ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แบริออน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ta:பேரியான்
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
[[หมวดหมู่:ฟิสิกส์อนุภาค]]
[[หมวดหมู่:ฟิสิกส์อนุภาค]]
[[หมวดหมู่:แบริออน| ]]
[[หมวดหมู่:แบริออน| ]]

[[ar:باريون]]
[[bg:Барион]]
[[bn:ব্যারিয়ন]]
[[bs:Barion]]
[[ca:Barió]]
[[cs:Baryon]]
[[cv:Барион]]
[[cy:Baryon]]
[[de:Baryon]]
[[el:Βαρυόνιο]]
[[en:Baryon]]
[[eo:Bariono]]
[[es:Barión]]
[[et:Barüonid]]
[[fa:باریون]]
[[fi:Baryoni]]
[[fr:Baryon]]
[[ga:Barón]]
[[he:באריון]]
[[hr:Barion]]
[[hu:Barion]]
[[io:Baryono]]
[[is:Þungeind]]
[[it:Barione]]
[[ja:バリオン]]
[[kk:Барион]]
[[ko:중입자]]
[[ku:Baryon]]
[[ky:Барион заряды]]
[[la:Baryon]]
[[lt:Barionas]]
[[lv:Barioni]]
[[mn:Барион]]
[[mr:बॅऱ्यॉन]]
[[ms:Barion]]
[[nl:Baryon]]
[[nn:Baryon]]
[[no:Baryon]]
[[pl:Bariony]]
[[pnb:بیریون]]
[[pt:Bárion]]
[[ru:Барион]]
[[sh:Barion]]
[[simple:Baryon]]
[[sk:Baryón]]
[[sl:Barion]]
[[sv:Baryon]]
[[ta:பேரியான்]]
[[tr:Baryon]]
[[uk:Баріони]]
[[vi:Baryon]]
[[war:Baryon]]
[[zh:重子]]
[[zh-yue:重子]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:08, 10 มีนาคม 2556

แบริออน (อังกฤษ: Baryon) เป็นตระกูลหนึ่งของอนุภาคประกอบที่เกิดจากควาร์ก 3 ตัว ตรงข้ามกับ มีซอน ซึ่งเป็นตระกูลอนุภาคประกอบที่เกิดจากควาร์ก 1 ตัวและแอนติควาร์ก 1 ตัว ทั้งแบริออนและมีซอนต่างเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลอนุภาคที่ใหญ่กว่า ประกอบด้วยอนุภาคทั้งหมดที่เกิดจากควาร์ก เรียกว่า ฮาดรอน คำว่า แบริออน มาจากภาษากรีก ว่า βαρύς (แบรี) มีความหมายว่า "หนัก" เนื่องจากเมื่อครั้งที่ตั้งชื่อนั้น เชื่อกันว่าแบริออนมีมวลมากกว่าอนุภาคอื่นๆ

จนถึงเร็วๆ นี้ ยังเชื่อกันว่ามีการทดลองบางอย่างที่สามารถแสดงถึงการมีอยู่ของ เพนตาควาร์ก หรือแบริออนประหลาดที่ประกอบด้วยควาร์ก 4 ตัวกับแอนติควาร์ก 1 ตัว[1][2] ชุมชนนักฟิสิกส์อนุภาคทั้งหมดไม่เคยมองการมีอยู่ของอนุภาคในลักษณะนี้มาก่อนจนกระทั่ง ค.ศ. 2006[3] แต่ในปี ค.ศ. 2008 มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือซึ่งล้มล้างความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของเพนตาควาร์ก[4]

เนื่องจากแบริออนประกอบด้วยควาร์ก มันจึงมีอันตรกิริยาอย่างเข้ม ตรงข้ามกับเลปตอน ซึ่งไม่มีส่วนประกอบของควาร์ก จึงไม่มีคุณสมบัติอันตรกิริยาอย่างเข้ม แบริออนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ โปรตอน และ นิวตรอน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของมวลของสสารที่มองเห็นได้ในเอกภพ ขณะที่อิเล็กตรอน (ส่วนประกอบหลักอีกอย่างหนึ่งของอะตอม) เป็นเลปตอน แบริออนแต่ละตัวจะมีคู่ปฏิอนุภาคเรียกว่า แอนติแบริออน ซึ่งควาร์กจะถูกแทนที่ด้วยคู่ตรงข้ามของมันคือ แอนติควาร์ก ตัวอย่างเช่น โปรตอนประกอบด้วย 2 ควาร์กอัพ และ 1 ควาร์กดาวน์ คู่ปฏิอนุภาคของมันคือ แอนติโปรตอน ประกอบด้วย 2 แอนติควาร์กอัพ และ 1 แอนติควาร์กดาวน์

สสารแบริออน

สสารแบริออน คือสสารที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแบริออน (โดยมวล) ซึ่งรวมถึงอะตอมทุกชนิด (นั่นหมายรวมถึงสสารเกือบทั้งหมดที่เราเคยพบหรือเคยรู้จักในชีวิตประจำวัน รวมถึงร่างกายของเราด้วย) ส่วนสสารนอน-แบริออน ก็คือสสารใดๆ ที่ไม่ได้มีองค์ประกอบพื้นฐานเป็นแบริออน ซึ่งอาจรวมถึงสสารธรรมดาเช่น นิวตริโน หรืออิเล็กตรอนอิสระ และอาจนับรวมถึงสสารมืดแบบนอน-แบริออนที่แปลกประหลาดบางชนิด เช่น อนุภาค supersymmetric, แอ็กเซียน (axion) หรือ หลุมดำ การแยกแยะระหว่างสสารแบริออนกับสสารนอน-แบริออนมีความสำคัญมากในการศึกษาจักรวาลวิทยา เพราะแบบจำลองบิกแบงนิวคลีโอซินทีสิสได้วางเงื่อนไขอันแน่นหนาเอาไว้เกี่ยวกับปริมาณสสารแบริออนที่ปรากฏขึ้นในเอกภพยุคแรกๆ

จำนวนแบริออนที่มีอยู่ ก็เป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งในทางจักรวาลวิทยา เพราะเรากำหนดสมมุติฐานว่า บิกแบงได้สร้างสภาวะที่มีแบริออนกับแอนติแบริออนในจำนวนเท่าๆ กัน กระบวนการที่ทำให้แบริออนมีจำนวนมากกว่าแอนติแบริออน เรียกว่า แบริโอเจเนซิส

อ้างอิง

  1. H. Muir (2003)
  2. K. Carter (2003)
  3. W.-M. Yao et al. (2006): Particle listings – Θ+
  4. C. Amsler et al. (2008): Pentaquarks
  • C. Amsler et al. (Particle Data Group) (2008). "Review of Particle Physics". Physics Letters B]. 667 (1): 1–1340.
  • H. Garcilazo, J. Vijande, and A. Valcarce (2007). "Faddeev study of heavy-baryon spectroscopy". Journal of Physics G. 34 (5): 961–976. doi:10.1088/0954-3899/34/5/014.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • K. Carter (2006). "The rise and fall of the pentaquark". Fermilab and SLAC. สืบค้นเมื่อ 2008-05-27.
  • W.-M. Yao et al.(Particle Data Group) (2006). "Review of Particle Physics". Journal of Physics G. 33: 1–1232. doi:10.1088/0954-3899/33/1/001.
  • D.M. Manley (2005). "Status of baryon spectroscopy". Journal of Physics: Conference Series. 5: 230–237. doi:10.1088/1742-6596/9/1/043.
  • H. Muir (2003). "Pentaquark discovery confounds sceptics". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 2008-05-27.
  • S.S.M. Wong (1998a). "Chapter 2—Nucleon Structure". Introductory Nuclear Physics (2nd ed.). New York (NY): John Wiley & Sons]. pp. 21–56. ISBN 0-471-23973-9.
  • S.S.M. Wong (1998b). "Chapter 3—The Deuteron". Introductory Nuclear Physics (2nd ed.). New York (NY): John Wiley & Sons. pp. 57–104. ISBN 0-471-23973-9.
  • R. Shankar (1994). Principles of Quantum Mechanics (2nd ed.). New York (NY): Plenum Press. ISBN 0-306-44790-8.
  • E. Wigner (1937). "On the Consequences of the Symmetry of the Nuclear Hamiltonian on the Spectroscopy of Nuclei". Physical Review. 51 (2): 106–119. doi:10.1103/PhysRev.51.106.
  • M. Gell-Mann (1964). "A Schematic of Baryons and Mesons". Physics Letters. 8 (3): 214–215. doi:10.1016/S0031-9163(64)92001-3.
  • W. Heisenberg (1932). "Über den Bau der Atomkerne I". Zeitschrift für Physik. 77: 1–11. doi:10.1007/BF01342433. (เยอรมัน)
  • W. Heisenberg (1932). "Über den Bau der Atomkerne II". Zeitschrift für Physik. 78: 156–164. doi:10.1007/BF01337585. (เยอรมัน)
  • W. Heisenberg (1932). "Über den Bau der Atomkerne III". Zeitschrift für Physik. 80: 587–596. doi:10.1007/BF01335696. (เยอรมัน)