ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอารามหลวง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 4: บรรทัด 4:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
แต่เดิมนั้นยังไม่มีการจัดแบ่งพระอารามหลวงอย่างเป็นทางการ เพียงแต่มีการจัดแบ่งพระอารามหลวงออกเป็นหลายชั้นตามความรู้สึกหรืออาศัยการคาดเดาตามสถานการณ์ เช่น ดูจากการพระราชทานเทียนพรรษาขี้ผึ้งหรือไม้เล่มเดียวหรือมากกว่านั้น หรือดูจากการบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานแก่เจ้าพนักงานผู้คุมเลขค่าพระ เป็นต้น หลังจากนั้น [[กระทรวงธรรมการ]]ร่วมกับ[[กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ]]ได้จัดระเบียบพระอารามหลวงเพื่อประมาณค่าบำรุงวัดหลักจากเลิกเลขวัด แต่ไม่ได้นำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดระเบียบพระอารามหลวง ดังนั้น ในปี [[พ.ศ. 2458]] [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการจัดระเบียบพระอารามหลวงขึ้นอย่างเป็นระบบตั้งแต่นั้นมา<ref name="จัดระเบียบ">[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/A/284.PDF ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง], เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๘, หน้า ๒๘๔ </ref>
แต่เดิมนั้นยังไม่มีการจัดแบ่งพระอารามหลวงอย่างเป็นทางการ เพียงแต่มีการจัดแบ่งพระอารามหลวงออกเป็นหลายชั้นตามความรู้สึกหรืออาศัยการคาดเดาตามสถานการณ์ เช่น ดูจากการพระราชทานเทียนพรรษาขี้ผึ้งหรือไม้เล่มเดียวหรือมากกว่านั้น หรือดูจากการบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานแก่เจ้าพนักงานผู้คุมเลขค่าพระ เป็นต้น หลังจากนั้น [[กระทรวงธรรมการ]]ร่วมกับ[[กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ]]ได้จัดระเบียบพระอารามหลวงเพื่อประมาณค่าบำรุงวัดหลักจากเลิกเลขวัด แต่ไม่ได้นำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดระเบียบพระอารามหลวง ดังนั้น ในปี [[พ.ศ. 2458]] [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการจัดระเบียบพระอารามหลวงขึ้นอย่างเป็นระบบตั้งแต่นั้นมา<ref name="จัดระเบียบ">[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/A/284.PDF ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง], เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๘๔ </ref>


โดยในครั้งนั้น วัดที่จัดว่าเป็นพระอารามหลวงนั้น คือ วัดอันสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้าง ทรงปฏิสังขรณ์เป็นส่วนพระองค์หรือทรงในนามท่านผู้อื่น และอารามอันพระบรมวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่สร้างปฏิสังขรณ์ทรงรับไว้ในความบำรุงของแผ่นดิน<ref name="จัดระเบียบ"/> ภายหลังจึงหมายรวมถึงวัดราษฎร์ที่ที่ประชาชนสร้างหรือปฏิสังขรณ์ แล้วทรงพิจารณาเห็นสมควรยกย่องเป็นพิเศษก็ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง<ref name="ยกวัดราษฎร์">[http://www.sakon.th.gs/doc/a63.pdf ระเบียบกระทรวงศึกาธิการ ว่าด้วยการยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง พ.ศ. 2518]</ref>
โดยในครั้งนั้น วัดที่จัดว่าเป็นพระอารามหลวงนั้น คือ วัดอันสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้าง ทรงปฏิสังขรณ์เป็นส่วนพระองค์หรือทรงในนามท่านผู้อื่น และอารามอันพระบรมวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่สร้างปฏิสังขรณ์ทรงรับไว้ในความบำรุงของแผ่นดิน<ref name="จัดระเบียบ"/> ภายหลังจึงหมายรวมถึงวัดราษฎร์ที่ที่ประชาชนสร้างหรือปฏิสังขรณ์ แล้วทรงพิจารณาเห็นสมควรยกย่องเป็นพิเศษก็ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง<ref name="ยกวัดราษฎร์">[http://www.sakon.th.gs/doc/a63.pdf ระเบียบกระทรวงศึกาธิการ ว่าด้วยการยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง พ.ศ. 2518]</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:02, 14 มิถุนายน 2556

พระอารามหลวง คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงสร้าง หรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์ หรือมีผู้สร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นวัดหลวง และวัดที่ราษฎรสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ และขอพระราชทานให้ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง

ประวัติ

แต่เดิมนั้นยังไม่มีการจัดแบ่งพระอารามหลวงอย่างเป็นทางการ เพียงแต่มีการจัดแบ่งพระอารามหลวงออกเป็นหลายชั้นตามความรู้สึกหรืออาศัยการคาดเดาตามสถานการณ์ เช่น ดูจากการพระราชทานเทียนพรรษาขี้ผึ้งหรือไม้เล่มเดียวหรือมากกว่านั้น หรือดูจากการบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานแก่เจ้าพนักงานผู้คุมเลขค่าพระ เป็นต้น หลังจากนั้น กระทรวงธรรมการร่วมกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้จัดระเบียบพระอารามหลวงเพื่อประมาณค่าบำรุงวัดหลักจากเลิกเลขวัด แต่ไม่ได้นำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดระเบียบพระอารามหลวง ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการจัดระเบียบพระอารามหลวงขึ้นอย่างเป็นระบบตั้งแต่นั้นมา[1]

โดยในครั้งนั้น วัดที่จัดว่าเป็นพระอารามหลวงนั้น คือ วัดอันสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้าง ทรงปฏิสังขรณ์เป็นส่วนพระองค์หรือทรงในนามท่านผู้อื่น และอารามอันพระบรมวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่สร้างปฏิสังขรณ์ทรงรับไว้ในความบำรุงของแผ่นดิน[1] ภายหลังจึงหมายรวมถึงวัดราษฎร์ที่ที่ประชาชนสร้างหรือปฏิสังขรณ์ แล้วทรงพิจารณาเห็นสมควรยกย่องเป็นพิเศษก็ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง[2]

การแบ่งพระอารามหลวง

การจัดลำดับชั้นของพระอารามหลวง เริ่มมีขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2458 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบแบ่งชั้นพระอารามหลวงออกเป็นสามชั้น แต่ละชั้นยังแยกระดับออกไปอีกหลายระดับ โดยมีสร้อยต่อท้ายชื่อวัดตามฐานะดังนี้

  1. พระอารามหลวงชั้นเอก ได้แก่ วัดที่มีเจดียสถานบรรจุพระบรมอัฐิ หรือเป็นวัดที่มีเกียรติสูง มี 3 ระดับ คือ
  2. พระอารามหลวงชั้นโท ได้แก่ วัดที่มีเจดียสถานสำคัญ มี 4 ระดับ คือ
    • ชนิดราชวรมหาวิหาร
    • ชนิดราชวรวิหาร
    • ชนิดวรมหาวิหาร
    • ชนิดวรวิหาร
  3. พระอารามหลวงชั้นตรี ได้แก่ วัดประจำหัวเมือง หรือวัดที่มีความสำคัญชั้นรอง มี 3 ระดับ คือ
    • ชนิดราชวรวิหาร
    • ชนิดวรวิหาร
    • ชนิดสามัญ (ไม่มีสร้อยนามต่อท้าย)

รายชื่อพระอารามหลวงชั้นเอก

ชื่อวัด จังหวัด ภูมิภาค นิกาย สร้อยนามต่อท้าย
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ภาค 1 มหานิกาย ราชวรมหาวิหาร
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ภาค 1 มหานิกาย ราชวรมหาวิหาร
วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร ภาค 1 มหานิกาย ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร ภาค 1 มหานิกาย ราชวรมหาวิหาร
วัดพระพุทธบาท สระบุรี ภาค 2 มหานิกาย ราชวรมหาวิหาร
วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม ภาค 14 มหานิกาย ราชวรมหาวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ภาค 1 ธรรมยุต ราชวรวิหาร
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร ภาค 1 ธรรมยุต ราชวรวิหาร
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร ภาค 1 ธรรมยุต ราชวรวิหาร
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร ภาค 1 มหานิกาย ราชวรวิหาร
วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร ภาค 1 มหานิกาย ราชวรวิหาร
วัดเสนาสนาราม พระนครศรีอยุธยา ภาค 2 ธรรมยุต ราชวรวิหาร
วัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา ภาค 2 มหานิกาย ราชวรวิหาร
วัดนิเวศธรรมประวัติ พระนครศรีอยุธยา ภาค 2 ธรรมยุต ราชวรวิหาร
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุโขทัย ภาค 5 มหานิกาย ราชวรวิหาร
วัดพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี ภาค 16 มหานิกาย ราชวรวิหาร
วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร ภาค 1 ธรรมยุต วรมหาวิหาร
วัดญาณสังวราราม ชลบุรี ภาค 13 ธรรมยุต วรมหาวิหาร
วัดพระธาตุพนม นครพนม ภาค 10 มหานิกาย วรมหาวิหาร
วัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ภาค 7 มหานิกาย วรมหาวิหาร
วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน ภาค 7 มหานิกาย วรมหาวิหาร
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ภาค 5 มหานิกาย ราชวรมหาวิหาร
วัดพระมหาธาตุฯ นครศรีธรรมราช ภาค 16 ธรรมยุต วรมหาวิหาร

ดูเพิ่ม

อ้างอิง