ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทุ่งสังหาร (ภาพยนตร์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 61: บรรทัด 61:
* เอ็ดเวิร์ด เอนเทโร เจ็ย ... สะรุน
* เอ็ดเวิร์ด เอนเทโร เจ็ย ... สะรุน
* ทอม เบิร์ด ... ที่ปรึกษาด้านการทหารชาวสหรัฐฯ
* ทอม เบิร์ด ... ที่ปรึกษาด้านการทหารชาวสหรัฐฯ
* [[สมเด็จกรมขุนสีสุวัตถิ์ ชีวันมุนีรักษ์|สีสุวัตถิ์ มุนีรักษ์]] ... พัด (ผู้นำเขมรแดง, หมู่บ้านแห่งที่ 2)
* [[สมเด็จกรมขุนสีสุวัตถิ์ ชีวันมุนีรักษ์|สีสุวัตถิ์ มุนีรักษ์]] ... พัด (ผู้นำเขมรแดง, หมู่บ้านที่ 2)
* ลำพูน ตั้งไพบูลย์ ... ลูกชายของพัด
* ลำพูน ตั้งไพบูลย์ ... ลูกชายของพัด
* ไอร่า วีลเลอร์ ... เอกอัครราชทูตเวด (สถานทูตฝรั่งเศส)
* ไอร่า วีลเลอร์ ... เอกอัครราชทูตเวด (สถานทูตฝรั่งเศส)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:34, 26 มีนาคม 2556

ทุ่งสังหาร
ไฟล์:The Killing Fields film.jpg
ใบปิดภาพยนตร์ (ภาษาอังกฤษ)
กำกับโรแลนด์ จอฟเฟ
เขียนบทบรูซ โรบินสัน
อำนวยการสร้างเดวิด พัตต์นัม
นักแสดงนำแซม วอเตอร์สตัน, จอห์น มัลโควิช, เฮียง เอส. งอร์
กำกับภาพคริส เมนเกส
ตัดต่อจิม คลาร์ก
ดนตรีประกอบไมค์ โอลด์ฟิลด์
ผู้จัดจำหน่ายวอร์เนอร์บราเธอร์ส
วันฉาย2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 (สหรัฐอเมริกา)
ความยาว141 นาที
ประเทศสหราชอาณาจักร
ภาษาภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเขมร
ข้อมูลจาก All Movie Guide
ข้อมูลจาก IMDb

ทุ่งสังหาร (อังกฤษ: The Killing Fields) เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2527 ซึ่งกล่าวถึงประเทศกัมพูชาในยุคการปกครองของเขมรแดง โดยอาศัยเค้าโครงเรื่องจากประสบการณ์จริงของนักข่าวหนังสือพิมพ์ที่เข้าไปทำข่าวในกัมพูชาขณะนั้น 3 คน ได้แก่ ซิดนีย์ ชานเบิร์ก นักข่าวชาวอเมริกัน ดิธ ปราน ล่ามและนักข่าวชาวเขมร และจอน สเวน นักข่าวชาวอังกฤษ ภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งได้รับรางวัลออสการ์ครั้งที่ 57 เป็นผลงานการกำกับของโรแลนด์ จอฟเฟ นำแสดงโดยแซม วอเตอร์สตัน, ดร. เฮียง เอส. งอร์, จูเลียน แซนด์, และ จอห์น มัลโควิช ภาพยนตร์เรื่องนี้มีหลายฉากที่ถ่ายทำอยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะวัฒนธรรมและภูมิประเทศใกล้เคียงกับประเทศกัมพูชามากที่สุด เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น แม้จะสิ้นสุดยุคของเขมรแดงแล้ว แต่ประเทศกัมพูชาก็ยังคงเกิดสงครามกลางเมืองอย่างต่อเนื่อง การเข้าไปใช้สถานที่จริงถ่ายทำจึงไม่ปลอดภัย

ชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์ชุดนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง ครั้งแรกใช้ชื่อว่า "สิ้นชาติ สิ้นแผ่นดิน" ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น "แผ่นดินของใคร" ​และ "ทุ่งสังหาร" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้อยู่ในขณะนี้ เหตุที่มีหลายชื่อก็เนื่องจากว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้มีการเปลี่ยนผู้ถือครองลิขสิทธิ์ในประเทศไทยหลายครั้ง[1]

เนื้อเรื่อง

เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2516 สาธารณรัฐเขมรทำสงครามกลางเมืองต่อต้านกลุ่มเขมรแดง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการแทรกซึมตามเส้นทางโฮจิมินห์ของเวียดกงในสงครามเวียดนาม โดยมีสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนฝ่ายรัฐบาล ดิธ ปราน ล่ามและนักข่าวของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ชาวเขมร เดินทางมารอรับซิดนีย์ ชานเบิร์ก นักข่าวชาวอเมริกันจากหนังสือพิมพ์เดียวกัน ที่สนามบินโปเชนตงในกรุงพนมเปญ แต่ด้วยเที่ยวบินที่ล่าช้าไป 3 ชั่วโมงและเกิดเหตุด่วนขึ้น ปรานจึงรีบออกไปหาข่าวและไม่ได้อยู่รอรับชานเบิร์ก หลังจากนั้นเมื่อชานเบิร์กเข้าพักที่โรงแรมแล้ว ปรานจึงเข้ามาบอกข่าวกับชานเบิร์กว่า เครื่องบินบี-52 ของอเมริกาทิ้งระเบิดลงที่เมืองเนียะเลือง (ในเขตจังหวัดเปรยเวง) ด้วยความเข้าใจผิดว่าเป็นฐานที่มั่นของเขมรแดง ทั้งสองจึงหาทางไปทำข่าวในสถานที่เกิดเหตุ โดยลักลอบเดินทางไปด้วยเรือของตำรวจน้ำ ณ ที่นั้น ทั้งสองได้พบกับสภาพเมืองที่ถูกทำลายจนราบเป็นหน้ากลอง และมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก เมื่อทั้งสองจะถ่ายภาพไปลงประกอบข่าว ทหารของรัฐบาลจึงขัดขวางไม่ให้พวกเขาถ่ายรูปและจับกุมตัวไปสอบสวน และได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมาไม่นานเมื่อกองทัพสหรัฐฯ นำเฮลิคอปเตอร์พานักข่าวมาทำข่าวตามที่ฝ่ายรัฐบาลและอเมริกาได้จัดฉากไว้เพื่อกลบเกลื่อนความจริงที่เนียะเลือง ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้ชานเบิร์กรู้สึกหัวเสียเป็นอย่างมาก

2 ปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2518 กรุงพนมเปญใกล้จะเสียให้แก่ฝ่ายเขมรแดง สหรัฐอเมริกาจึงสั่งปิดสถานทูตของตนเอง และดำเนินการอพยพพลเมืองสหรัฐฯ ในกัมพูชา ชานเบิร์กได้ช่วยเหลือในการอพยพปรานและครอบครัวไปอยู่ที่สหรัฐฯ แต่ตัวชานเบิร์กนั้นต้องการจะติดตามดูเหตุการณ์จนถึงที่สุด ปรานจึงตัดสินใจไม่ไปสหรัฐอเมริกา และอยู่ช่วยชานเบิร์กทำข่าวต่อไป แม้จะเสียใจที่ต้องพลัดพรากกับครอบครัวก็ตาม หลังจากนั้นกองทัพเขมรแดงสามารถเข้ามาในกรุงพนมเปญได้ ขณะที่ทั้งชานเบิร์กและปรานไปทำข่าวการฉลองชัยชนะและสันติภาพของเขมรแดงนั้น พวกเขาได้พบกับอัล ร็อกออฟ และจอน สเวน ผู้เป็นเพื่อนนักข่าวชาวต่างประเทศ ทั้งสองได้พาปรานกับชานเบิร์กไปดูอีกด้านหนึ่งของกรุงพนมเปญในวันนั้น ซึ่งยังคงปรากฏการฆ่าฟันโดยฝ่ายเขมรแดงอยู่ และขณะที่พวกเขาไปสำรวจโรงพยาบาลแห่งหนึ่งซึ่งมีผู้บาดเจ็บจากสงครามจำนวนมาก ก็ถูกทหารเขมรแดงจับกุมขึ้นรถเอพีซีไปยังที่แห่งหนึ่ง ปรานได้พยายามเจรจากับหัวหน้ากลุ่มทหารเขมรแดงอยู่นานหลายชั่วโมง เพื่อขอให้ปล่อยตัวนักข่าวชาวตะวันตกทุกคนจนสำเร็จ

หลังจากถูกปล่อยตัวแล้ว ปรานและกลุ่มนักข่าวชาวตะวันตกทุกคนกลับมาในเมืองอีกครั้ง ทั้งหมดเก็บข้าวของของตนเองจากโรงแรมออกมาเท่าที่จะทำได้ และออกนอกเมืองตามคำสั่งของเขมรแดง ซึ่งสั่งให้ชาวเขมรในเมืองทุกคนทิ้งเมืองและอพยพไปสู่ชนบท โดยพวกเขาไปอยู่รวมกันที่สถานทูตฝรั่งเศสประจำกรุงพนมเปญ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ชาวต่างประเทศทั้งหมดและชาวเขมรที่ต้องการลี้ภัยมาอยู่รวมกัน กลุ่มของชานเบิร์กพยายามหาทางช่วยให้ปรานสามารถอพยพออกจากกัมพูชาได้ โดยสเวนช่วยทำหนังสือเดินทางปลอมของอังกฤษ ส่วนชานเบิร์กกับร็อกออฟช่วยถ่ายรูปปรานสำหรับติดบัตร โดยใช้อุปกรณ์ทุกอย่างเท่าที่จะหาได้ในสถานทูต แต่ที่สุดแล้วก็ไม่สำเร็จ เนื่องจากรูปถ่ายของปรานใช้การไม่ได้ ปรานจึงต้องอยู่ในกัมพูชาต่อไปภายใต้การปกครองของเขมรแดงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

หลายเดือนผ่านไป หลังจากชานเบิร์กออกมาจากกัมพูชาแล้ว ชานเบิร์กได้ให้ความช่วยเหลือครอบครัวของปราน ซึ่งอพยพจากกัมพูชามาก่อนหน้านั้นและพำนักอยู่ที่ซานฟรานซิสโก และพยายามขอความช่วยเหลือจากองค์กรด้านมนุษยธรรมต่างๆ ทั่วโลกในการตามหาปราน ส่วนปรานนั้นกลายเป็นแรงงานเกณฑ์ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเขมรแดงอันเลวร้าย (ในเรื่องนี้รัฐบาลเขมรแดงถูกอ้างถึงด้วยคำว่า "อังการ์") ต้องใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นแสนสาหัส และต้องแกล้งทำตัวเป็นคนไม่รู้หนังสือ เพื่อเอาตัวรอดจากคำสั่งฆ่าผู้มีความรู้ซึ่งถือว่าเป็นศัตรูทางชนชั้นของรัฐบาล เขาเกือบเสียชีวิตจากการลงโทษและถูกทรมานเพราะแอบดูดเลือดจากคอวัวกินเนื่องจากทนความอดอยากไม่ไหว โชคยังดีที่เขาได้รับการปล่อยตัว ปรานจึงพยายามลอบหนีออกจากค่ายกักกันที่เขาอยู่ แต่ก็ถูกเขมรแดงจับตัวได้ที่หมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งระหว่างทาง เขาได้พบกับหลุมศพของคนที่ตายจากการถูกเขมรแดงทรมานและสังหารด้วยข้อหาทรยศชาติจำนวนมากด้วย

ที่สหรัฐอเมริกา ชานเบิร์กได้รับรางวัลพูลิตเซอร์จากการทำข่าวสงครามกลางเมืองในกัมพูชา เขากล่าวว่าความสำเร็จทั้งหมดที่ได้รับนั้นมาจากความช่วยเหลือของปรานด้วย ในงานเลี้ยงคืนนั้น ชานเบิร์กได้เจอกับร็อกออฟขณะเข้าห้องน้ำ เขาโทษว่าชานเบิร์กไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการหาทางช่วยเหลือปรานออกมาจากกัมพูชา คำพูดนี้ทำให้ชานเบิร์กทุกข์ใจมาก และโทษตัวเองว่า ปรานยังอยู่ในกัมพูชาก็เพราะเขาต้องการให้ปรานอยู่ที่นั่นด้วยความเห็นแก่ตัว

ที่กัมพูชา หลังจากปรานถูกจับกุมตัวอีกครั้ง เขาก็ได้ทำงานเป็นพี่เลี้ยงให้กับลูกชายของพัด หัวหน้าเขมรแดงของหมู่บ้านที่ควบคุมตัวปรานไว้ ปรานยังคงแสร้งทำเป็นคนไม่รู้หนังสือ แต่พัดนั้นมองออกว่าปรานเป็นคนมีความรู้ และทำอุบายให้ปรานเผลอแสดงตัวออกมาว่าเขามีความรู้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม พัดเห็นว่าสถานการณ์ของรัฐบาลเขมรแดงเลวร้ายลงจากการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายภายในพรรคและการรุกรานของเวียดนาม เขาจึงฝากลูกชายไว้ให้ปรานดูแลก่อนที่จะถูกสังหารในเวลาต่อมา จากการขัดขวางไม่ให้ทหารเขมรแดงสังหารคนของตนเองเมื่อกองทัพเวียดนามใกล้จะรุกเข้ามาถึงหมู่บ้านของพัด ท่ามกลางความสับสนหลังการเข้ามาของกองทัพเวียดนาม ปรานพาลูกชายของพัดและนักโทษชายคนอื่นๆ อีก 4 คน หลบหนีออกจากกัมพูชาโดยมุ่งขึ้นไปทางชายแดนตอนเหนือ ระหว่างทางเพื่อนร่วมทางสามคนได้แยกกันไปอีกทางหนึ่ง ส่วนนักโทษที่เหลือกับลูกชายของพัดเสียชีวิตจากกับระเบิดที่ฝังไว้ในป่า ปรานจึงรอดชีวิตจนมาถึงศูนย์ผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาเพียงคนเดียว

ด้านชานเบิร์กนั้น เมื่อรู้ข่าวว่าปรานยังมีชีวิตอยู่และเขาปลอดภัยดี เขาจึงรีบแจ้งข่าวให้ครอบครัวของปรานรู้ และรีบเดินทางมาประเทศไทย เพื่อพบกับปรานที่ค่ายผู้อพยพตรงชายแดนไทย-กัมพูชา ทั้งสองได้กลับมาพบกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2522 อันเป็นเวลา 4 ปีให้หลังจากการลาจากในเหตุการณ์พนมเปญแตกครั้งนั้น

นักแสดง

  • แซม วอเตอร์สตัน ... ซิดนีย์ ชานเบิร์ก
  • เฮียง เอส. งอร์ ... ดิธ ปราน
  • จอห์น มัลโควิช ... อัล ร็อกออฟ
  • จูเลียน แซนด์ส ... จอน สเวน
  • เครก ที. เนลสัน ... พันตรีรีฟ, ผู้ช่วยทูตทหารสหรัฐฯ
  • สปอลดิง เกรย์ ... กงสุลสหรัฐฯ ประจำสาธารณรัฐเขมร
  • บิล แพเตอร์สัน ... ดร. แม็คเอนไทร์
  • อาทอล ฟูการ์ด ... ดร. ซุนเดส์วัล
  • เกรแฮม เคนเนดี ... โดกัล
  • กาเทอรีน กราปุม เจ็ย ... เซอร์ เมือม (ภรรยาของปราน)
  • โอลิเวอร์ ปีเอร์ปาโอลี ... ติโตนี่ (ลูกชายของปราน)
  • เอ็ดเวิร์ด เอนเทโร เจ็ย ... สะรุน
  • ทอม เบิร์ด ... ที่ปรึกษาด้านการทหารชาวสหรัฐฯ
  • สีสุวัตถิ์ มุนีรักษ์ ... พัด (ผู้นำเขมรแดง, หมู่บ้านที่ 2)
  • ลำพูน ตั้งไพบูลย์ ... ลูกชายของพัด
  • ไอร่า วีลเลอร์ ... เอกอัครราชทูตเวด (สถานทูตฝรั่งเศส)
  • เดวิด เฮนรี ... ฟรานซ์
  • Patrick Malahide ... Morgan
  • Nell Campbell ... Beth
  • โจแอน แฮร์ริส ... ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์
  • โจแอนนา เมอร์ลิน ... พี่สาวของซิดนีย์ ชานเบิร์ก
  • เจย์ บาร์นีย์ ... พ่อของซิดนีย์ ชานเบิร์ก
  • Mark Long ... Noaks
  • Sayo Inaba ... Mrs. Noaks
  • เมา เลง ... สีสุวัตถิ์ สิริมตะ
  • ชินซอร์ ซาร์ ... Arresting Officer
  • ฮวด มิง ตรัน ... ผู้นำเขมรแดง, หมู่บ้านที่ 1
  • Thach Suon ... Sahn
  • Neevy Pal ... Rosa

รางวัล

รางวัลออสการ์ ค.ศ. 1984

  • สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (เฮียง เอส. งอร์)
  • สาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม (คริส เมนเกส)
  • สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม (จิม คลาร์ก)

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล:

รางวัลลูกโลกทองคำ ค.ศ. 1984

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล:

การถ่ายทำ

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้ถ่ายในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ โดยเริ่มในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ในหลายพื้นที่ อาทิ ถนนท่าดินแดงในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร, จังหวัดนครปฐม, จังหวัดภูเก็ต, อำเภอชะอำ, อำเภอหัวหิน, อำเภอพิมาย และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่[2]

อ้างอิง

  1. http://www.bangkokdvd.com/xdetails.asp?ID=17677
  2. เริ่มถ่ายทำภาพยนตร์ The Killing Fields ที่กรุงเทพฯ, หน้า 185. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3

แหล่งข้อมูลอื่น