ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Yeenshana (คุย | ส่วนร่วม)
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงโปรด'→'โปรด'
บรรทัด 150: บรรทัด 150:


== การจัดตั้ง "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล" ==
== การจัดตั้ง "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล" ==
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2531 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อนักเรียนอาชีวศึกษาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ผู้ทรงคุณอันประเสริฐเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีหมายความว่า สถาบันเทคโนโลยีอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ถือเอาวันที่ 15 กันยายนของทุกปีเป็นวันราชมงคล สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จึงมีภารกิจหลักคือ จัดการศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี (ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต) ทั้งนี้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้ทำการเรียนการสอนควบคู่กับทำการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เรื่อยมา อีกทั้งยังทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2531 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อนักเรียนอาชีวศึกษาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ผู้ทรงคุณอันประเสริฐเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีหมายความว่า สถาบันเทคโนโลยีอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ถือเอาวันที่ 15 กันยายนของทุกปีเป็นวันราชมงคล สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จึงมีภารกิจหลักคือ จัดการศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี (ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต) ทั้งนี้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้ทำการเรียนการสอนควบคู่กับทำการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เรื่อยมา อีกทั้งยังทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย


== การยกฐานะ 9 มหาวิทยาลัย ==
== การยกฐานะ 9 มหาวิทยาลัย ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:06, 12 พฤษภาคม 2556

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ชื่อย่อRMUTK
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ
สถาปนา18 มกราคม พ.ศ. 2548
อธิการบดีดร.สาธิต พุทธชัยยงค์
นายกสภามหาวิทยาลัยศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์
ที่ตั้ง
เลขที่ 2 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
เว็บไซต์www.rmutk.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เน้นการจัดการศึกษาเพื่อให้บัณฑิต มีคุณลักษณะที่มีทักษะด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรม การท่องเที่ยว โรงแรม ภาษา คหกรรม เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย บริหารธุรกิจและทักษะด้านธุรกิจรวมทั้งการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติ นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้จริงมีความคิดสร้างสรรค์ ที่ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชีพ

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับด้านการจัดการเรียนการสอนดีเด่น จาก

  • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อ พ.ศ. 2549 ในอันดับที่ 5 จาก 50 อันดับมหาวิทยาลัยไทย
  • กระทรวงศึกษาธิการ ของประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. 2548[1]ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไว้ในอันดับที่ 19 ของมหาวิทยาลัยไทยดีเด่นด้าน วิศวกรรมศาสตร์-วิทยาศาสตร์

จึงนับเป็นข้อดีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่เป็นแหล่งรวมความรู้ด้านวิชาชีพจากสถานศึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนจะพัฒนาก้าวหน้าไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ประวัติ

ประวัติ (เดิม)

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลไทยโดย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ทำความตกลงกับ องค์การส่งเสริมความมั่นคงร่วมกันของสหรัฐอเมริกา (Mutual Security Agency; M.S.A.)
ส่งเสริมการอาชีวศึกษาของชาติให้ดียิ่งขึ้น จึงเห็นว่าควรจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดพระนครสักแห่งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เยาวชนของชาติได้มีโอกาสฝึกฝนอบรมวิชาชีพอย่างกว้างขวางและ ยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้สูงกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
ปีพุทธศักราช 2495 รัฐสภาได้อนุมัติเงิน 3,961,450.- บาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2495 จัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดพระนคร กระทรวงการคลังได้อนุมัติให้ใช้ที่ดินราชพัสดุ ตำบลทุ่งมหาเมฆ เนื้อที่ 108 ไร่ เพื่อใช้ใน
การจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิค ที่ดินดังกล่าวมีคลองใหญ่ยาว ขนาดคลองใหญ่พอที่เรือสำปั้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาจะเข้ามาได้ ปลายคลองด้านหนึ่งออกแม่น้ำเจ้าพระยาตรงช่องนนทรีในปัจจุบัน ปลายคลองอีกด้านต่อเชื่อมกับคลองสาทร
พื้นที่สองฝั่งคลองนี้เป็นเรือสวนฝั่งหนึ่ง อีกฝั่งหนึ่งเป็นทุ่งนา ฝั่งทุ่งนามีผืนนากว้างไกลยืนริมคลอง มองมุม 180 องศา จะเห็นผืนฟ้าจรดผืนนา ท้องฟ้าสีสีครามเต็มไปด้วยหมู่เมฆ บางวันมีเมฆขนนกเกลื่อนเต็มท้องฟ้า
บางวันเป็นเมฆก้อนใหญ่ ลอยไล่มาเป็นระยะ บางครั้งเมฆทมึนแปรปรวนเคลื่อนเข้าหาอย่างรวดเร็ว ความหลากหลายนี้เหมาะกับนาม ทุ่งมหาเมฆ
ฝั่งที่เป็นสวนนั้น เต็มไปด้วยสวนกล้วย สวนมะยม ชาวบ้านปลูกกระต๊อบกระจายห่างๆ เลี้ยงไก่ ปั่นด้าย มีบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ดมีการปลูกต้นพลูจำนวนมากจนเป็นชื่อของ ซอยสวนพลู
เปิดสอนปีแรกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2495 ระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน โรงฝึกงาน ได้ฝากนักศึกษาเรียนที่สถาบันอื่นดังนี้

  • แผนกวิทยุ มีนักศึกษา 27 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนช่างกลปทุมวัน
  • แผนกฝึกหัดครูมัธยมอาชีวศึกษา มีนักศึกษา 13 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
  • แผนกช่างก่อสร้าง มีนักศึกษา 30 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
  • แผนกพาณิชยการ มีนักศึกษา 21 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนพณิชยการพระนคร
    รัฐบาลฯ ได้เล็งเห็นคุณค่าของการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคที่กรุงเทพฯ จึงได้ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคในส่วนภูมิภาคที่ ภาคใต้ (สงขลา) วิทยาลัยเทคนิคที่กรุงเทพฯ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ
    จากนั้นมีการจัดตั้ง วิทยาลัยเทคนิคที่ธนบุรี (ปัจจุบันเป็น มจธ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, พายัพ (เชียงใหม่), โคราช (นครราชสีมา) และได้จัดตั้งกองวิทยาลัยเทคนิค เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

ปีพุทธศักราช 2496

  • ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นประธานในพิธีเปิดวิทยาลัยเทคนิค วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2496
  • ดร. ไอแมน ผู้เชี่ยวชาญ และ มร.ฮัตจินสัน หัวหน้าฝ่ายการศึกษาของ M.S.A. ที่มาช่วยงานเดินทางกลับ สหรัฐอเมริกา

ปีพุทธศักราช 2497

  • วิทยาลัยได้นำผลงานของนักศึกษาร่วมแสดงในงานศิลปหัตกรรมนักเรียน ณ. โรงเรียนสวนกุหลาบ
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ทอดพระเนตรงานของนักศึกษาด้วยความสนพระทัยทรงกระแสพระราชดำรัสที่จะให้วิทยาลัยเทคนิค ทดลองทำหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวได้ เดินได้ พูดได้ ซึ่งพระองค์จะพระราชทานพระราชทรัพย์ในการจัดทำ

ปีพุทธศักราช 2498

  • วิทยาลัยเทคนิค ได้นำหุ่นยนต์ที่ผลิตออกแสดงในงานศิลปหัตกรรมนักเรียน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตร หุ่นยนต์และรถแทรคเตอร์ที่นักศึกษาสร้างขึ้นด้วยความสนพระทัย
  • ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานทรัพย์จัดสร้าง หุ่นยนต์ขนาดเท่าคนจริงเดินได้ตัวแรกของเมืองไทย เป็นผลงานของนักศึกษาแผนช่างวิทยุ โดยการออกแบบและควบคุมงานของ อาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ ลักษณะของหุ่นมีหน้าและมือ เหมือนหุ่นโชว์ แขนและขา เป็นโครงเหล็ก หลังจากออกแสดงในงานศิลปหัตกรรมนักเรียนแล้ว ได้จัดทำเสื้อสวมเป็นหุ่นคุณหมอ อัดเสียงพูดเชิญชวนให้บริจาคสมทบทุนสภากาชาดไทย ในงานกาชาด ณ. สถานเสาวภา พ.ศ. 2498
    สมเด็จพระราชชนี เสด็จทอดพระเนตรงานปฏิบัติของนักศึกษาแแผนกวิชาช่างพิมพ์ และแผนกวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ ในงานศิลปหัตกรรมนักเรียน

ปีพุทธศักราช 2499

  • มหาวิทยาลัย เวนสเตท (Wayne State University) สหรัฐอเมริกา ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคมาช่วยการเรียน การสอน 27 คน และให้ทุนครู อาจารย์ของวิทยาลัยไปศึกษาต่อ

ปีพุทธศักราช 2503

  • สมเด็จพระราชชนี เสด็จฯ ประทับให้นักศึกษาแผนกวิชาช่างภาพ ฉายพระฉายาลักษณ์ในงานเมตตาบันเทิง วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503

ปีพุทธศักราช 2514

  • สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ งานชุมนุมแม่บ้านครั้งที่ 14 ของสมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ณ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2514

ปีพุทธศักราช 2518

  • วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ปีพุทธศักราช 2531

  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ

ปีพุทธศักราช 2548

  • ยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

== รายนามผู้ที่เคยเป็นผู้อำนวยการ == ของเทคนิคเท่านั้น

  1. หลวงปราโมทย์จรรยาวิภาช ผู้อำนวยการคนแรกของวิทยาลัยเทคนิค (พ.ศ. 2495 - 2496)
  2. อาจารย์ สนั่น สุมิตร ผู้อำนวยการคนที่ 2 (พ.ศ. 2496 - 2499)
  3. อาจารย์ สุต เหราบัตย์ ผู้อำนวนการคนที่ 3 (พ.ศ. 2499 - 2511)
  4. อาจารย์ พงศ์พัน วรสุนทรโรสถ ผู้อำนวยการคนที่ 4 (พ.ศ. 2511 - 2516)
  5. อาจารย์ ปราโมทย์ กิตติพงศ์ ผู้อำนวยการคนที่ 5 (พ.ศ. 2516 - 2517)
  6. อาจารย์ เอกชัย สุนทรพงศ์ ผู้อำนวยการคนที่ 6 (พ.ศ. 2517 - 2521)
  7. อาจารย์ นคร ศรีวิจารณ์ ผู้อำนวยการคนที่ 7 (พ.ศ. 2521 - 2530)
  8. อาจารย์ ชัยสวัสดิ์ เทียนวิบูลย์ ผู้อำนวยการคนที่ 8 (พ.ศ. 2530 - 2531)
  9. อาจารย์ สุพรรณ ถึงสุข ผู้อำนวยการคนที่ 9 (พ.ศ. 2531)
  10. อาจารย์ สกุล เชชกร ผู้อำนวยการคนที่ 10 (พ.ศ. 2531 - 2538)
  11. อาจารย์ ชาญวุฒิ แก่นจันดา ผู้อำนวยการคนที่ 11 (พ.ศ. 2538 - 2542)
  12. อาจารย์ ประพันธ์ วิชาศิลป์ ผู้อำนวยการคนที่ 12 (พ.ศ. 2542 - 2543)
  13. อาจารย์ ฉัตรชัย เธียรหิรัญ ผู้อำนวยการคนที่ 13 (พ.ศ. 2543 - 2544)
  14. อาจารย์ ประทวน กลิ่นจำปา ผู้อำนวยการคนที่ 14 (พ.ศ. 2544 - 254x)
แผนกวิชาที่เปิดสอนในอดีต มีมากกว่า 30 แผนก
  • แผนกวิชาช่างโยธา
  • แผนกช่างก่อสร้าง
  • แผนกช่างสำรวจ
  • แผนกประเมินราคาทรัพย์สิน
  • แผนกช่างพิมพ์
  • แผนกช่างภาพ (ฝ่ายวิชาช่างถ่ายรูป พ.ศ. 2496)
  • แผนกช่างยนต์
  • แผนกช่างกลโรงงาน
  • แผนกช่างไฟฟ้า
  • แผนกช่างวิทยุ
  • แผนกคหกรรม
  • แผนกบริหารธุรกิจ
  • แผนกเคมีสิ่งทอ
  • แผนกท่องเที่ยว
  • แผนกการโรงแรม
  • แผนกเทคนิคอุตสาหกรรม
  • แผนกช่างเคหภัณฑ์
  • แผนกโลหะวิทยา
  • แผนกเทคโนโลยีสิ่งทอ
  • แผนกช่างโลหะ
  • แผนกผ้าและเครื่องแต่งกาย
  • แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์
  • แผนกเทคนิคเคมี (สาขาวิชาเคมีในปัจุบัน)

หมายเหตุ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ เป็นวิทยาลัยเทคนิคเปิดสอนการเรียนการสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เป็นแห่งแรกในประเทศไทย สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและ การจัดการศึกษาภายในกรมอาชีวศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการหลายครั้ง
จนในปี พ.ศ. 2548 ได้รวมกับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ (ก่อตั้งปี พ.ศ. 2521) และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้ (ก่อตั้งปี พ.ศ. 2465) จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
พ.ศ. 2548 รวมกับ วิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ และวิทยาเขตพระนครใต้ จัดตั้งและเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ปัจจุบันไม่มีสถานะเป็นวิทยาเขตแล้ว)
อ้างอิง 1. หนังสือ ภาพเก่า เล่าอดีต [ISBN : 974-416-433-6] พ.ศ. 2545, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2548 ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยหลอมรวมวิทยาเขตในสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล 3 แห่ง ที่มีชื่อเสียงและมีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาหลายหลายวิชาชีพมานาน อันได้แก่

    • สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ
    • สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้
    • สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ

หมายเหตุ


ปัจจุบัน โครงสร้างการบริหารงานของมหาวิทยาลัย ไม่มีวิทยาเขตโดยจะบริหารงานในรูปแบบคณะแทน คือ คณะศิลปศาสตร์,คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ,คณะวิศวกรรมศาสตร์,คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์,คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม,คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,คณะบริหารธุรกิจและวิทยาลัยนานาชาติ จึงนับได้ว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งเดียวที่ไม่มีวิทยาเขตอย่างสมบูรณ์

การจัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษา

ต่อมาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2518 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี ให้การศึกษาทางด้านอาชีพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัยส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิชาชีพ เทคโนโลยีและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ในช่วงแรกที่เปิดทำการเรียนการสอนวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา มีปัญหาอุปสรรคนานัปการ อาทิ ขาดอาคารสถานที่ อุปกรณ์การเรียนการสอน บุคลากร ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศให้โอนบุคลากร ทรัพย์สิน สถาบันการอาชีวศึกษาที่สังกัด กรมอาชีวศึกษา 30 แห่ง ย้ายมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา โดยเปลี่ยนจากวิทยาลัยมาเป็น "วิทยาเขต" ดังต่อไปนี้

  1. วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ
  2. วิทยาลัยพณิชยการพระนคร
  3. วิทยาลัยช่างกลพระนครเหนือ
  4. วิทยาลัยครูอาชีวศึกษา
  5. วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครใต้
  6. วิทยาลัยชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
  7. วิทยาลัยโชติเวช
  8. วิทยาลัยบพิตรพิมุข
  9. วิทยาลัยจักรพงษภูวนารถ
  10. วิทยาลัยอุเทนถวาย (โรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างอุเทนถวาย)
  11. โรงเรียนเพาะช่าง
  12. วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่
  13. วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ จังหวัดสงขลา
  14. วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา
  15. วิทยาลัยเกษตรกรรมพระนครศรีอยุธยา
  16. วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น
  17. วิทยาลัยพาณิชยการพระนครศรีอยุธยา
  18. วิทยาลัยเทคนิคตาก
  19. วิทยาลัยเกษตรกรรมบางพระ จังหวัดชลบุรี
  20. วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช
  21. วิทยาลัยเกษตรกรรมจันทบุรี
  22. โรงเรียนเกษตรกรรมลำปาง
  23. วิทยาลัยเกษตรกรรมพิษณุโลก
  24. วิทยาลัยเกษตรกรรมสุรินทร์
  25. วิทยาลัยเกษตรกรรมกาฬสินธุ์
  26. โรงเรียนเกษตรกรรมสกลนคร
  27. วิทยาลัยเกษตรกรรมปทุมธานี
  28. โรงเรียนเกษตรและการประมง จังหวัดตรัง
  29. วิทยาลัยช่างกลนนทบุรี
  30. วิทยาลัยเกษตรกรรมน่าน

การจัดตั้ง "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล"

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2531 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อนักเรียนอาชีวศึกษาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ผู้ทรงคุณอันประเสริฐเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีหมายความว่า สถาบันเทคโนโลยีอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ถือเอาวันที่ 15 กันยายนของทุกปีเป็นวันราชมงคล สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จึงมีภารกิจหลักคือ จัดการศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี (ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต) ทั้งนี้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้ทำการเรียนการสอนควบคู่กับทำการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เรื่อยมา อีกทั้งยังทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย

การยกฐานะ 9 มหาวิทยาลัย

สืบเนื่องจากแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินการโดยบริหารจัดการได้โดยอิสระ และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสภาการศึกษาแห่งชาติ ดังนั้นเพื่อให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการและยกระดับสถานะสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งสามารถจัดการศึกษาได้ถึงระดับสูง ปริญญาโท เอก จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่งขึ้น โดยมีการรวมวิทยาเขตที่อยู่ใกล้เคียงกันจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง
จากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ซึ่งได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 มีผลให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเดิม ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2518 ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้งเก้าแห่งดังต่อไปนี้

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

สีประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คือ สีเขียว ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นสาธร และเพลงประจำมหาวิทยาลัย คือ เพลงขวัญใจมหาเมฆ

รายนามอธิการบดี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ผศ.เฉลิม มัติโก[2] 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552
2. ดร.สาธิต พุทธชัยยงค์[3] 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน

หน่วยงานมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จัดการเรียนการสอน 7 คณะ และ 1 วิทยาลัย คือ

  1. คณะวิศวกรรมศาสตร์
  2. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
  4. คณะบริหารธุรกิจ
  5. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  6. คณะศิลปศาสตร์
  7. คณะอุตสหกรรมสิ่งทอ
  8. วิทยาลัยนานาชาติ

โรงเรียนเครือข่าย

  1. โรงเรียนเจ้าพระยาวิทยาคม
  2. โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง
  3. โรงเรียนนนทรีวิทยา
  4. โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
  5. โรงเรียนสายปัญญารังสิต
  6. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี
  7. โรงเรียนวัดสุทธิวราราม
  8. โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย
  9. โรงเรียนมัธยมเบญจมบพิตร

บุคคลจากมหาวิทยาลัย ที่มีชื่อเสียง

  1. ชูชัย บัวบูชา นายกสมาคมผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอลอาชีพแห่งประเทศไทย (ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษา)
  2. ดุษฎี สินเจิมสิริ อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
  3. พยนต์ ยุทธไตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหาร โทรทัศน์ ช่อง3
  4. ไพโรจน์ สังวริบุตร นักแสดงชั้นนำ
  5. หม่อมหลวงชัยวัฒน์ ชยางกรู ผอ.และ CEO บ.เอกชน หลายแห่ง
  6. พิมพ์อักษร วินโกมินทร์ (เมจิ) นักแสดงช่องสาม
  7. สรินยา ทองงอก (แยม) มิสมอเตอร์โชว์ 2006
  8. นราธิป กาญจนวัฒน์ ศิลปินนักร้องวงชาตรี
  9. สมบัติ เมทะนี นักแสดงอาวุโส
  10. พิษณุ นิ่มสกุล (บอย พิษณุ) นักแสดงที่มีชื่อเสียงจากรายการเรียลลิตี้โชว์ ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย ปี 2
  11. พีรฉัตร จิตรมาส (เจี๊ยบ-ซับเทนชั่น) นักร้องนำวงซับเทนชั่น สังกัดอาร์.เอส เจ้าของเพลงดัง "ขอเป็นคนสุดท้าย"
  12. ภัคจีรา วรรณสุทธิ์ นักแสดง
  13. อู ภาณุ สุวรรณโณ นักแสดง
  14. ศันสนีย์ สีดาว อดีตนักแสดง
  15. นันทวัน วรรณจุฑา รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 The 20th World Super Model Contest 2010

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น