ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{กล่องข้อมูล คณะในมหาวิทยาลัย
{{กล่องข้อมูล คณะในมหาวิทยาลัย
| ชื่อ = คณะสาธารณสุขศาสตร์ <br>มหาวิทยาลัยมหิดล
| ชื่อ = คณะสาธารณสุขศาสตร์ <br>มหาวิทยาลัยมหิดล

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:29, 19 มิถุนายน 2556

คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
Faculty of Public health Mahidol University
ไฟล์:Logo Mahidol.png
สถาปนา12 ตุลาคม พ.ศ. 2491
คณบดีรศ.นพ.พิทยา จารุพูนผล
ที่อยู่
420/1 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
สีสีชมพูอมส้ม (Salmon Pink)
เว็บไซต์ph.mahidol.ac.th

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคณะสาธารณสุขแห่งแรกของไทย และมีบทบาทในการวางรากฐานด้านการศึกษาทางสาธารณสุขของประเทศมาโดยตลอด

ประวัติ

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านการสาธารณสุขแห่งแรกของประเทศไทย โดยได้รับการสถาปนาเป็นคณะสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ซึ่งในขณะนั้น ยังคงใช้ชื่อว่า "คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" คณะสาธารณสุขศาสตร์ได้ร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ ต่าง ๆ เช่น SEMEO – Trop.Med., องค์การอนามัยโลก, UNICEF., และ ธนาคารโลก ฯลฯ และเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท (นานาชาติ) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ทางคณะมีบทบาทในการศึกษาวิจัยเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ ยังให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่มิตรประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคด้านการวางแผนพัฒนาสาธารณสุขอีกด้วย

สีประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์

ใช้สีชมพูอมส้ม (Salmon Pink) ██ เป็นสีประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ โดยที่เป็นสีสากล

ต้นไม้ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์

ต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Cassia fistula Linn และ มีชื่ออื่น ๆ หลายชื่อ เช่น คูน ลมแล้ง กุเพยะ (ภาษากะเหรี่ยงกาญจนบุรี) ต้นราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเป็นใบประกอบ มีดอกสีเหลืองห้อยระย้าเป็นช่อยาว ดอกจะบานจากโคนไปหาปลายช่อ ออกดอกเหลืองอร่ามสดใส บานสะพรั่งพร้อมกันทั้งต้นจนเกือบมองไม่เห็นส่วนใบ ช่วยให้บรรยากาศและทัศนียภาพ ดูสวยงาม สดใส มีชีวิตชีวามากขึ้น ท่ามกลางความร้อนระอุ ทุรกันดาร และแห้งแล้งในฤดูร้อน จะพบเห็นได้ทั่วทั้งประเทศ

วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2544 รัฐบาลไทยได้ประกาศ ดอกราชพฤกษ์ หรือดอกลมแล้งเป็นดอกไม้ประจำชาติไทย ดอกสีเหลือง เป็นสีสัญลักษณ์พุทธศาสนา และเป็นสีวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ต้นราชพฤกษ์ สื่อความหมายถึง ชาวสาธารณสุข ที่ได้รุกเข้าไปในถิ่นแดนไกล ทุรกันดารทั่วทุกหัวระแหงของประเทศ เพื่อปฏิบัติภารกิจสาธารณสุขตามรอยพระบาท “พระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย” ดังเนื้อร้องในเพลง “วันสีเหลือง” ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ตอนหนึ่งที่ว่า “มุ่งออกไป ณ ถิ่นแดนไกล ทุรกันดาร ป้องกันทุกข์ เพราะโรคภัยชุก เรารุกมิวาง บำรุงเสริมความสุข เพิ่มพูน ในทุก ๆ ทาง มีใจรักกว้างขวาง ในหมู่ประชาชาวไทย

ภาควิชา

สถาบันสมทบ

หลักสูตร

ระดับปริญญาตรี ระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาสาธารณสุขศาสตร์ วิชาเอก
    • วิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม
    • สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
    • โภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร
    • วิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อสุขภาพ
    • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
    • อนามัยชุมชน

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางสาธารณสุข

  • สาขาการพยาบาลสาธารณสุขเวชปฏิบัติ
  • สาขาการพยาบาลอาชีวอนามัย

หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาพัฒนาระบบสารสนเทศสาธารณสุข

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • ชีวสถิติ
  • เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
  • สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
  • สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
  • สนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • วิทยาการระบาดทางการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาสาธารณสุขศาสตร์ (หลักสูตรไทยและนานาชาติ) วิชาเอก
    • สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
    • โภชนวิทยา
    • พยาบาลสาธารณสุข (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
    • โรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด
    • อนามัยครอบครัว
    • บริหารโรงพยาบาล
    • บริหารสาธารณสุข (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
    • บริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข (เฉพาะหลักสูตรไทย)

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาการบริหารโรงพยาบาล
  • สาขาสาธารณสุขเขตเมือง (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาสาธารณสุขมูลฐาน (หลักสูตรนานาชาติ)
  • หลักสูตรไทยและนานาชาติ
    • ทันตสาธารณสุข
    • การส่งเสริมสุขภาพ
    • การพัฒนาสุขภาพมนุษย์
    • เทคโนโลยีการสาธารณสุข
    • การปฏิรูปงานสุขภาพ

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิทยาการระบาด
  • สาขาโภชนการสาธารณสุข
  • สาขาบริหารสาธารณสุข
  • สาขาสุขศึกษา
  • สาขาการพยาบาลสาธารณสุข
  • สาขาปรสิตวิทยา

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น