ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 92 interwiki links, now provided by Wikidata on d:q34442 (translate me)
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:000m.jpg|thumb|300px|ถนนบางนา-บางปะกง]]
[[ไฟล์:000m.jpg|thumb|300px|ถนนบางนา-บางปะกง]]


'''ถนน''' หมายถึง ทางที่สามารถไปและกลับได้ หรือ ทางเดินรถ [[ทางเท้า]]และทางจักยาน
'''ถนน''' หมายถึง ทางที่สามารถไปและกลับได้ หรือ ทางเดินรถ [[ทางเท้า]]และทางจักรยาน
ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก [[ตรอก]] [[ซอย]] [[สะพาน]] หรือ[[ถนนส่วนบุคคล]] ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้
ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก [[ตรอก]] [[ซอย]] [[สะพาน]] หรือ[[ถนนส่วนบุคคล]] ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้



รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:29, 17 มีนาคม 2556

ถนนบางนา-บางปะกง

ถนน หมายถึง ทางที่สามารถไปและกลับได้ หรือ ทางเดินรถ ทางเท้าและทางจักรยาน ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือถนนส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้

ผิวถนน

ผิวถนนสำหรับถนนรุ่นใหม่โดยทั่วไป จะนิยมสร้างด้วยคอนกรีตหรือยางมะตอยคุณภาพดี ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน โดยถนนคอนกรีตค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าในการก่อสร้าง แต่ค่าดูแลรักษาจะถูกกว่าถนนยางมะตอย ลักษณะของผิวถนนจะมีการลาดเอียงออกทั้งสองด้านเพื่อให้น้ำที่ผิวถนนสามารถไหลออกได้ง่ายเวลาเกิดฝนตก

การสร้างถนน

การสร้างถนนจะประกอบด้วยขั้นตอนหลักสองส่วน คือ ส่วนการออกแบบ และส่วนการก่อสร้าง การออกแบบถนนจะมีการคำนวณในหลายด้านรวมถึงการหาแนวเขตที่ดิน การออกแบบรูปร่างของถนนทั้งในแนวระดับ และแนวดิ่ง การคำนวณมุมมองที่ปลอดภัยและวิสัยทัศน์ของผู้ขับขี่ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยจะต้องไม่มีมุมอับ หรือสิ่งกีดขวางมาบังการมองเห็น และการคำนวณทิศทางการระบายน้ำของในพื้นที่นั้น เพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมเนื่องจากถนนที่สร้างใหม่มาขวางทางน้ำเดิม สำหรับส่วนการก่อสร้างถนนจะเริ่มต้นจากการขุดดินหรือถมดินเพื่อให้ได้ระดับใกล้เคียงกับที่ออกแบบ โดยบริเวณที่เป็นอุโมงค์และสะพานจะมีโครงสร้างพิเศษสำหรับรองรับสิ่งก่อสร้างนั้น

ชั้นของถนนจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักคือ "เบส" และ "ผิวถนน" โดยในชั้นเบส อาจจะแบ่งย่อยออกเป็น ซับเบส และ ซับเกรด ขึ้นอยู่กับลักษณะของถนนที่ออกแบบ โดยดินในชั้นจะต้องการตรวจสอบว่าสามารถรับน้ำหนักที่ต้องการได้เพียงพอ ดินในชั้นนี้จะมีหน้าที่ในการรับแรงที่ถ่ายลงมาจากพื้นถนนอีกทีหนึ่ง และขณะเดียวกันจะช่วยในการระบายน้ำจากผิวถนนลงสู่ผิวชั้นล่างต่อไป หลังจากการลงดินชั้นล่างเสร็จจะเริ่มทำการผิวถนน โดยสำหรับถนนคอนกรีตจะมีวิธีการสร้าง 2 วิธี คือวิธีการสมัยใหม่ ใช้การเทคอนกรีตในลักษณะสลิปฟอร์มเพฟเวอร์ ซึ่งเป็นเทคอนกรีตแบบไม่ต้องใช้แบบ โดยเครื่องเทคอนกรีตจะมีเหล็กใช้แทนแบบอยู่ใต้รถเทและจะเคลื่อนตัวไปขณะที่เทคอนกรีต และวิธีการแบบเก่าคือ การวางไม้แบบไว้สองข้างทางก่อนการเทคอนกรีต และเมื่อได้วางไม้แบบพร้อมแล้ว จะมีรถคอนกรีตมาเทคอนกรีตลงในระหว่างไม้แบบที่วางไว้ สำหรับถนนยางมะตอยจะก่อสร้างในลักษณะเดียวกัน โดยจะเทยางมะตอยภายหลังที่ได้เกลี่ยระดับให้ถนนชั้นเบสแล้ว

ภายหลังจากสร้างถนนเสร็จ จะมีการสร้างไหล่ทาง ป้ายถนน หรือตีเส้นแบ่งเลนถนนขึ้นอยู่กับการออกแบบ

การขับรถ ซ้าย และ ขวา

ไฟล์:000.jpg
ถนนจรัญยานนท์(อำเภอบางปะกง)

ถนนในหลายประเทศทั่วโลกจะออกแบบในลักษณะที่แตกต่างกัน เนื่องจากลักษณะการขับรถที่มีการขับพวงมาลัยขวา เหมือนในประเทศไทย และขับรถพวงมาลัยซ้าย ในหลายประเทศ โดย 26% ของระยะทางถนนทั่วโลก ในประเทศมีการขับพวงมาลัยขวาซึ่งรวมถึงประเทศไทย ญี่ปุ่น และอังกฤษ และ 74% ของประเทศทั่วโลกมีการขับพวงมาลัยซ้ายได้แก่ใน สหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรป[1]

ไฟล์:Sens de circulation.png
แผนที่ประเทศแสดงตำแหน่งพวงมาลัย สีน้ำเงินแสดงประเทศที่มีการขับพวงมาลัยขวา และสีแดงแสดงพวงมาลัยซ้าย

รายชื่อถนนสำคัญในประเทศไทย

ถนนระหว่างภาคในประเทศไทย

อ้างอิง

ดูเพิ่ม