ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัครมุขนายก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: eu:Artzapezpiku
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
[[หมวดหมู่:มุขนายก]]
[[หมวดหมู่:มุขนายก]]
{{โครงศาสนาคริสต์}}
{{โครงศาสนาคริสต์}}

[[az:Arxiyepiskop]]
[[be-x-old:Арцыбіскуп]]
[[bg:Архиепископ]]
[[bs:Nadbiskup]]
[[ca:Arquebisbe]]
[[cs:Arcibiskup]]
[[cy:Archesgob]]
[[da:Ærkebiskop]]
[[de:Erzbischof]]
[[el:Αρχιεπίσκοπος]]
[[en:Archbishop]]
[[eo:Ĉefepiskopo]]
[[es:Arzobispo]]
[[et:Peapiiskop]]
[[eu:Artzapezpiku]]
[[fa:اسقف اعظم]]
[[fi:Arkkipiispa]]
[[fr:Archevêque]]
[[fy:Aartsbiskop]]
[[gd:Àrd-easbaig]]
[[gl:Arcebispo]]
[[he:ארכיבישוף]]
[[hr:Nadbiskup]]
[[hu:Érsek]]
[[id:Uskup Agung]]
[[is:Erkibiskup]]
[[it:Arcivescovo]]
[[ja:大主教]]
[[jv:Uskup Agung]]
[[ka:მთავარეპისკოპოსი]]
[[ko:대주교]]
[[ksh:Ärzbischoff]]
[[la:Archiepiscopus]]
[[lt:Arkivyskupas]]
[[lv:Arhibīskaps]]
[[nl:Aartsbisschop]]
[[nn:Erkebiskop]]
[[no:Erkebiskop]]
[[pl:Arcybiskup]]
[[pt:Arcebispo]]
[[ro:Arhiepiscop]]
[[ru:Архиепископ]]
[[sh:Arhiepiskop]]
[[simple:Archbishop]]
[[sk:Arcibiskup]]
[[sl:Nadškof]]
[[sr:Архиепископ]]
[[sv:Ärkebiskop]]
[[sw:Askofu mkuu]]
[[szl:Arcybiskup]]
[[tl:Arsobispo]]
[[tr:Başpiskopos]]
[[uk:Архієпископ]]
[[vi:Tổng giám mục]]
[[war:Arsobispo]]
[[zh:總主教]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:07, 10 มีนาคม 2556

ไฟล์:Archbishop Francis Xavier Keangsak Kowit Vanit 1.JPG
พระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช อัครมุขนายกมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯองค์ปัจจุบัน[1]

อาร์ชบิชอป[2] (อังกฤษ: Archbishop) หรือแปลว่าอัครมุขนายก[3] ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองภายในคริสตจักรบางนิกาย มีสถานะเหนือกว่ามุขนายก[4] (bishop) พบทั้งในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และอื่น ๆ การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese)[5] ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนก็จะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป

“อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนาแต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องทำพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก

คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล”

“อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz)

ประเภท

นิกายโรมันคาทอลิก แบ่งอัครมุขนายกออกเป็น ๒ ประเภท คือ

  • อัครมุขนายกเกียรตินาม (Titular archbishop) คือ อัครมุขนายกที่ไม่ได้เป็นประมุขของเขตปกครองใด ๆ แต่มีนามว่าอัครมุขนายกเพื่อเป็นเกียรติในการทำงานให้คริสตจักร แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

ในประเทศไทย

ในปี ค.ศ. 1965 สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 ได้ยกสถานะมิสซังคาทอลิกทั้ง 6 แห่งในประเทศไทยขึ้นเป็นมุขมณฑล โดยเขตมิสซังกรุงเทพฯ และเขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงได้เป็นอัครมุขมณฑล และให้ประมุขของทั้งสองมิสซังมีสมณศักดิ์เป็นอัครมุขนายก โดยพระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย ประมุขมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ และพระคุณเจ้ามีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ประมุขมิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง เป็นบาทหลวงไทยสององค์แรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครมุขนายก[6]

ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีอัครมุขนายกมหานคร ๒ องค์ คือ พระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ และพระคุณเจ้าหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ ประมุขมิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง และมีอัครมุขนายกกิตติคุณ ๑ องค์ คือ พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู อัครมุขนายกกิตติคุณมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ

อ้างอิง

  1. [1].เรียกข้อมูลวันที่ 5 ต.ค. 2553.
  2. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Archbishop[2]
  3. เป็นการแปลโดยอนุโลมเทียบจากคำว่า "อัครมุขมณฑล" (archdiocese) ที่ราชบัณฑิตสถานบัญญัติไว้
  4. กรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6
  5. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2552, หน้า 145
  6. Luc Colla, เรือง อาภรณ์รัตน์ และอากาทา จิตอุทัศน์ ผู้แปล, พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์, 2535, หน้า 51

ดูเพิ่ม