ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มัชฌิมาปฏิปทา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต: แก้ไขจาก zh:中道 (佛教) ไปเป็น zh:中道 (大乘佛教)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
[[หมวดหมู่:ศาสนาพุทธ]]
[[หมวดหมู่:ศาสนาพุทธ]]


[[bg:Среден път]]
[[da:Den gyldne middelvej]]
[[de:Mittlerer Weg]]
[[en:Middle way]]
[[es:Camino medio]]
[[fr:Voie moyenne]]
[[hr:Srednji put]]
[[hu:Középút (buddhizmus)]]
[[id:Jalan Tengah]]
[[ja:中道]]
[[km:ផ្លូវកណ្ដាល]]
[[ko:중도 (불교)]]
[[nl:Middenweg (boeddhisme)]]
[[ru:Срединный путь]]
[[simple:Middle way]]
[[sr:Средњи пут]]
[[vi:Trung đạo]]
[[zh:中道 (大乘佛教)]]
[[zh:中道 (大乘佛教)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:16, 9 มีนาคม 2556

มัชฌิมาปฏิปทาในทางพุทธศาสนาหมายถึงทางสายกลาง คือ การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความสบาย ที่ไม่ใช่ทางสายกลาง คือ สักแต่ว่ากลาง โดยเป็นแต่เพียงโวหารไม่ได้กำหนดวิธีที่ถูกต้องไว้เลย แต่พระพุทธองเจ้าได้ทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้อย่างชัดเจน คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียกว่า "ไตรสิกขา" ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

มัชฌิมาปฏิปทาหมายถึงการปฏิบัติสายกลาง ซึ่งหลักปฏิบัติย่อมต้องคู่กับหลักการอันเป็นสายกลางเช่นกัน โดยที่หลักการอันเป็นสายกลางนี้เรียกว่ามัชเฌนธรรม หรือหลักการที่ว่าด้วยความสมดุล (สมตา)อันเป็นลักษณะอันเป็นสากลของสรรพสิ่งอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับ ไตรลักษณ์ อิทัปปัจจยตา สุญญตา ตถตาอันเป็นกฎธรรมชาติอันเป็นหลักการสากลของสรรพสิ่งเหมือนกันอย่างหนึ่ง

มัชฌิมาปฏิปทาใช้ในความหมายถึงความพอเพียง หรือการใช้ชีวิตที่ถูกต้องตามหลัก สัมมาอาชีวะ คือใช้ชีวิตอย่างรู้ประมาณในการบริโภค คือใช้ปัจจัยสี่เท่าที่จำเป็น ไม่ใช่ใช้ตามความต้องการเพื่อสนองความอยาก

มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย

มัชฌิมาปฏิปทาในทางจิตวิญญาณหมายถึงสติ สติเป็นความสมสมดุลทางจิตอย่างหนึ่ง คือสมดุลระหว่างศรัทธาและปัญญา สติจะอยู่ตรงกลางระหว่างอารมณ์และเหตุผล ถ้าความคิดเปรียบเป็นน้ำไหล สมาธิเปรียบเป็นน้ำนิ่ง สติจะเป็นน้ำไหลนิ่ง คือสติเป็นทางสายกลางทางจิตวิญญาณ

ดูเพิ่ม

สมตา

อ้างอิง

อุปาทิยสูตร มัญญมานสูตร อภินันทมานสูตร ขันธ. สํ. (๑๓๙, ๑๔๐ ,๑๔๑) ตบ. ๑๗ : ๙๑-๙๔ ตท. ๑๗ : ๗๙-๘๒ ตอ. K.S. ๓ : ๖๔-๖๕