ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช้างแมมมอธ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 58: บรรทัด 58:
{{Link FA|hu}}
{{Link FA|hu}}
{{Link FA|ca}}
{{Link FA|ca}}

[[ar:ماموث]]
[[az:Mamont]]
[[ba:Мамонттар]]
[[be:Маманты]]
[[be-x-old:Маманты]]
[[bg:Мамути]]
[[bn:ম্যামথ]]
[[br:Mammout]]
[[bs:Mamut]]
[[bxr:Арсалан заан]]
[[ca:Mamut]]
[[cs:Mamut]]
[[cy:Mamoth]]
[[da:Mammut]]
[[de:Mammuts]]
[[el:Μαμούθ]]
[[en:Mammoth]]
[[eo:Mamuto]]
[[es:Mammuthus]]
[[et:Mammut]]
[[eu:Mamut]]
[[fa:ماموت]]
[[fi:Mammutit]]
[[fo:Mammutur]]
[[fr:Mammouth]]
[[fy:Mammoeten]]
[[ga:Mamat]]
[[gd:Mamot]]
[[gl:Mamut]]
[[he:ממותה]]
[[hi:मैमथ]]
[[hr:Mamuti]]
[[hu:Mamut]]
[[hy:Մամոնտ]]
[[ia:Mammut]]
[[id:Mamut]]
[[io:Mamuto]]
[[is:Loðfíll]]
[[it:Mammuthus]]
[[ja:マンモス]]
[[jv:Mamut]]
[[kn:ಮ್ಯಾಮತ್]]
[[ko:매머드]]
[[koi:Мукöр]]
[[la:Mammuthus]]
[[lt:Mamutas]]
[[lv:Mamuti]]
[[mk:Мамут]]
[[ml:മാമത്ത്]]
[[mn:Арслан заан]]
[[nah:Mamut]]
[[nl:Mammoeten]]
[[nn:Mammut]]
[[no:Mammuter]]
[[oc:Mamot]]
[[pl:Mamut]]
[[pt:Mamute]]
[[qu:Mamut]]
[[ro:Mamut]]
[[ru:Мамонты]]
[[scn:Mammuth]]
[[sh:Mamut]]
[[simple:Mammoth]]
[[sk:Mamut]]
[[sl:Mamut]]
[[sr:Мамут]]
[[stq:Mammute]]
[[sv:Mammutar]]
[[ta:மாமூத்]]
[[te:మామత్]]
[[tl:Mammuthus]]
[[tr:Mamut]]
[[uk:Мамут]]
[[ur:جسام]]
[[vi:Voi ma mút]]
[[war:Mammuthus]]
[[xal:Арслң зан]]
[[zh:猛犸象]]
[[zh-classical:長毛象]]
[[zh-min-nan:Mammoth]]
[[zh-yue:長毛象]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:10, 9 มีนาคม 2556

ช้างแมมมอธ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคต้นไพลโอซีน - ยุคกลางโฮโลซีน, 5–0.0045Ma
รูปจำลองแมมมอธขนดก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Proboscidea
วงศ์: Elephantidae
สกุล: Mammuthus[1]
Brookes, 1828
ชนิดต้นแบบ
Mammuthus primigenius
(Blumenbach, 1799 [ดั้งเดิม Elephas])
ชนิด

ช้างแมมมอธ หรือ แมมมอธ (อังกฤษ: Mammoth) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อกว่า 20,000 ปีก่อน จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae เช่นเดียวกับช้างที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยอยู่ในสกุล Mammuthus จำแนกออกได้ทั้งหมด 9 ชนิด (ดูในตาราง)

โดยคำว่า "แมมมอธ" นั้นมาจากคำว่า "Mammal" หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

แมมมอธ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรปและเอเชียเหนือ เช่น ไซบีเรีย ยกเว้นออสเตรเลียและอเมริกาใต้ เป็นช้างที่มีลำตัวและงาใหญ่กว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก ปัจจุบันจะค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมมมอธได้ในยุคไพลสโตซีน [2]

แมมมอธ กำเนิดขึ้นมาเมื่อราว 2.6 ล้านปีก่อน ในยุคไพลโอซีนตอนต้น และสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง เมื่อ 11,700 ปีที่ผ่านมา (แมมมอธตัวสุดท้ายที่สูญพันธุ์ คือ แมมมอธแคระ ที่อาศัยบนเกาะแรงเกล ในทะเลอาร์กติก เมื่อราว 3,700 ปีก่อน[3]) แมมมอธมีขนาดโดยเฉลี่ย 4 เมตร (14 ฟุต) ตั้งแต่เท้าจนถึงหัวไหล่ มีสีขนที่หลากหลายตั้งแต่น้ำตาล หรือน้ำตาลออกเหลือง ความยาวตั้งแต่ 2.5 เซนติเมตร (1 นิ้ว) จนถึง 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) ภายใต้ผิวหนังหนาและมีชั้นไขมันเป็นฉนวนกันความหนาว 8 เซนติเมตร (3 นิ้ว) มีส่วนหัวที่กลม ใบหูเล็กกว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก มีโหนกไขมันอยู่บริเวณส่วนหลัง มีงายาวโค้งได้ถึง 13 ฟุต (4 เมตร)[1] มีฟันกรามเป็นสัน ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเหมาะแก่การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ความหนาวในยุคน้ำแข็ง เพื่อรักษาความอบอุ่นในร่างกาย [2]

แมมมอธ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ในยุคหินเก่า ด้วยการล่าเอาเนื้อเป็นอาหาร หนังและไขมันเป็นเครื่องสร้างความอบอุ่น จนมีภาพเขียนสีบนผนังถ้ำหลายแห่งที่ปรากฏภาพ การล่าแมมมอธด้วยอาวุธที่ทำจากหินในยุคนั้น [2]

ภาพเปรียบเทียบขนาดของมนุษย์กับแมมมอธแต่ละชนิด

แมมมอธ จำแนกออกได้เป็นทั้งหมด 9 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะ รูปร่าง แตกต่างกันออกไป โดยชนิดที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด คือ แมมมอธขนดก (Mammuthus primigenius) ที่มีขนปกคลุมอยู่ทั้งตัว [2] [1]

เชื่อว่า แมมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะถูกล่าโดยมนุษย์จนหมด แต่จากการศึกษาด้านพันธุกรรมศาสตร์และดีเอ็นเอพบว่า แมมมอธนั้นมีสายสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ Elephas หรือช้างเอเชียที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน จึงมีความพยายามจากนักวิทยาศาสตร์ที่จะโคลนนิงตัวอ่อนของแมมมอธให้เกิดขึ้นมาให้ได้ โดยให้แม่ช้างเอเชียเป็นฝ่ายอุ้มท้อง จากการสกลัดนิวเคลียสจากซากดึกดำบรรพ์ของลูกแมมมอธที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะถูกแช่แข็งในน้ำแข็ง จากไขกระดูกบริเวณต้นขา[3]

ในปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 มีการค้นพบซากลูกแมมมอธอายุราว 30,000 ปี ที่สมบูรณ์มากตัวหนึ่งที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากกรุงมอสโคราว 3,500 กิโลเมตร โดยเด็กชายวัย 11 ขวบคนหนึ่ง นับเป็นการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่สมบูรณ์มากซากหนึ่งในรอบนับร้อยปี เชื่อว่า ลูกแมมมอธตัวดังกล่าวตายลงเมื่อมีอายุได้ 16 ปี มีความสูงได้ 2 เมตร [4]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Mammuthus ที่วิกิสปีชีส์

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA