ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟรางเดี่ยว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 44: บรรทัด 44:


[[หมวดหมู่:รถไฟ]]
[[หมวดหมู่:รถไฟ]]

[[ar:خط أحادي]]
[[ca:Monorail]]
[[cs:Monorail]]
[[da:Monorail]]
[[de:Einschienenbahn]]
[[en:Monorail]]
[[es:Monorraíl]]
[[eo:Unurelvojo]]
[[fa:مونوریل]]
[[fr:Monorail]]
[[gu:મોનોરેલ]]
[[ko:모노레일]]
[[io:Monorelo]]
[[id:Monorel]]
[[ia:Monorail]]
[[it:Monorotaia]]
[[he:מונורייל]]
[[jv:Sepur monoril]]
[[lv:Viensliedes dzelzceļš]]
[[hu:Egysínű vasút]]
[[mr:मोनोरेल]]
[[ms:Monorel]]
[[nl:Monorail]]
[[ja:モノレール]]
[[no:Énskinnebane]]
[[pl:Kolej jednoszynowa]]
[[pt:Monocarril]]
[[ro:Monoșină]]
[[ru:Монорельс]]
[[simple:Monorail]]
[[sk:Monorail]]
[[fi:Monorail]]
[[sv:Monorail]]
[[ta:ஒற்றைத் தண்டூர்தி]]
[[te:మోనోరైల్]]
[[tr:Havaray]]
[[uk:Монорейкова дорога]]
[[ur:وحید راہ]]
[[vi:Monorail]]
[[zh:單軌鐵路]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:47, 10 มีนาคม 2556

รถโมโนเรลในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย
ไฟล์:Mumbai monorail trial run.PNG
การทดสอบการเดินรถโมโนเรลที่มุมไบ

โมโนเรล (monorail) เป็นระบบขนส่งทางรางชนิดหนึ่ง ต่างจากระบบเดิมแทนที่จะมีราวเหล็กสองราวประกอบเป็นราง กลับมีลักษณะเป็นราวเหล็กเส้นเดียวให้รถวิ่งผ่าน คำว่าโมโนเรลมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2440[1] โดยออยเกน ลังเกน (Eugen Langen) วิศวกรชาวเยอรมัน โดยสมาสคำว่า mono-เดี่ยว และ rail-ราวเหล็กสำหรับประกอบรางรถไฟ เข้าด้วยกัน

รถที่ใช้กับโมโนเรล จะวิ่งบนทางที่มีขนาดแคบกว่าตัวรถ[2]โดยอาจมีครีบสำหรับกอดรัดให้ตัวรถติดกับทางไว้ก็ได้ นิยมใช้เป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดกลาง จำนวนคนไม่มาก ต่างจากระบบรถไฟฟ้ารางหนัก (heavy rail) ซึ่งขนส่งคนได้ในปริมาณที่มากกว่า

ความแตกต่างจากระบบขนส่งรูปแบบอื่น

ความแตกต่าง

โมโนเรลแตกต่างจากรถรางและระบบรางเบา โมโนเรลสมัยใหม่มักจะมีการแบ่งพื้นที่จากช่องทางอื่นและคนเดินเท้าอย่างชัดเจน โมโนเรลสามารถเคลื่อนและรองรับได้ด้วยที่รองรับน้ำหนักเพียงส่วนเดียวแตกต่างจากระบบอื่น นอกจากนี้โมโนเรลยังไม่ต้องมีการรับไฟฟ้าจากเสาสาลี่อีกด้วย

รถไฟพลังแม่เหล็ก

รถไฟพลังแม่เหล็กบางส่วนใช้ในรูปแบบโมโนเรลเช่น Transrapid และ Linimo แต่มีความแตกต่างจากโมโนเรลรูปแบบอื่นที่รถไฟพลังแม่เหล็กจะไม่มีการสัมผัสกับราวโดยตรง

ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2363 อิวาน เอลมานอฟ (Ivan Elmanov) นักประดิษฐ์ชาวรัสเซีย ได้คิดดัดแปลงรางรถไฟธรรมดาที่เคยมีราวเหล็กสองราว ให้เหลือราวเหล็กเพียงเส้นเดียว ในเวลาต่อมา แนวคิดดังกล่าวถูกนำไปปรับใช้ที่อังกฤษในปีต่อมา โดยได้นำไปใช้ที่ท่าเรือเดปฟอร์ด (Deptford Dockyard) กรุงลอนดอน และทางรถไฟสายเชสฮันต์ (Chesthunt) ซึ่งใช้สำหรับขนส่งหินจากเหมืองขุดหิน พร้อมไปกับการขนส่งคนโดยสารอีกด้วย ทางรถไฟสายเชสต์ฮันต์ ถือเป็นทางรถไฟราวเดี่ยวสายแรกที่ขนส่งคนโดยสารสายแรกของโลก[3][4]

ในยุคแรก ๆ ทางรถโมโนเรลเป็นราวเหล็กรูปปากแตรคู่สำหรับให้ครีบล้อเกาะ แทนระบบเดิมที่ให้ล้อวางบนราวเหล็กสองเส้น บางทีอาจนำตู้โดยสารลงไปแขวนไว้กับล้อที่ติดบนราว แล้วให้ไหลไปตามราวก็ได้ เช่นที่เมืองวูปแปร์ตัล (Wuppertal) ประเทศเยอรมนี ในเวลาต่อมา รถโมโนเรลได้มีการพัฒนาให้มีล้อสองชุด ชุดหนึ่งทำหน้าที่ประคองตัวรถ อีกชุดทำหน้าที่ขับเคลื่อน รถโมโนเรลได้มีการใช้แพร่หลายมากขึ้นโดยลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2499[5]ได้มีการทดสอบรถโมโนเรลที่เมืองฮูสตัน รัฐเทกซัส ให้หลังจากนั้นก็มีการนำไปติดตั้งที่สวนสนุกดิสนีย์แลนด์[6] รวมไปถึงใช้เป็นระบบขนส่งมวลชนในกรุงโตเกียวอีกด้วย

ชนิดและลักษณะทางเทคนิค

Wuppertal Schwebebahn โมโนเรลแบบแขวนขบวนแรกของโลก

รถโมโนเรล สามารถจำแนกตามการจัดวางได้สองแบบคือแบบวางคร่อมราว (straddle-beam) กับแบบแขวนไว้กับราว (suspended)

รูปแบบโมโนเรลที่นิยมใช้มากที่สุดในทุกวันนี้คือแบบวางคร่อมราว ซึ่งล้อยางจะติดตั้งไว้ที่ด้านใต้ท้องรถและกะบังข้างตัวรถ เพื่อให้ตัวรถสามารถหนีบยึดไว้กับราวคอนกรีตที่มีความกว้างราว 0.6-0.9 เมตรได้ โดยโมโนเรลรูปแบบนี้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากการนำไปใช้โดยบริษัทของเยอรมนีอย่างอัลเวก

สำหรับรถแบบแขวนไว้กับราว จะมีแคร่ล้อเหล็กซึ่งวิ่งบนราวเหล็ก ใต้แคร่จะแขวนตู้โดยสารไว้ ระบบดังกล่าวถูกบุกเบิกและนำไปใช้แพร่หลายโดยกลุ่มองค์กรเพื่อการศึกษาธุรกิจแห่งฝรั่งเศส (SAFEGE) และมีการใช้ที่เมืองวูปแปร์ตัล บาร์เมน และเอเบอร์เฟล ประเทศเยอรมนี

พลังงาน

รถโมโนเรล ขับเคลื่อนด้วยกระแสไฟฟ้าที่ส่งผ่านรางที่สามหรือรางไฟ (third rail) แต่บางครั้งอาจใช้เครื่องยนต์ดีเซลขับเคลื่อน[7] นอกจากนี้บางระบบในอดีตยังมีการใช้พลังงานในรูปแบบของรถจักรไอน้ำเช่น Lartigue Monorail

แรงแม่เหล็ก

ในรถโมโนเรลที่ทันสมัยขึ้นอาจใช้สนามแม่เหล็กยกรถให้ลอยเหนือราวแล้วผลักให้วิ่งไป เรียกว่ารถไฟพลังแม่เหล็กหรือแมกเลฟ (MAGLEV) ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นระบบรางที่มีความเร็วสูงที่สุดในโลก โดย JR-Maglev ของญี่ปุ่นเป็นเจ้าของสถิติอยู่ที่ 581 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ราวเกาะสำหรับรถไฟแมกเลฟอาจจะกว้างมากจนไม่อาจเรียกว่าราวเกาะแบบโมโนเรลก็ได้[8][9] นอกจากนี้รถไฟพลังแม่เหล็กที่มีความเร็วต่ำกว่านี้มักจะถูกใช้ในเมืองเป็นหลักเช่น Linimo ของญี่ปุ่น

สถิติที่น่าสนใจ

  • สายรถโมโนเรลที่มีคนโดยสารมากที่สุด: กรุงโตเกียว มีผู้โดยสาร 311,856 คนต่อวันทำงาน (ปี 2553)[10]
  • สายรถโมโนเรลที่ยาวที่สุด: เมืองฉงชิ่ง (สาย 2 และ 3) ระยะทาง 55.6 กิโลเมตร
  • สายรถไฟพลังแม่เหล็กที่ยาวที่สุด: เมืองเซี่ยงไฮ้ ระยะทาง 30.5 กิโลเมตร
  • สายรถโมโนเรลแบบคร่อมราวที่ยาวที่สุด: เมืองฉงชิ่ง สาย 3 ระยะทาง 39.1 กิโลเมตร
  • สายรถโมโนเรลแบบแขวนที่ยาวที่สุด: เมืองชิบะ, ระยะทาง 15.2 กิโลเมตร
  • สายรถโมโนเรลที่เก่าแก่ที่สุดและยังใช้งานอยู่: ชเวเบบาห์น วูปแปร์ตัล (Schwebebahn Wuppertal) สร้าง พ.ศ. 2444

อ้างอิง

  1. "Etymology Online entry for monorail". Etymonline.com. สืบค้นเมื่อ 2010-09-11.
  2. "Monorail Society, What is a monorail?". Monorails.org. สืบค้นเมื่อ 2010-09-11.
  3. Finchley Society (1997-06-26). "Finchley Society Annual General Meeting Minutes" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-04-03.
  4. Today in Science History. "June 25 - Today in Science History". สืบค้นเมื่อ 2009-04-03.
  5. "First U.S. Monorail Has Trial Run." Popular Mechanics, June 1956, p. 77.
  6. "Disneyland Adds Submarine and Monorail". Popular Mechanics. 1959. สืบค้นเมื่อ 21 December 2010. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  7. "Metrail Test Track Photo Essay - page one of three". Monorails.org. 2002-10-18. สืบค้นเมื่อ 2010-09-11.
  8. Svensson, Einar. "Definition and Description of Monorail" (PDF). สืบค้นเมื่อ 16 August 2012.
  9. society, monorail. "definition of monorail". monorail society. สืบค้นเมื่อ 16 August 2012.
  10. http://www.tokyo-monorail.co.jp/company/profile.html