ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ptbotgourou (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: zh:聯合國原住民族權利宣言
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 20: บรรทัด 20:


[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน]]

[[ca:Declaració de les Nacions Unides sobre els drets dels pobles indígenes]]
[[en:Declaration on the Rights of Indigenous Peoples]]
[[es:Declaración de las Naciones Unidas sobre los derechos de los pueblos indígenas]]
[[fa:اعلامیه حقوق مردم بومی]]
[[fr:Déclaration des droits des peuples autochtones]]
[[gn:Ñe'ẽmoherakuã opaite tetãyguaita retã ihekombo'e rehegua, Naciones Unidas-gui osẽva'ekue]]
[[id:Deklarasi PBB tentang Hak-Hak Penduduk Asli]]
[[it:Dichiarazione dei diritti dei popoli indigeni]]
[[ja:先住民族の権利に関する国際連合宣言]]
[[ko:원주민권리선언]]
[[pl:Deklaracja praw ludów tubylczych]]
[[ru:Декларация о правах коренных народов]]
[[sv:FN:s deklaration om ursprungsfolkens rättigheter]]
[[zh:聯合國原住民族權利宣言]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:23, 9 มีนาคม 2556

ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม (อังกฤษ: Declaration on the Rights of Indigenous Peoples) ผ่านโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติระหว่างสมัยประชุมที่ 62 ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550

ขณะที่ปฏิญญาสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะมิใช่ตราสารอันมีผลผูกพันตามกฎหมายภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ แต่สหประชาชาติแถลงว่า ปฏิญญาฯ "แสดงถึงพัฒนาการอันรวดเร็วของบรรทัดฐานกฎหมายระหว่างประเทศ และปฏิญญาฯ ยังสะท้อนพันธกรณีของสหประชาชาติที่จะขับเคลื่อนไปยังทิศทางที่แน่นอน" สหประชาชาติอธิบายว่าปฏิญญาฯ ว่าเป็น "มาตรฐานสำคัญในการปฏิบัติต่อปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญมุ่งสู่การกำจัดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิมกว่า 370 ล้านคนของโลกอย่างไม่ต้องสงสัย และช่วยพวกเขาในการต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติและการถูกเบียดตกขอบ (marginalisation)"[1]

เป้าประสงค์

ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิมแถลงสิทธิปัจเจกและสิทธิร่วมของปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม เช่นเดียวกับสิทธิในวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ภาษา การจ้างงาน สาธารณสุข การศึกษาและประเด็นอื่น ปฏิญญาฯ ยัง "ให้ความสำคัญแก่สิทธิปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิมในการธำรงรักษาและเสริมสร้างสถาบัน วัฒนธรรมและประเพณีของตน และเพื่อติดตามการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและความปรารถนาของพวกเขาเอง"[1] มัน "ห้ามการเลือกปฏิบัติต่อปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม" และยัง "สนับสนุนการมีส่วนอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา และสิทธิของพวกเขาในการคงความแตกต่าง และติดตามวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของพวกเขาเอง"[1][2]

การเจรจาและการลงมติเห็นชอบ

ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิมใช้เวลาจัดทำนานถึง 25 ปี แนวคิดในการจัดทำเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2525 เมื่อคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติจัดตั้งคณะทำงานว่าด้วยปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม (WGIP) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นผลจากการศึกษาโดยผู้เสนอรายงานการประชุมพิเศษ José R. Martínez Cobo ว่าด้วยปัญหาการเลือกปฏิบัติที่ปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิมเผชิญ คณะทำงานดังกล่าว ซึ่งได้รับมอบหมายให้พัฒนามาตรฐานสิทธิมนุษยชนซึ่งจะคุ้มครองปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม เริ่มต้นทำงานใน พ.ศ. 2528 โดยร่างปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม ร่างปฏิญญาแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2536 และถูกเสนอต่อคณะอนุกรรมการว่าด้วยการป้องกันการเลือกปฏิบัติและการคุ้มครองชนกลุ่มน้อย ซึ่งให้การรับรองในปีถัดมา ระหว่างนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้เห็นชอบอนุสัญญาว่าด้วยชนพื้นเมืองและชนเผ่า พ.ศ. 2532

จากนั้นปฏิญญาฉบับร่างถูกส่งถึงคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งจัดตั้งคณะทำงานขึ้นอีกชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาข้อความ อีกหลายปีต่อมา คณะทำงานนี้ประชุมกัน 11 ครั้งเพื่อพิจารณาและแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาและข้อกำหนดของร่าง ความคืบหน้าในร่างปฏิญญาเป็นไปอย่างล่าช้า เพราะมีบางรัฐกังวลเกี่ยวกับข้อกำหนดบางประการของปฏิญญา อาทิ สิทธิในการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของปวงชนท้องถิ่น และการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในดินแดนดั้งเดิมของปวงชนท้องถิ่นนั้น[3] ปฏิญญารุ่นสุดท้ายได้รับความเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2549 โดยประเทศสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 47 ประเทศ อันเป็นองค์กรสืบทอดจากคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยมีรัฐสมาชิก 30 รัฐเห็นชอบ สองรัฐไม่เห็นชอบ สิบสองรัฐไม่ลงคะแนน และอีกสามรัฐขาดประชุม[4]

ต่อมา ปฏิญญาฯ ถูกส่งต่อไปยังสมัชชาใหญ่ ซึ่งได้มีการลงมติยอมรับข้อเสนอเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550 ระหว่างสมัยประชุมสามัญที่ 61 มี 143 ประเทศลงมติเห็นชอบ สี่ประเทศไม่เห็นชอบ และสิบเอ็ดประเทศงดออกเสียง[5] รัฐสมาชิกสี่ประเทศที่ลงมติไม่เห็นชอบมีออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา โดยทุกประเทศข้างต้นกำเนิดขึ้นเดิมเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร และมีประชากรอพยพส่วนใหญ่มิใช่ปวงชนท้องถิ่น และมีประชากรท้องถิ่นส่วนน้อย นับแต่นั้น ทั้งสี่ประเทศได้เปลี่ยนไปลงนามปฏิญญาดังกล่าว ประเทศที่ไม่ออกเสียงได้แก่ อาเซอร์ไบจาน บังกลาเทศ ภูฏาน บุรุนดี โคลอมเบีย จอร์เจีย เคนยา ไนจีเรีย สหพันธรัฐรัสเซีย ซามัวและยูเครน ส่วนรัฐสมาชิกอีก 34 รัฐไม่มาลงมติ[6] โคลอมเบียและซามัวได้เปลี่ยนไปลงนามเอกสารนับแต่นั้น[7]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Frequently Asked Questions: Declaration on the Rights of Indigenous Peoples United Nations Permanent Forum on Indigenous Issues.
  2. United Nations adopts Declaration on Rights of Indigenous Peoples United Nations News Centre, 13 September 2007.
  3. Declaration on the Rights of Indigenous Peoples: Adopted by the Human Rights Council on 29 June 2006 United Nations Permanent Forum on Indigenous Issues.
  4. UN Human Rights Council adopts documents on disappearances and indigenous peoples United Nations News Centre, 29 June 2006.
  5. Indigenous rights outlined by UN BBC News, 13 September 2007.
  6. UN adopts Declaration on Rights of Indigenous Peoples United Nations News Centre, 13 September 2007.
  7. UN Permanent Forum on Indigenous Issues, United Nations Declaration on Rights of Indigenous Peoples.

แหล่งข้อมูลอื่น