ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกรตแบร์ริเออร์รีฟ"

พิกัด: 18°17′10″S 147°42′00″E / 18.28611°S 147.70000°E / -18.28611; 147.70000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 1 interwiki links, now provided by Wikidata on d:q7343 (translate me)
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
บรรทัด 50: บรรทัด 50:
{{Link GA|ja}}
{{Link GA|ja}}
{{Link GA|zh-classical}}
{{Link GA|zh-classical}}

[[eu:Koral Hesi Handia]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:31, 30 มีนาคม 2556

เกรตแบร์ริเออร์รีฟ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศรัฐควีนส์แลนด์
ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
ประเภทมรดกทางธรรมชาติ
เกณฑ์พิจารณา(vii) (viii) (ix) (x)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2524 (คณะกรรมการสมัยที่ 5)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เกรตแบร์ริเออร์รีฟ (อังกฤษ: Great Barrier Reef) เป็นพืดหินปะการังที่ยาวที่สุดในโลก ยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย หรือตอนใต้ของทะเลคอรัล เริ่มตั้งแต่แหลมยอร์ก (Cape York) ซึ่งอยู่ไกลขึ้นไปทางเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ลงมาถึงบันดะเบอร์ก (Bundaberk) ทางตอนใต้ ครอบคลุมดูแลพื้นที่ 215,000 ตารางไมล์ หรือ 345,000 ตารางกิโลเมตร ของน่านน้ำรอบ ๆ แนวปะการัง และแนวปะการังใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ แนวปะการังเหนือ (Northern Reef) หมู่เกาะวิตซันเดย์ (Whitsunday Island) และแนวปะการังใต้ (Southern Reef)[1]

แนวปะการัง มีสิ่งชีวิตมากมาย ทั้งปะการังชนิดอ่อน และชนิดแข็ง สีสวยกว่า 350 ชนิด ตลอดจนปลา และสิ่งมีชีวิตในทะเลที่ต่าง ๆ อีก 1500 ชนิด

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

  • (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่าง ๆ ในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
  • (viii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
  • (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
  • (x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

ธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์

เกรตแบร์ริเออร์รีฟแสดงลักษณะเป็นแนวคล้ายทิวเขายาวอย่างชัดเจนทางภาคตะวันออกของประเทศออสเตรเลียและรวมเกาะขนาดเล็กที่ชื่อ เมอร์เรย์ (Murray Island) ด้วย ประเทศออสเตรเลียเริ่มมีการเคลื่อนตัวขึ้นไปทางด้านทิศเหนือตั้งแต่มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic) ในอัตรา 7 เซนติเมตรต่อปี ทางภาคตะวันออกของประเทศออสเตรเลียนั้นเคยเกิดการยกตัวขึ้นในช่วงที่มีปรากฏการณ์ธรณีแปรสัณฐาน (Tectonic uplift) ซึ่งทำให้เกิดการเลื่อนตัวของสันปันน้ำ (Drainage divide) ในรัฐควีนส์แลนด์ เข้าไปในแผ่นดิน 400 กิโลเมตรและในระหว่างช่วงเวลานี้ ได้เกิดการระเบิดของภูเขาไฟใจกลางของรัฐควีนส์แลนด์ ทำให้บางส่วนของหินแกรนิตที่โผล่ให้เราเห็นนั้น ปัจจุบันได้กลายเป็นเกาะสูงหลายแห่ง หลังจากที่มีการก่อตัวขึ้นของแอ่งสะสมพวกปะการังทะเล แนวหินปะการังก็ได้เริ่มเจริญขึ้นในแอ่งนี้ จนเมื่อ 25 ล้านปีก่อนทางตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ น้ำมีอุณหภูมิที่เย็นเกินไปไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหินปะการัง ดังนั้นประวัติการพัฒนาการของเกรตแบร์ริเออร์รีฟจึงมีความซับซ้อน แต่หลังจากที่รัฐควีนส์แลนด์เคลื่อนตัวเข้าไปอยู่ในเขตร้อนชื้น การพัฒนาของเกรตแบร์ริเออร์รีฟก็ได้รับอิทธิพลจากการเจริญของแนวหินปะการัง จนมาถึงภาวะตกต่ำที่สุดของการเจริญเติบโตเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล ณ ตอนนี้แนวหินปะการังนี้สามารถเพิ่มเส้นผ่านศูนย์กลางได้ประมาณ 1 ถึง 3 เซนติเมตรต่อปี และเจริญเติบโตในแนวตั้งตรงได้ประมาณ 1 ถึง 25 เซนติเมตรต่อปี แต่อย่างไรก็ตามแนวหินปะการังก็สามารถเติบโตได้ในความลึกประมาณ 150 เมตร เนื่องจากหินปะการังนั้นต้องการแสงอาทิตย์และไม่สามารถเจริญเติบโตเหนือระดับน้ำทะเลได้

เมื่อส่วนขอบของรัฐควีนส์แลนด์เคลื่อนเข้าสู่เขตร้อนชื้นแล้ว น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น หินปะการังเจริญเติบโตแต่ระบบการสะสมตัวของตะกอนมีการถูกกัดเซาะอย่างรวดเร็วตามแนวภูเขาหรือที่สูงๆ ทำให้เกิดดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (river delta), อูอูซ (oozes), เทอบิไดซ์ (Turbidites) ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหินปะการัง และเมื่อ 10 ล้านปีก่อน ระดับน้ำทะเลลดลงอย่างฉับพลัน ทำให้สามารถมีการสะสมตัวของตะกอนด้วย บริเวณที่แนวหินปะการังขึ้น อาจสร้างจากพวกตะกอนที่ตกสะสมนี้เอง จนขอบเขตของแนวหินปะการังขยายออกไปไกล จนพวกตะกอนแขวนลอยนั้นไปตกสะสมตัวไม่ถึงจึงทำให้พวกหินปะการังหยุดการขยายตัวออกไปนั่นเอง นอกจากนี้เมื่อประมาณ 400,000 ปีก่อนมีช่วงระยะเวลาที่น้ำแข็งที่ปกคลุมโลกอยู่ละลายเพราะอากาศอุ่นขึ้นและทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปประมาณ 4 องศาเซลเซียส

ไฟล์:GBRplane.JPG
เกรตแบร์ริเออร์รีฟมองจากเครื่องบินได้อย่างชัดเจน.

การเกิดของแผ่นดินที่เป็นฐานของแนวหินปะการัง เป็นที่ราบชายฝั่ง (Coastal plain) ก่อกำเนิดจากการกัดเซาะพวกตะกอนของแนวเทือกเขา (Great Dividing Range) กับพวกเนินเขาขนาดใหญ่ ศูนย์วิจัยแนวหินปะการังได้พบหินปะการังที่คล้ายโครงกระดูกซึ่งหาอายุได้ประมาณ 500,000 ปี เจ้าหน้าที่ของศูนย์เกรตแบร์ริเออร์รีฟมารีน (Great Barrier Reef Marine Park) คิดว่าหลักฐานที่สมบูรณ์ที่สุดชิ้นล่าใหม่นี้เป็นโครงสร้างของแนวหินปะการังซึ่งมีอายุประมาณ 600,000 ปี และปัจจุบันเชื่อว่าแนวหินปะการังที่ยังมีชีวิตอยู่เริ่มเกิดและเจริญเติบโตเมื่อประมาณ 20,000 ปีก่อน

เมื่อ 20,000 – 6,000 ปีก่อน ระดับน้ำทะเลขึ้นทำให้หินปะการังสามารถเจริญเติบโตในที่สูงกว่าเดิมได้ เช่น เนินเขาบนที่ราบใกล้ชายฝั่ง เนื่องจากเมื่อประมาณ 13,000 ปีก่อนระดับน้ำทะเลอยู่ที่ 60 เมตรเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลในปัจจุบัน และเป็นเพราะเหตุการณ์ในอดีตทำให้แนวหินปะการังแห่งนี้เจริญเติบโตจนมีขนาดใหญ่มหาศาล เราจึงเรียกสิ่งมหัศจรรย์นี้ว่าเกรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef)[2]


อ้างอิง

แม่แบบ:Gurool

18°17′10″S 147°42′00″E / 18.28611°S 147.70000°E / -18.28611; 147.70000

แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA