ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัครบิดร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
[[หมวดหมู่:นักบวชในศาสนาคริสต์]]
[[หมวดหมู่:นักบวชในศาสนาคริสต์]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในศาสนา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในศาสนา]]

[[ar:بطريرك]]
[[arc:ܦܛܪܝܪܟܐ]]
[[arz:بطريرك]]
[[bg:Патриарх]]
[[bs:Patrijarh (kršćanstvo)]]
[[ca:Patriarca]]
[[cs:Patriarchát (územní členění církve)]]
[[da:Patriark (titel)]]
[[de:Patriarch]]
[[el:Πατριάρχης]]
[[eml:Patriarca]]
[[en:Patriarch]]
[[eo:Patriarko]]
[[es:Patriarca]]
[[et:Patriarh]]
[[fa:پاتریارک]]
[[fi:Patriarkka]]
[[fr:Patriarche (religion)]]
[[gl:Patriarca]]
[[he:פטריארך]]
[[hr:Patrijarh (kršćanstvo)]]
[[hu:Pátriárka]]
[[hy:Պատրիարք]]
[[id:Patriark]]
[[io:Patriarko]]
[[is:Patríarki]]
[[it:Patriarca (cristianesimo)]]
[[ja:総主教]]
[[ko:총대주교]]
[[la:Patriarcha]]
[[lv:Patriarhs]]
[[ms:Patriark]]
[[nl:Patriarch]]
[[pl:Patriarcha]]
[[pt:Patriarca]]
[[ro:Patriarh]]
[[ru:Патриарх (церковный сан)]]
[[simple:Patriarch]]
[[sk:Patriarcha (cirkev)]]
[[sl:Patriarh]]
[[sr:Патријарх]]
[[sv:Patriark (kyrkligt ämbete)]]
[[sw:Patriarki]]
[[tr:Patrik]]
[[uk:Патріарх (християнство)]]
[[zh:宗主教]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:07, 10 มีนาคม 2556

อัครบิดร[1] (อังกฤษ: patriarch) ชาวโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยเรียกว่าอัครปิตา ส่วนชาวโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าพระอัยกา ถือเป็นตำแหน่งมุขนายกชั้นสูงสุดในบางคริสตจักร เช่น อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ โรมันคาทอลิก และอัสซีเรียนแห่งตะวันออก

แต่เดิมคัมภีร์ไบเบิลช้คำนี้เพื่อหมายถึง อับราฮัม อิสอัค และยาโคบ ผู้เป็นบรรพบุรุษของชาวอิสราเอล และเรียกยุคที่ทั้งสามคนนี้มีชีวิตอยู่ว่ายุคอัครบิดร

ประวัติ

อัครบิดรสากลบาร์โธโลมิวที่ 1 ประมุขเขตอัครบิดรสากลคอนสแตนติโนเปิลองค์ปัจจุบัน

หลังการสังคายนาแห่งไนซีนในปี ค.ศ. 325 ได้มีการแบ่งเขตการปกครองภายในคริสตจักรออกเป็น 3 เขต ได้แก่ เขตอัครบิดรโรม เขตอัครบิดรอะเล็กซานเดรีย และเขตอัครบิดรแอนติออก แต่ละเขตมีอัครบิดรเป็นประมุข โดยถือเอาอัครบิดรแห่งกรุงโรมเป็นพระสันตะปาปาหรือประมุขสูงสุดในคริสตจักรสากล ต่อมามีการสังคายนาแห่งแคลสิโดเนียกำหนดให้มีเขตอัครบิดรเยรูซาเลม และเขตอัครบิดรคอนสแตนติโนเปิล แยกออกมาจากเขตอัครบิดรเมืองแอนติออก ทำให้ได้เขตอัครบิดร 5 เขต และมีอัครบิดร 5 คนในคริสตจักร โดยอัครบิดรแห่งโรมยังคงเป็นประมุขสูงสุดในคริสตจักรสากล (Ecumenical church) และอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลเป็นรอง แต่ถือว่าเป็นใหญ่สุดในคริสตจักรตะวันออกซึ่งใช้ภาษากรีก ทำให้ในทางปฏิบัติอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลมีอิทธิพลมากกว่า[2]

ต่อมาเขตอัครบิดรแอนติออกยังถูกแบ่งออกเป็น 3 เขตตามภาษาพิธีกรรม คือ อัครบิดรเมลไคต์ (Melkite) เขตอัครบิดรมาโรไนต์ (Maroniite) และเขตอัครบิดรซีเรียน เขตอัครบิดรกรุงโรมก็แบ่งเป็นอีก 3 เขตพิเศษ คือ เขตอัครบิดรเวนิซ เขตอัครบิดรลิสบอน และเขตอัครบิดรกัว[1]

เมื่อคริสตจักรแบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือฝ่ายตะวันตกกลายเป็นนิกายโรมันคาทอลิก ส่วนฝ่ายตะวันออกเป็นนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เมื่อนิกายออร์ทอดอกซ์แพร่หลายไปยังท้องที่อื่นในภูมิภาคตะวันออก จึงเกิดเขตอัครบิดรต่าง ๆ มากขึ้น เช่น อาร์เมเนีย รัสเซีย เซอร์เบีย โรมาเนีย เป็นต้น โดยให้เกียรติอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลเป็นประธาน แต่ไม่ถือว่าเป็นประมุขสูงสุด

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 375-6
  2. กีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญายุคกลาง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 164