ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช่องแคบมาเจลลัน"

พิกัด: 53°28′51″S 70°47′00″W / 53.48083°S 70.78333°W / -53.48083; -70.78333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 1 interwiki links, now provided by Wikidata on d:q48365 (translate me)
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
[[หมวดหมู่:ช่องแคบในทวีปอเมริกาใต้]]
[[หมวดหมู่:ช่องแคบในทวีปอเมริกาใต้]]
{{โครงภูมิศาสตร์}}
{{โครงภูมิศาสตร์}}

[[eu:Magallaes itsasartea]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:29, 31 มีนาคม 2556

ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณช่องแคบมาเจลลัน

ช่องแคบมาเจลลัน (อังกฤษ: Strait of Magellan, Magellanic Strait; สเปน: Estrecho de Magallanes) เป็นทางเดินเรือที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนใต้ของแผ่นดินใหญ่ทวีปอเมริกาใต้กับกลุ่มเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก ตั้งชื่อตามชื่อของเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ช่องแคบนี้เป็นทางเชื่อมสำคัญระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีความยาวประมาณ 570 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดอยู่บริเวณเกาะการ์โลสที่ 3 ทางด้านตะวันตกของช่องแคบ ซึ่งกว้างเพียง 2 กิโลเมตร[1]

เนื่องจากมาเจลลันเดินเรือมาถึงที่นี่ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints' Day) พอดี ในตอนแรกเขาจึงตั้งชื่อว่า "ช่องแคบแห่งเหล่านักบุญ" (Strait of All Saints) แต่ต่อมาพระมหากษัตริย์แห่งสเปนที่มาเจลลันถวายงานทรงเปลี่ยนชื่อมาเป็น "ช่องแคบมาเจลลัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ปัจจุบันตลอดช่องแคบมาเจลลันถือเป็นน่านน้ำของชิลี แต่ปากทางด้านแอตแลนติกบางจุดเป็นอาณาเขตของอาร์เจนตินา อย่างไรก็ตาม เรือชาติต่าง ๆ ยังสามารถเดินทางผ่านช่องแคบนี้ได้อย่างเสรี[2][3]

ก่อนที่จะมีการเปิดใช้คลองปานามาซึ่งสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1914 ช่องแคบนี้เป็นเส้นทางข้ามมหาสมุทรที่สำคัญและปลอดภัยสำหรับเรือกลจักรไอน้ำ แต่ถ้าเป็นเรือใบ เช่น เรือแบบคลิปเปอร์ จะนิยมใช้ช่องแคบเดรกซึ่งอยู่ใต้ลงไปอีก เพราะมีเนื้อที่ให้กลับลำเรือได้กว้างกว่า แต่ก็ต้องเสี่ยงกับสภาพอากาศที่ปั่นป่วนและคาดคะเนได้ยาก

อ้างอิง

  1. The Straits of Magellan and Oceanographical Setting Chile. (อังกฤษ)
  2. Michael A. Morris. The Strait of Magellan. Martinus Nijhoff Publishers, 1988, ISBN 0-7923-0181-1, pp. 68, 104. (อังกฤษ)
  3. Chilean note to the UN Law of Sea, Declaración formulada al momento de la ratificación. pág 9. (สเปน)

53°28′51″S 70°47′00″W / 53.48083°S 70.78333°W / -53.48083; -70.78333