ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฎหมายล้มละลาย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมในส่วนของกฎหมายไทย
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
=== คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและการขอรับชำระหนี้ ===
=== คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและการขอรับชำระหนี้ ===
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะโฆษณาคำสั่งดังกล่าวในหนังสือพิมพ์และราชกิจจานุเบกษา ส่วนลูกหนี้จะถูกจำกัดสิทธิในการจัดการทรัพย์สินหรือกิจการของตน โดยจะมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาทำหน้าที่จัดการทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้แทน แต่ลูกหนี้ยังสามารถดำเนินการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนได้อยู่
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะโฆษณาคำสั่งดังกล่าวในหนังสือพิมพ์และราชกิจจานุเบกษา ส่วนลูกหนี้จะถูกจำกัดสิทธิในการจัดการทรัพย์สินหรือกิจการของตน โดยจะมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาทำหน้าที่จัดการทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้แทน แต่ลูกหนี้ยังสามารถดำเนินการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนได้อยู่
เมื่อโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในสองเดือน แต่หากเป็นเจ้าหนี้ที่อยู่ต่างประเทศก็สามารถขอขยายเวลานั้นเพิ่มได้อีกสองเดือน (รวมเป็นสี่เดือน) หากเจ้าหนี้คนใดไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็หมดสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้อีก แต่ไม่หมดสิทธิเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันของลูกหนี้
เมื่อโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องรวบรวมทรัพย์สินที่ของลูกหนี้เพื่อแบ่งให้เจ้าหนี้ โดยเจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในสองเดือน แต่หากเป็นเจ้าหนี้ที่อยู่ต่างประเทศก็สามารถขอขยายเวลานั้นเพิ่มได้อีกสองเดือน (รวมเป็นสี่เดือน) หากเจ้าหนี้คนใดไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็หมดสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้อีก แต่ไม่หมดสิทธิเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันของลูกหนี้
ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีสิทธิขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย โดยขอชำระหนี้บางส่วน หรือขอชำระหนี้เป็นอย่างอื่น ถ้าการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายสำเร็จก็ไม่ต้องเป็นบุคคลล้มละลาย แต่หากประนอมหนี้ไม่สำเร็จ หรือไม่มีการขอประนอมหนี้ ลูกหนี้ก็จะถูกพิพากษาให้ล้มละลายต่อไป
ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีสิทธิขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย โดยขอชำระหนี้บางส่วน หรือขอชำระหนี้เป็นอย่างอื่น ถ้าการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายสำเร็จก็ไม่ต้องเป็นบุคคลล้มละลาย แต่หากประนอมหนี้ไม่สำเร็จ หรือไม่มีการขอประนอมหนี้ ลูกหนี้ก็จะถูกพิพากษาให้ล้มละลายต่อไป



รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:39, 8 เมษายน 2556

กฎหมายล้มละลาย เป็นกฎหมายทั้งสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติแขนงหนึ่ง ซี่งบัญญัติถึงกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ตั้งแต่เงื่อนไขการขอให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย วิธีการขอให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย การขอให้พิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ซึ่งมีทั้งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวและพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การประนอมหนี้ รวมทั้งการขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีล้มละลายได้แก่ศาลล้มละลายกลาง

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายล้มละลายที่ใช้อยู่คือพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งได้มีการแก้ไขปรับปรุงตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในการบัญญัติกฎหมายดังกล่าวนั้น ไทยได้นำการวางหลักกฎหมายส่วนใหญ่มาจากกฎหมายล้มละลายของประเทศสหรัฐอเมริกา

การบังคับใช้กฎหมายล้มละลาย จะต่างจากการบังคับใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เนื่องจากกฎหมายล้มละลายเป็นเพียงการบังคับใช้เพื่อให้เจ้าหนี้ได้มีหลักประกันว่าจะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้อย่างแน่นอนและเท่าเทียมกัน (pari passu) และมีลักษณะที่เปิดช่องให้มีการเจรจา ประนีประนอมกันมากกว่ากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งมุ่งระงับข้อพิพาททางแพ่งที่มีการโต้แย้งสิทธิกันเพื่อให้เจ้าหนี้ชนะคดีและบังคับเอาจากลูกหนี้เพียงอย่างเดียว


ไทย

การเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย

พระราชบัญญัติล้มละลายไม่ได้จำกัดไว้ว่าผู้ที่ล้มละลายจะต้องเป็นบุคคลประเภทใด ดังนั้น ไม่ว่าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลประเภทใดก็สามารถล้มละลายได้ ต่างจากการฟื้นฟูกิจการที่จะต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบรัษัทมหาชนจำกัดเท่านั้น แต่กฎหมายล้มละลายของไทยไม่อนุญาตให้ลูกหนี้ร้องขอให้ตัวเองล้มละลายได้ แต่ลูกหนี้สามารถร้องขอให้ตัวเองฟื้นฟูกิจการได้

การฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายโดยเจ้าหนี้

เจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย ได้แก่ เจ้าหนี้มีประกัน และเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ซึ่งทั้งสองมีหลักเกณฑ์ในการฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายและการขอรับชำระหนี้แตกต่างกัน นิยามของคำว่า "เจ้าหนี้มีประกัน” มีบัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายล้มละลาย ว่าหมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ

การที่เจ้าหนี้จะฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายในศาลไทย ลูกหนี้จะต้องมีภูมิลำเนาหรือประกอบธุรกิจในประเทศไทยหรือเคยมีภูมิลำเนาหรือประกอบธุรกิจในประเทศไทยย้อนหลังไป 1 ปี จะต้องพิจารณาก่อนว่าเจ้าหนี้ที่มาฟ้องเป็นเจ้าหนี้ธรรมดาหรือเจ้าหนี้มีประกัน โดยหลักเกณฑ์การฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายของเจ้าหนี้ไม่มีประกันนั้น เจ้าหนี้จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า

1. ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว กล่าวคือ มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน

2. เป็นหนี้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทในกรณีที่ลูกหนี้เป็นบุคคลธรรมดา หรือสองล้านบาทหากเป็นนิติบุคคล และ

3. หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน

ทั้งนี้ แม้ว่าหนี้ดังกล่าวจะยังไม่ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ก็สามารถนำมาฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายได้

ส่วนเจ้าหนี้มีประกัน นอกจากจะต้องพิสูจน์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกว่า เจ้าหนี้นั้นไม่ได้เป็นผู้ต้องห้ามไม่ให้บังคับการชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน (กล่าวคือ หากเป็นเจ้าหนี้จำนอง จะต้องมีข้อสัญญาให้บังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ได้) และต้องบรรยายฟ้องว่า "ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย" หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท

การพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลาย

เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ล้มละลายแล้ว ศาลจะมีหมายเรียกให้ลูกหนี้ยื่นคำให้การ แต่ลูกหนี้จะยื่นหรือไม่ยื่นคำให้การก็ได้ ในการพิจารณา ศาลจะต้องพิจารณาให้ครบหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ลูกหนี้จะล้มละลายแล้วจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (ลูกหนี้แพ้คดี) แต่หากศาลพิจารณาแล้วไม่ได้ความจริงตามเงื่อนไขที่จะต้องล้มละลาย หรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าสามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่สมควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลจะยกฟ้อง (ลูกหนี้ชนะคดี)

คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและการขอรับชำระหนี้

เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะโฆษณาคำสั่งดังกล่าวในหนังสือพิมพ์และราชกิจจานุเบกษา ส่วนลูกหนี้จะถูกจำกัดสิทธิในการจัดการทรัพย์สินหรือกิจการของตน โดยจะมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาทำหน้าที่จัดการทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้แทน แต่ลูกหนี้ยังสามารถดำเนินการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนได้อยู่ เมื่อโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องรวบรวมทรัพย์สินที่ของลูกหนี้เพื่อแบ่งให้เจ้าหนี้ โดยเจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในสองเดือน แต่หากเป็นเจ้าหนี้ที่อยู่ต่างประเทศก็สามารถขอขยายเวลานั้นเพิ่มได้อีกสองเดือน (รวมเป็นสี่เดือน) หากเจ้าหนี้คนใดไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็หมดสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้อีก แต่ไม่หมดสิทธิเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีสิทธิขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย โดยขอชำระหนี้บางส่วน หรือขอชำระหนี้เป็นอย่างอื่น ถ้าการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายสำเร็จก็ไม่ต้องเป็นบุคคลล้มละลาย แต่หากประนอมหนี้ไม่สำเร็จ หรือไม่มีการขอประนอมหนี้ ลูกหนี้ก็จะถูกพิพากษาให้ล้มละลายต่อไป