ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โตโยต้า โคโรน่า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Apple1968 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apple1968 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 111: บรรทัด 111:
{{โตโยต้า}}
{{โตโยต้า}}
[[หมวดหมู่:รถโตโยต้า|คโโรน่า]]<!-- เป็นการเรียงลำดับในหมวดหมู่ จึงไม่กำหนดให้นำสระโอขึ้นหน้า -->
[[หมวดหมู่:รถโตโยต้า|คโโรน่า]]<!-- เป็นการเรียงลำดับในหมวดหมู่ จึงไม่กำหนดให้นำสระโอขึ้นหน้า -->
{{ออกปี|2500}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:20, 19 มีนาคม 2556

โตโยต้า โคโรน่า
โตโยต้า โคโรน่า รุ่นที่ 10
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตโตโยต้า
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2500 - 2545
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถังรถซีดาน 2,4 ประตู
วาก้อน 3,5 ประตู
กระบะ 2 ประตู
คูเป้ 2 ประตู
แฮทช์แบค 5 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า คัมรี่
ฮอนด้า แอคคอร์ด
นิสสัน เซฟิโร่/เทียนา
มิตซูบิชิ กาแลนต์
มาสด้า 626
ฮุนได โซนาต้า
โฟล์กสวาเกน พาสสาต
ซูบารุ เลกาซี
ฟอร์ด ทอรัส
คาดิแลค ซีทีเอส
เมอร์คิวรี มิลาน
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าไม่มี

โตโยต้า โคโรน่า (Toyota Corona) เป็นรถรุ่นหนึ่งที่ โตโยต้า ผลิตขึ้น เพื่อเป็นรถครอบครัว เริ่มผลิตเมื่อ พ.ศ. 2500 ซึ่งในประเทศไทย ครั้งหนึ่ง มันเคยเป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับ ฮอนด้า แอคคอร์ด และ นิสสัน เซฟิโร่ รวมถึงคู่แข่งอื่นๆ ซึ่งเป็นคู่แข่งระดับรอง เช่น มิตซูบิชิ กาแลนต์ ,มาสด้า 626 ,ฮุนได โซนาต้า ,ซูบารุ เลกาซี ,เปอโยต์ 405 ,แดวู เอสเปอโร ,ฟอร์ด มอนดิโอและซีตรอง BX แต่สู้ไม่ค่อยได้นัก อันเนื่องมาจากขนาดที่เล็กกว่าแอคคอร์ดและคู่แข่งอื่นๆ อยู่เล็กน้อย ดังนั้น ต่อมา โตโยต้าจึงเปลี่ยนเอา โตโยต้า คัมรี่ ขึ้นมาแข่งกับแอคคอร์ดและคู่แข่งอื่นๆ แทนโคโรน่า หลังจากนั้น ก็เป็นช่วงขาลงของโคโรน่า จนในที่สุด ก็เลิกขายในประเทศไทยใน พ.ศ. 2542 และเลิกผลิตทั่วโลกถาวรไปใน พ.ศ. 2545

โคโรน่า โฉมที่ 1-6 จัดอยู่ในประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) และโฉมที่ 7-11 จัดอยู่ในประเภทรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-size Car)

ชื่อ โคโรน่า เป็นภาษาละติน แปลว่า มงกุฎ ซึ่งเป็นความหมายเดียวกับคำว่า คราวน์ (Crown) ดังนั้น โคโรน่า จึงเป็นโตโยต้า คราวน์ ย่อส่วน ตลอดช่วงการผลิต 45 ปี โคโรน่า มีวิวัฒนาการทั้งหมด 10 Generation (โฉม) ตามช่วงเวลาต่างๆ ได้ ดังนี้

Generation ที่ 1 (พ.ศ. 2500 - 2503)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 1

เปิดตัวในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2500 รหัสตัวถัง T10 ในสมัยนั้น โคโรน่า ยังใช้ชื่อนำหน้าว่า โตโยเพ็ท (Toyopet) ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นโตโยต้าในภายหลัง ดังนั้น โคโรน่า โฉมนี้ จึงใช้ชื่อในตลาดว่า โตโยเพ็ท โคโรน่า (Toyopet Corona) ซึ่งโฉมแรกนี้ ออกแบบมาโดยมี โตโยต้า คราวน์ เป็นต้นแบบ ซึ่งมีการนำโคโรน่าโฉมนี้ไปทำแท๊กซี่เป็นจำนวนพอสมควร

มิติตัวถัง ยาว 3.91 เมตร , กว้าง 1.47 เมตร , สูง 1.555 เมตร ขนาดลูกสูบเพียง 997 ซีซี (รถสมัยนั้นเล็กมากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ซึ่งเมื่อเทียบกับยุคเดียวกัน โคโรน่าถือว่าใหญ่เอาการ) แรงม้าเพียง 45 แรงม้า ที่ 5,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 7 กิโลกรัมเมตร ที่ 3,200 รอบต่อนาที ความเร็วสูงสุด 105 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขับเคลื่อนล้อหลัง ใช้เกียร์ธรรมดา ซึ่งมีเพียง 3 สปีด ราคาขายในช่วงนั้นตั้งไว้ที่ 648,000 เยน

Generation ที่ 2 (พ.ศ. 2503 - 2507)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 2

เปิดตัวในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2503 รหัสตัวถัง T20 โฉมนี้ โคโรน่า มีรูปทรงที่เหลี่ยมคมมากขึ้น กระจกหน้า-หลัง ตั้งชันมากขึ้นตามสไตล์รถแบบอเมริกันในยุคนั้น และโฉมนี้ มีเข้ามาขายในไทย แต่ได้ใช้ชื่อรุ่นว่า เทียร่า (Tiara) ไม่ใช่ โคโรน่า

มิติตัวถัง ยาว 3.99 - 4.03 เมตร , กว้าง 1.49 เมตร , สูง 1.445 - 1.455 เมตร (แล้วแต่ตัวถัง) ในช่วงแรก ใช้เครื่องยนต์สี่สูบ 997 ซีซี 45 แรงม้า ที่ 4,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 7 กิโลกรัมเมตร ที่ 3,200 รอบต่อนาที ต่อมา มีการนำเครื่องยนต์ที่แรงกว่ามาใช้ โดยเป็นเครื่องสี่สูบ 1,453 ซีซี 62 แรงม้า ที่ 4,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 11.2 กิโลกรัมเมตร ที่ 3,000 รอบต่อนาที ใช้เกียร์ธรรมดา 3 สปีด

Generation ที่ 3 (พ.ศ. 2507 - 2513)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 3

เปิดตัวในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2507 รหัสตัวถัง T40 โฉมนี้ โคโรน่าถูกออกแบบมาให้มีรูปทรงแบบ Arrow Line (หัวลูกศร) และมีการสร้างความสนใจให้กับประชาชน โดยนำโคโรน่าไปทดสอบวิ่งอย่างต่อเนื่องบนทางด่วนเป็นระยะทาง 100,000 กิโลเมตรโดยไม่ดับเครื่อง ด้วยอัตราเร็ว 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างชื่อเสียงให้โตโยต้าเป็นที่ยอมรับในระดับสากลในเรื่องของเทคโนโลยีและมาตรฐานของการผลิตรถยนต์จนถึงปัจจุบัน

โคโรน่าโฉมนี้ นอกจากจะสร้างชื่อเสียงให้โตโยต้าแล้ว ยังมีการนำไปทำแท๊กซี่เป็นจำนวนมาก เพราะมีการพิสูจน์ให้เห็นว่าอึดจริง และจนถึงปัจจุบัน รถรุ่นนี้หลายคันก็ยังสามารถวิ่งได้ แม้แต่ในประเทศไทย ซึ่งจนถึง พ.ศ. 2546 ก็ยังมีการพบเห็นว่ามีแท๊กซี่ที่เป็นโคโรน่า Generation นี้วิ่งอยู่ที่พระราม 4 และใต้ทางด่วนราษฎร์บูรณะ

ช่วงแรกที่เปิดตัว มีตัวถังแบบเดียว คือ sedan 4 ประตู 1,198 ซีซี 55 แรงม้า ที่ 5,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 8.8 กิโลกรัมเมตร ที่ 2,800 รอบต่อนาที และต่อมาก็มีการเพิ่มรุ่นพิเศษอีกมากมาย ทั้งเครื่องยนต์รุ่นพิเศษที่แรงกว่า และมีการเพิ่มตัวถัง hardtop coupe , station wagon , กระบะ และ hatchback

ยังเป็นรถขับเคลื่อนล้อหลัง มีเกียร์ธรรมดา 3 สปีด กับเกียร์อัตโนมัติ 2 สปีดให้เลือก มีมิติยาว 4.065 - 4.11 เมตร , กว้าง 1.55 เมตร , สูง 1.42 เมตร

Generation ที่ 4 (พ.ศ. 2513 - 2517)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 4

เปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 รหัสตัวถัง T80 โคโรน่าโฉมที่แล้ว แทบจะเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จล้นหลามในแถบเอเชีย แต่ว่า โคโรน่าโฉมนี้ ประสบความสำเร็จในแถบอเมริกันด้วย คาดว่าสาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากความนิยมที่เริ่มประหยัดของชาวอเมริกัน จึงเริ่มหันมาซื้อรถจากเอเชียที่ราคาถูกกว่า โคโรน่าโฉมนี้ ใช้เชื้อเพลิงเบนซิน ลูกสูบ 1.5 , 1.6 , 1.7 , 1.9 และ 2.0 ลิตร

Generation ที่ 5 (พ.ศ. 2517 - 2521)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 5

โคโรน่าโฉมนี้ รหัสตัวถัง T100 ถึง T120 ลูกสูบ 1.6 และ 2.0 ลิตร ยกเว้นในอเมริกาเหนือที่ใช้เครื่องยนต์ 2.2 ลิตร และเริ่มมีการใช้เครื่องยนต์แบบ Twin Cam และขายเฉพาะในญี่ปุ่น ส่วนในอเมริกัน โดยรวมโฉมนี้ก็ถือว่ายังประสบความสำเร็จ แต่ไม่เท่าโฉมที่ 4

Generation ที่ 6 (พ.ศ. 2521 - 2526)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 6

รหัสตัวถัง T130 เครื่องยนต์ลูกสูบ 1.6 และ 2.0 ลิตรเหมื่อนเดิม อเมริกาใช้ลูกสูบ 2.2 ลิตรเหมื่อนเดิม ซึ่งเครื่อง 2.2 ลิตรนี้ โตโยต้า เซลิก้า รถสปอร์ตของโตโยต้าในยุคนั้นก็ใช้ โคโรน่าโฉมนี้ในอเมริกาจึงมีความเป็นรถสปอร์ตอยู่บ้าง ต่างจากโคโรน่าในเอเชียซึ่งเน้นเป็นรถครอบครัว แต่โคโรน่าโฉมนี้ เป็นโคโรน่าโฉมสุดท้ายที่มีขายในสหรัฐอเมริกา ก่อนที่โตโยต้าจะส่ง โตโยต้า คัมรี่ ที่ใหญ่กว่ามาแทนโคโรน่า (เฉพาะในอเมริกา)

Generation ที่ 7 (พ.ศ. 2524 - 2532)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 7

รหัสตัวถัง T140 เป็นอีกโฉมหนึ่งที่คนไทยรู้จักดี ในฐานะรถโคโรน่าขับเคลื่อนล้อหลังรุ่นรองสุดท้าย (ขับเคลื่อนล้อหลังรุ่นสุดท้ายเป็นโฉมที่ 10 แต่ไม่เป็นที่นิยม) กลุ่มผู้ค้ารถในไทยเรียกชื่อว่า "โฉมหน้าแหลม" เพราะกระจังหน้ามีการหักมุมตรงกลาง ทำให้มีลักษณะแหลม ในฮ่องกง มาเก๊า และสิงคโปร์ มีการนำรถรุ่นนี้ไปทำแท็กซี่เป็นจำนวนมาก โฉมหน้าแหลมเป็นโฉมที่ผลิตเป็นระยะเวลานานที่สุดของโคโรน่า ปัจจุบันยังพอมีเห็นได้บ้างตามท้องถนน แต่ไม่มากนัก

Generation ที่ 8 (พ.ศ. 2526 - 2532)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 8

รหัสตัวถัง T150 และ T160 โฉมนี้ โคโรน่าเริ่มเสื่อมถอยความนิยมลงในออสเตรเลีย เพราะคัมรี่ เริ่มเข้าไปเป็นที่นิยมแทนโคโรน่า แต่ในประเทศไทย คัมรี่ยังไม่เป็นที่รู้จัก (คัมรี่ เข้ามาในไทยในช่วงที่โคโรน่าอยู่ในโฉมที่ 10) โคโรน่าจึงยังครองความนิยมในไทยต่อไป แต่ในวงรวมทั่วโลก ถือเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า โคโรน่า อาจจะถึงจุดจบในไม่ช้า

โฉมนี้ กลุ่มพ่อค้ารถในไทย เรียกว่า "โฉมตู้เย็น"

Generation ที่ 9 (พ.ศ. 2529 - 2535)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 9

ในไทยใช้รหัสตัวถัง AT,ST171 นับได้ว่าเป็นโฉมสุดท้ายที่โคโรน่าในไทยยังเป็นรถครอบครัวที่ไม่มีคู่แข่ง

เจเนอเรชันนี้ มี 2 รุ่น คือ รุ่น โฉมหน้ายักษ์ และรุ่น โฉมหน้ายิ้ม(ยกเว้นคนขับรถเก่ายิ้มไม่ออก) รูปที่แสดงนี้เป็นรูปโฉมหน้ายิ้ม สองรุ่นนี้ รูปทรงรถจะคล้ายกันมาก(ภาพรวม) ต่างกันในรายละเอียดหลายประการ เช่น กระจังหน้าและไฟท้าย โดยไปท้ายหน้ายิ้มจะยาวแถวเดียว หน้ายักษ์แยกเป็นสองก้อน กระจังหน้ารุ่นหน้ายิ้มออกแนวตั้ง หน้ายักษ์แนวนอน สองรุ่นยังไม่ใช้โลโก้สามห่วง ในประเทศไทยรถเครื่อง 2000 รหัส 3S จะมีน๊อตล้อ 5 ตัว ใช้รหัสตัวถัง ST171 รถเครื่อง 1600 รหัส 4A เป็นคาร์บูเรดตอร์ มีน๊อตล้อ 4 ตัวใช้รหัสตัวถัง AT171 และโตโยต้าจัดให้เป็นเจเนอเรชันเดียวกัน มีการนำโคโรน่าโฉมนี้ ไปทำแท็กซี่ในญี่ปุ่นอีกจำนวนหนึ่ง รุ่นนี้ขายในประเทศไทยไม่ค่อยดี (เทียบกับโคโรน่าตัวหลัง) เพราะราคาแพงและอัตราการกินน้ำมันมาก โดยรถที่ขายดีช่วงเดียวกันจะเป็นโคโรล่า (โฉมโดเรม่อน) เพราะราคาถูกนอกจากนี้ โคโรล่า นำรุ่นพิเศษเครื่อง 4AGE มาใช้ รถเก่ารุ่นนี้จึงไม่ค่อยมีอะหลั่ยทดแทนต้องเบิกศูนย์ญี่ปุ่น เช่น ช่องแอร์ (ชุดละ9000) มือเปิดประตู (เกือบ 4000/ข้าง) ยางรีดน้ำ (ขอบประตู) ชุดละเกือบหมื่น ของเก่าก็ราคาสูงมาก เว้นแต่เจอของเก่า(ราคาเท่าโซลูน่าเบิกศูนย์) อะหลั่ยเก่าบางอย่างเทียบกับคราวได้ แต่ต้องมีช่างที่ชำนาญ เช่นสวิตช์กระจก ข้อดีของรถรุ่นนี้คือเกาะถนน ในมุมมองของคนซื้อราคาซื้อจะถูกกว่าโคโรลล่า (โฉมโดเรม่อน) และรถเก่าเฉี่ยวชนเสียหายไม่เกิน 50000 (เสียทิ้งเลย) โฉมหน้ายักษ์เป็นรุ่นแรกของโคโรน่าที่เริ่มมีการผลิตเครื่องยนต์ระบบหัวฉีดในไทย(เฉพาะเครื่อง 3S) ซึ่งเครื่องยนต์หัวฉีด จะมีข้อดีที่จะใช้น้ำมันได้คุ้มค่ายิ่งขึ้น และเครื่องยนต์ 2000 ซีซี(3S) สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ประหยัดเงินได้มากกว่าเครื่องยนต์ระบบคาร์บูเรเตอร์แบบเก่า

Generation ที่ 10 (พ.ศ. 2535 - 2541)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 10

รหัสตัวถัง T190 เปิดตัวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 โคโรน่าโฉมนี้ มีคู่แข่ง คือ โตโยต้า คัมรี่ โฉมที่ 3 เริ่มเข้ามาในไทย เป็นรถครอบครัวแข่งกับโคโรน่า ซึ่งโดยรวมแล้ว ในไทยคัมรี่ได้รับความนิยมพอๆ กับโคโรน่า

แต่ในประเทศอื่นๆ ที่โคโรน่าเคยเป็นที่นิยมนั้น โดยรวมในช่วงนี้ โคโรน่ามีความนิยมต่ำกว่าคัมรี่อย่างชัดเจน เมื่อหมดยุคโฉมนี้ โตโยต้าประเทศญี่ปุ่นก็ยกเลิกการส่งออกและการผลิตโคโรน่านอกประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด ทำให้โคโรน่าโฉมที่ 11 มีขายเฉพาะในญี่ปุ่น

โคโรน่ารุ่นสุดท้ายที่มีขายในไทยนี้ ก็เป็นที่รู้จักไม่น้อย โดยเฉพาะโคโรน่ารุ่นพิเศษ คือ Toyota Corona Exsior เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2539 ด้วยตัวรถที่กว้างใหญ่นั่งสบาย ประหยัดน้ำมัน และเป็นรถประกอบในประเทศไทยรุ่นแรกๆ ที่มีระบบความปลอดภัยครบครัน เช่น ระบบเบรก ABS ถุงลมนิรภัย จึงทำให้คู่แข่งในขณะนั้นเริ่มทยอยออกรุ่นที่มีระบบความปลอดภัยครบครัน แต่ก็ต้องระงับการผลิตไปในที่สุด

Generation ที่ 11 (พ.ศ. 2539 - 2545)

โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 11

รหัสตัวถัง T210 และ T220 เป็นโคโรน่าโฉมสุดท้ายที่ผลิต มีขายเฉพาะในญี่ปุ่น ไม่มีการส่งออกหรือผลิตโฉมนี้ในประเทศอื่น มีการนำไปทำแท๊กซี่อยู่บ้าง ในช่วงสุดท้ายนี้ มีการผลิตโคโรน่ารุ่นพิเศษ คือ Toyota Corona Premio ซึ่งต่อมา Premio ก็ได้รับความนิยม และแตกหน่อแยกตัวออกมาเป็นอิสระ กลายเป็น Toyota Premio ซึ่งยังผลิตอยู่จนถึงปัจจุบัน

โคโรน่า เมื่อ Premio แยกตัวออกไปแล้ว ยุคของโคโรน่าก็หมดลง คัมรี่ เข้ามาเป็นรถครอบครัวแทนโคโรน่าอย่างสมบูรณ์ จนในที่สุด ก็ปิดฉากการผลิตโคโรน่าลงใน พ.ศ. 2545 รวมระยะเวลาการผลิต 45 ปี

จะเห็นได้ว่า แม้คัมรี่จะได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน แต่คัมรี่ก็เริ่มเข้ามาแข่งกับโคโรน่าในช่วงที่โคโรน่าเป็นโฉมที่ 7 แต่กว่าจะสามารถเอาชนะได้ก็กินเวลากว่า 20 ปี แต่ยุคทองที่โคโรน่าได้รับความนิยมสุดขีดแบบไม่มีสิ่งใดขวางกั้นนั้น ยาวนานเกือบ 20 ปีเช่นกัน

อ้างอิง

http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/V2561381/V2561381.html การพบเห็นแท๊กซี่ โตโยต้า โคโรน่า โฉมที่ 3 ในประเทศไทย และข้อมูลโคโรน่าในบางโฉม