ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชาทรรศน์ (หนังสือพิมพ์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poonyo (คุย | ส่วนร่วม)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
[[หมวดหมู่:หนังสือพิมพ์ในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:หนังสือพิมพ์ในประเทศไทย]]
{{โครงหนังสือพิมพ์}}
{{โครงหนังสือพิมพ์}}

[[ja:プラチャー・タット]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:25, 9 มีนาคม 2556

ประชาทรรศน์รายวัน
สงบ สันติ สามัคคี
ทำความดีถวายพ่อ
หน้า 1 หนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์รายวัน ฉบับประจำวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน
ขนาดหนังสือพิมพ์ผู้นำ
(Elite Newspaper)
เจ้าของบริษัท สำนักข่าวประชาทรรศน์ จำกัด
หัวหน้าบรรณาธิการอุดมศักดิ์ เสาวนะ
บรรณาธิการทองเจือ ชาติกิจเจริญ
บรรณาธิการบริหารพิธาน คลี่ขจาย
ก่อตั้งเมื่อ1 ตุลาคม พ.ศ. 2550
นโยบายทางการเมืองกลุ่มเพื่อนเนวิน
ภาษาไทย ไทย
ฉบับสุดท้าย15 มกราคม พ.ศ. 2553
(581 ฉบับ)
สำนักงานใหญ่เลขที่ 731 อาคารพีเอ็มทาวเวอร์ ชั้น 15 ถนนอโศกดินแดง แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
เว็บไซต์prachatouch.co.th

ประชาทรรศน์ เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน วางจำหน่ายทุกวันจันทร์-วันศุกร์ จำนวน 16 หน้า ราคาฉบับละ 7 บาท นำเสนอข่าวทั่วไป มีคำขวัญว่า “หนังสือพิมพ์รายวันทางเลือกเพื่อประชาชน” ออกฉบับปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550 หลังจากที่พิมพ์เป็นฉบับทดลองมาแล้ว 10 ฉบับ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม มีพิธาน คลี่ขจาย น้องชายสุภาพ คลี่ขจาย เป็นบรรณาธิการบริหาร ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย ประธานคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และอดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และอเนก เรืองเชื้อเหมือน เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

หนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์มีเนื้อหาส่วนมากเกี่ยวกับการแสดงทัศนคติทางการเมืองที่แตกต่างจากสื่อกระแสหลัก โดยมีจุดยืนในการส่งเสริมระบบรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต่อต้านการรัฐประหาร และการชุมนุมทางการเมืองที่ปฏิเสธคณะบุคคลที่เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งหมายถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ต่อมา การนำเสนอข่าวในระยะหลังเป็นไปในทำนองให้การสนับสนุนนายเนวิน ชิดชอบ และพรรคภูมิใจไทย เนื่องจากนายเนวินเป็นนายทุนให้กับหนังสือพิมพ์ฉบับนี้นั่นเอง และสีหัวข่าวใหญ่ปรับเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแทนรวมไปถึงได้โจมตีกลุ่ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน

หนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ตีพิมพ์วางจำหน่าย 581 ฉบับ กระทั่งวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553 ได้ตีพิมพ์เป็นฉบับสุดท้าย ก่อนที่บริษัท สำนักข่าวประชาทรรศน์ จำกัด ตัดสินใจหยุดผลิต หยุดจำหน่าย และให้พนักงานลาออกจำนวนมาก ปัจจุบันเหลือเพียงแค่เว็บไซต์ประชาทรรศน์ออนไลน์ที่นำเสนอข่าว ส่วนกองบรรณาธิการบางส่วนหันไปผลิตรายการวิทยุ โดยใช้ชื่อว่าสถานีวิทยุชุมชนปกป้องสถาบัน นำโดยนายอุดมศักดิ์ สาวนะ บรรณาธิการอำนวยการหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์

แหล่งข้อมูลอื่น