ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กิ้งก่าบินปีกจุด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 2 interwiki links, now provided by Wikidata on d:q2599361 (translate me)
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
[[หมวดหมู่:สัตว์ที่พบในประเทศอินเดีย]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ที่พบในประเทศอินเดีย]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ป่าคุ้มครอง]]
[[หมวดหมู่:สัตว์ป่าคุ้มครอง]]

[[ceb:Draco maculatus]]
[[sv:Draco maculatus]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:26, 23 มีนาคม 2556

กิ้งก่าบินปีกจุด
ต้นแบบของกิ้งก่าบินปีกส้ม ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติวิทยาและสัตววิทยาคุนหมิง ประเทศจีน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Lacertilia
วงศ์: Agamidae
วงศ์ย่อย: Agaminae
สกุล: Draco
สปีชีส์: D.  maculatus
ชื่อทวินาม
Draco maculatus
(Cantor, 1847)
ชนิดย่อย
ชนิดย่อย
  • Draco maculatus divergens Taylor, 1934
  • Draco maculatus whiteheadi Boulerger, 1900
  • Draco maculatus maculatus (Gray, 1845)
  • Draco maculatus haasei Boettger, 1893
ชื่อพ้อง
ชื่อพ้อง
  • Draco divergens Taylor, 1934
  • Draco haasei Boettger, 1893
  • Dracunculus maculatus Gray, 1845

กิ้งก่าบินปีกจุด หรือ กิ้งก่าบินปีกส้ม (อังกฤษ: Spotted flying dragon, Orange-winged flying lizard) เป็นกิ้งก่าบินชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Draco maculatus อยู่ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae)

เป็นกิ้งก่าบินขนาดเล็ก ใต้คางมีเหนียงคู่หนึ่งรูปร่างกลมมน ซึ่งกึ่งกลางเหนียงตรงนี้สามารถยกขึ้นลงได้ ในตัวผู้จะมีขนาดโตเห็นชัดเจน ข้างลำตัวระหว่างขาคู่หน้าและขู่หลัง มีแผ่นหนังขนาดใหญ่ที่ใช้ในการร่อน ลำตัวมีสีน้ำตาลแดง มีลายประสีเหมือนลายไม้ จึงสามารถพรางได้เป็นอย่างดีบนต้นไม้ แผ่นหนังด้านข้างนี้ออกสีส้ม มีลายพาดตามยาวสีจาง ใต้ท้องมีสีน้ำตาลอ่อนกว่า ใต้แผ่นหนังข้างลำตัวจะมีจุดสีดำ 2-3 จุด อันเป็นที่มาของชื่อเรียก

มีความยาวจากหัวจรดโคนหาง 60-65 มิลลิเมตร ส่วนหางมีความยาวกว่าคือ 93-110 มิลลิเมตร

พบแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัมของอินเดีย จนถึงเกาะไหหลำในจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงตอนเหนือของมาเลเซีย

พบได้ในป่าหลากหลายประเภท รวมถึงบ้านเรือนของมนุษย์ที่ปลูกใกล้ชายป่าด้วย หากินในเวลากลางวันจนถึงพลบค่ำ โดยมากจะหากินและอยู่ตามลำพังตัวเดียว ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่โดยตัวเมียวางไข่ไว้ในหลุมดินที่ขุดไว้ ในที่ ๆ มีแสงแดดส่องถึง ครั้งละ 3-5 ฟอง วางไข่ในฤดูฝน

จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535[1] [2] [3]

อ้างอิง