ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตราแผ่นดินของแคนาดา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แก้ไขคำผิด
Ed veg (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox Coat of arms
{{Infobox Coat of arms
|name = ตราแผ่นดินของแคนาดา
|name = ตราแผ่นดินของแคนาดา
|image = Coat of arms of Canada.svg
|image = Coat of Arms of Canada.svg
|image_width = 300
|image_width = 300
|middle = Parl Canada.jpg
|middle =
|middle_width = 250
|middle_width = 250
|middle_caption = ตราประจำรัฐสภาแคนาดา
|middle_caption = ตราประจำรัฐสภาแคนาดา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:48, 13 มิถุนายน 2556

ตราแผ่นดินของแคนาดา
ตราอาร์มรุ่นต่าง ๆ
ตราอาร์มย่อแห่งแคนาดา
รายละเอียด
ผู้ใช้ตราพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร ในฐานะพระประมุขสูงสุดแห่งแคนาดา
เริ่มใช้พ.ศ. 2411 (ประกาศใช้ครั้งแรก)
21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 (ประกาศใช้แบบตราปัจจุบัน)
เครื่องยอดสิงห์ยืนหันหน้าสวมมงกุฎอิมพีเรียลสเตทบนหัวและยืนบนแพรประดับสีแดง-ขาว เหนือชุดเกราะนักรบส่วนศีรษะ เหนือมงกุฎแห่งแคนาดา.
แพรประดับช่อเมเปิลสีแดง-ขาวและเออร์มิน
โล่ช่องที่ 1 ช่องมุมบนซ้าย รูปสิงโตอังกฤษโบราณสีเหลือง 3 ตัวบนพื้นสีแดง แทนอังกฤษ
ช่องที่ 2 ช่องมุมบนขวา รูปสิงโตสกอตโบราณสีแดงในกรอบขอบลายสกอตสีแดงบนพื้นเหลือง แทนสกอต
ช่องที่ 3 ช่องกลางซ้าย รูปฮาร์พเกลลิคสีทองบนพื้นนำเงิน แทนไอร์แลนด์
ช่องที่ 4 ช่องกลางขวา รูปสัญลักษณ์ดอกลิลลีสีทอง 3 ดอกบนพื้นนำเงิน แทนฝรั่งเศส
ช่องที่ 5 ช่องล่างสุด รูปใบเมเปิ้ล 3 ใบใน 1 กิ่งบนพื้นสีขาว แทนแคนาดา
ประคองข้างสิงห์สีทอง ถือธงยูเนียนแจ็ก และยูนิคอร์นสีเงิน ถือธงดอกเฟลอร์เดอลีส์.
ฐานรองข้างกุหลาบทิวดอร์, แชมร็อค, และ ซิสเซิล.
คำขวัญละติน: A Mari usque ad Mare (จากทะเลสู่ทะเล)
อิสริยาภรณ์แพรริบบิ้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แคนาดา ภายในจารึกว่าละติน: Desiderantes Meliorem Patriam "they desire a better country."
การใช้รัฐบาลแห่งแคนาดา ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร

ตราแผ่นดินของแคนาดา (มีชื่อเรียกอย่าไม่เป็นทางการว่า ตราอาร์มแห่งแคนาดา[1][2][3][4][5][6][7][8] หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ตราแผ่นดินของแคนาดา ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร)[1][9][10] และ ใช้เป็นตราประจำพระประมุขสูงสุดแห่งแคนาดา ประกาศใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2411 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบตราจากตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร พร้อมกับมีการปรับแก้ไขลักษณะบางอย่างของตราให้เหมาะสม

ประวัติ

ยุคแรกใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2411-2464 เดิมตราแผ่นดินแบ่งเป็นโล่ 4 ช่อง เพื่อแสดงถึงจังหวัดทั้ง 4 คือ ออนตาริโอ ควิเบก โนวาสโกเชีย นิวบรันส์วิก แต่ละจังหวัดมีตราประจำจังหวัดคือ

  • ช่องที่ 1 ช่องมุมบนซ้าย ออนตาริโอ รูปกากบาทเซนต์จอร์จสีแดงด้านบนโล่ และใบเมเปิลสีเหลือง3ใบใน1กิ่งบนพื้นโล่สีเขียว
  • ช่องที่ 2 ช่องมุมบนขวา ควิเบก รูปกากบาทเซนต์จอร์จสีขาวบนพื้นนำเงิน แต่ละช่องมีรูปสัญลักษณ์ดอกลิลลีสีขาววางตรงกลางช่อง
  • ช่องที่ 3 ช่องมุมล่างซ้าย โนวาสโกเชีย รูปกากบาทเซนต์แอนดรูว์สีน้าเงินบนพื้นขาว ตรงกลางกากบาทมีโล่รูปสิงโตสกอตโบราณสีแดงในกรอบขอบลายสกอตสีแดงบนพื้นเหลือง แทนสกอต
  • ช่องที่ 4 ช่องมุมล่างขวา นิวบรันส์วิก รูปสิงโตอังกฤษโบราณสีเหลืองตัวเดียวบนพื้นสีแดงด้านบนโล่ และมีรูปเรือใบโบราณที่แล่นในทะเลบนพื้นท้องฟ้าสีเหลือง

ในช่วง พ.ศ. 2464-2508 ได้เปลี่ยนตราใหม่เป็นตราอาร์มแบ่งเป็น 5 ช่อง ซึ่งแต่ละช่องมีความหมายดังนี้คือ

  • ช่องที่ 1 ช่องมุมบนซ้าย รูปสิงโตอังกฤษโบราณสีเหลือง 3 ตัวบนพื้นสีแดง แทนอังกฤษ
  • ช่องที่ 2 ช่องมุมบนขวา รูปสิงโตสกอตโบราณสีแดงในกรอบขอบลายสกอตสีแดงบนพื้นเหลือง แทนสกอต
  • ช่องที่ 3 ช่องกลางซ้าย รูปฮาร์พเกลลิคสีทองบนพื้นนำเงิน แทนไอร์แลนด์
  • ช่องที่ 4 ช่องกลางขวา รูปสัญลักษณ์ดอกลิลลีสีทอง 3 ดอกบนพื้นนำเงิน แทนฝรั่งเศส
  • ช่องที่ 5 ช่องล่างสุด รูปใบเมเปิ้ล 3 ใบใน 1 กิ่งบนพื้นสีขาว แทนแคนาดา แต่รูปแบบใบเมเปิลที่ใช้มีการเปลี่ยนแปลง 2 ครั้ง คือ ใน พ.ศ. 2465-2500 ใช้รูปใบเมเปิ้ลเป็นใบสีเขียว ต่อมาเปลี่ยนเป็นใบเมเปิ้ลเป็นใบสีแดงในช่วง พ.ศ. 2500-2508

ตราแผ่นดินของแคนาดาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เริ่มใช้มาตั้ง พ.ศ. 2537

ตราแผ่นดินแคนาดา พ.ศ. 2448 ตราแผ่นดินแคนาดา พ.ศ. 2464-2500 ตราแผ่นดินแคนาดา พ.ศ. 2500-2508 ตราแผ่นดินแคนาดา พ.ศ. 2537

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Department of Canadian Heritage (2008). "Canada: Symbols of Canada" (PDF). Ottawa: Queen's Printer for Canada: 6. สืบค้นเมื่อ 9 September 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. http://www2.parl.gc.ca/HousePublications/Publication.aspx?Language=E&Mode=1&Parl=35&Ses=1&DocId=2332530#ROYALARMSOFCANADA. Parliamentary Debates (Hansard). Commons. 5 December 1995. col. 1410–1415. {{cite book}}: |chapter-url= missing title (help)
  3. Military Police Complaints Commission. "The Commission > Publications > Outlook With Vision: Annual Report 2001". Queen's Printer for Canada. สืบค้นเมื่อ 28 June 2009.
  4. Bank of Canada. "Currency Museum > Learning Centre". Queen's Printer for Canada. สืบค้นเมื่อ 28 June 2009.
  5. Reynolds, Ken. "Pro Valore: Canada's Victoria Cross" (PDF) (2 ed.). Ottawa: Queen's Printer for Canada: 40. สืบค้นเมื่อ 31 July 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. Department of National Defence. "Features > 2008 > Modern Canadian Victoria Cross unveiled at Rideau Hall". Queen's Printer for Canada. สืบค้นเมื่อ 4 August 2009.
  7. Bousfield, Arthur (2002). Fifty Years the Queen. Toronto: Dundurn Press. p. 35. ISBN 1-55002-360-8. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  8. Citizenship and Immigration Canada (2009). Discover Canada (PDF). Ottawa: Queen's Printer for Canada. pp. 38, 61. ISBN 978-1-100-12739-2. สืบค้นเมื่อ 3 December 2009.
  9. "The Coat of Arms of Canada – A Short History". Royal Heraldry Society of Canada. สืบค้นเมื่อ 28 June 2009.
  10. Treasury Board of Canada Secretariat. "Federal Identity Program > Top 10 Policy Guidance Issues". Queen's Printer for Canada. สืบค้นเมื่อ 4 February 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น


แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA