะรัฐบาลในขณะนั้นก็หันมาจับท่านผู้หญิงพูนศุข และนายปาล พนมยงค์ บุตรชายคนโตแทน เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2495 ด้วยข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร ต้องถูกควบคุมตัวในสถานที่กักกันเป็นเวลานาน 84 วัน นับเป็นการประสบกับมรสุมทางการเมืองครั้งร้ายแรง ท้ายที่สุดภายหลังอัยการสั่งไม่ฟ้องเอาผิด เพราะไม่มีหลักฐาน ก็ได้รับการปล่อยตัว

พบกับรัฐบุรุษอาวุโสอีกครั้ง

หลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว ท่านผู้หญิงพูนศุขได้ตัดสินใจเดินทางออกจากประเทศไทย ไปประเทศฝรั่งเศส อังกฤษและสวีเดน กระทั่งได้รับข่าวสารจากสามี ก่อนจะตามไปอยู่ด้วยกันที่ประเทศจีน หลังจากที่ต้องพลัดพรากจากกันนานถึง 5 ปี และอยู่ร่วมกันที่กรุงปักกิ่งเป็นเวลา 16 ปี จึงได้ย้ายไปอยู่บ้านพักหลังเล็ก ๆ ที่ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จวบจนกระทั่งนายปรีดี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2530 ท่านผู้หญิงพูนศุขจึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการถาวร

อนิจกรรม

ไฟล์:ท่านผู้หญิงพูนศุข.jpg
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์

ท่านผู้หญิงพูนศุขถึงแก่อนิจกรรมโดยสงบ เมื่อเวลา 02:04 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังจากได้เข้ารักษาอาการโรคหัวใจ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม[2] สิริอายุ 95 ปี 4 เดือน

การจัดพิธีไว้อาลัยเป็นไปตามคำสั่งเสียทุกประการ ซึ่งท่านผู้หญิงพูนศุข ได้เขียน "คำสั่ง" กำชับ ด้วยลายมือตนเอง เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2541 ขณะมีอายุ 86 ปี 9 เดือน ทั้งสิ้น 10 ข้อ

คำสั่งถึงลูก ๆ ทุกคน

เมื่อแม่สิ้นชีวิต ขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. นำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทันที เมื่อหมอตรวจว่าหมดลมหายใจแล้ว
  2. ไม่ขอรับเกียรติยศใด ๆ ทั้งสิ้น
  3. ประกาศทางวิทยุ และลงหนังสือพิมพ์เพื่อแจ้งข่าวให้ญาติมิตรทราบ
  4. ไม่มีการสวดอภิธรรม ทั้งนี้ไม่รบกวนญาติมิตรที่ต้องมาร่วมงาน
  5. มีพิธีไว้อาลัยที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ โดยนิมนต์พระที่แม่นับถือแสดงธรรมกถา (เช่นเดียวกับที่จัดให้ปาล) และทำบัตรสำหรับหนังสือที่ระลึก
  6. ไม่รบกวนญาติมิตร ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ หรือเงินช่วยทำบุญ
  7. เมื่อโรงพยาบาลคืนศพมาก็ทำการฌาปนกิจอย่างเรียบง่าย
  8. ให้นำอัฐิและอังคารไปลอยที่ปากน้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นสถานที่แม่เกิด
  9. หากมีเงินบ้างก็ขอให้บริจาคเป็นทานแก่มูลนิธิต่าง ๆ ที่ทำสาธารณกุศล
  10. ขอให้ลูกทุกคนปฏิบัติตามที่แม่สั่งไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ต้องฟังความเห็นผู้หวังดีทั้งหลาย ลูก ๆ ที่ปฏิบัติตามคำสั่งแม่ จงมีความสุข ความเจริญ
พูนศุข พนมยงค์
เขียนไว้ที่บ้านเลขที่ ๑๗๒ สาธร ๓ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
แม่มีอายุครบ ๘๖ ปี ๙ เดือน[3]

ท่านผู้หญิงพูนศุข เคยกล่าวถึงความรู้สึกของตัวท่านเองว่า "เมื่อฉันรำลึกถึงความหลังคราใด ก็รู้สึกซาบซึ้งที่นายปรีดีได้เสียสละและไม่เห็นแก่ตัว... และอดภูมิใจไม่ได้ว่าเป็นภริยานักการเมืองที่มุ่งบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร โดยมิเคยฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือกอบโกยผลประโยชน์เพื่อตัวเองและครอบครัวเลย... เหตุการณ์มากมายหลายอย่างได้เข้ามาสู่ชีวิตของฉัน ล้วนสอนให้ฉันได้เข้าใจในสัจจะของโลกอย่างแจ่มชัด... ฉันตั้งอยู่ในเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์ ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต อโหสิกรรมกับทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ถือโกรธเคืองแค้นใด ๆ อีก... นั่นคือความภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตของฉันแล้ว"

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เบ็ดเตล็ด

  • ท่านผู้หญิงพูนศุข มักกล่าวถึงสามี โดยใช้สรรพนามว่า "นายปรีดี" สะท้อนความตระหนักถึงการเป็นสามัญชน แม้ว่าสามีของตนได้รับยกย่องให้เป็นถึงรัฐบุรุษอาวุโส

อ้างอิง

  1. ช่วงหนึ่งแห่งชีวิต ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์ นิตยสารสารคดี เมษายน พ.ศ. 2543
  2. สิ้น"ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์", ประชาไท, 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550, เรียกดูเมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
  3. คำแถลงการณ์ของทายาทท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์, สถาบันปรีดี พนมยงค์
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, ตอนที่ ๐ ง, เล่ม ๕๖, ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒, หน้า ๑๗๙๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕, ตอน ๐ ง, ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑, หน้า ๓๐๒๐

แหล่งข้อมูลอื่น