ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การหมักดอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 5 interwiki links, now provided by Wikidata on d:q6950796 (translate me)
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
autoMigrateToWikidata @ d:q6950796
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
{{โครงอาหาร}}
{{โครงอาหาร}}


[[en:Fermentation (food)]]
[[es:Alimentos fermentados]]
[[sl:Fermentacija]]
[[sl:Fermentacija]]
[[sv:Fermentering]]
[[sv:Fermentering]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:31, 1 เมษายน 2556

การหมักดอง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารพวกคาร์โบไฮเดรทในอาหารให้กลายเป็นสารประกอบอื่น เช่น แอลกอฮอล์ คาร์บอนไดออกไซด์ กรดน้ำส้ม กรดแล็กติก โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวการทำให้เกิดปฏิกิริยา

ประเภทของการหมักดอง

การหมักดองแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

  1. การหมักที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ เช่น การหมักไวน์ เป็นต้น
  2. การหมักที่ทำให้เกิดกรดอะซีติค เช่น การหมักน้ำส้มสายชู เป็นต้น
  3. การหมักอื่น ๆ การทำเต้าเจี้ยว ซีอิ้ว น้ำปลา ปลาร้า ปลาเค็ม บูดู และนมเปรี้ยว เป็นต้น
  4. การหมักดองผักและผลไม้

ประโยชน์ของการหมักดอง

  • ทำให้อาหารมีรสและกลิ่นดีขึ้น
  • ทำให้อาหารมีสี มีกลิ่นและรสต่างออกไป เช่น ผักและผลไม้ดอง เป็นต้น
  • ทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่หลายอย่าง เช่น แอลกอฮอล์ และน้ำส้มสายชู ซึ่งเกิดจากการหมักอาหารแป้งและน้ำตาล
  • เปลี่ยนอาหารเป็นพิษ หรือบริโภคไม่ได้ให้บริโภคได้ เช่น ลูกตำลึงดิบมีรสขมกินไม่ได้ แต่ถ้าดองแล้วจะหายขม ลูกท้อกินไม่ได้ แต่ถ้าดองแล้วจะกินได้ เป็นต้น
  • เสริมคุณค่าทางโภชนาการ เช่น การหมักน้ำผลไม้ให้เป็นไวน์ จะได้ประโยชน์ทางโภชนาการสูงกว่าน้ำผลไม้สด เต้าเจี้ยวและเต้าหู้ยี้จะมีประโยชน์สูงกว่าถั่วสุกธรรมดาในปริมาณเท่ากันเพราะมีราซึ่งประกอบด้วยโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุผสมอยู่ด้วย

ดูเพิ่ม