ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กุญแจประจำหลัก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
[[หมวดหมู่:ทฤษฎีดนตรี]]
[[หมวดหมู่:ทฤษฎีดนตรี]]
{{โครงดนตรี}}
{{โครงดนตรี}}

[[ar:مفتاح موسيقي]]
[[be:Ключ, музыка]]
[[bg:Нотен ключ]]
[[ca:Clau (notació musical)]]
[[cs:Klíč (hudba)]]
[[cy:Allwedd (cerddoriaeth)]]
[[da:Nøgle (musik)]]
[[de:Notenschlüssel]]
[[el:Μουσικό κλειδί]]
[[en:Clef]]
[[eo:Klefo]]
[[es:Clave (notación musical)]]
[[et:Noodivõti]]
[[eu:Klabe (musika)]]
[[fa:کلید (موسیقی)]]
[[fi:Nuottiavain]]
[[fr:Clef (musique)]]
[[gl:Clave (notación musical)]]
[[he:מפתח (מוזיקה)]]
[[hu:Zenei kulcsok]]
[[it:Chiave musicale]]
[[ja:音部記号]]
[[ko:음자리표]]
[[ku:Kilîla Solê]]
[[lb:Nouteschlëssel]]
[[lt:Raktas (muzika)]]
[[nl:Sleutel (muziek)]]
[[nn:Musikknøkkel]]
[[no:Nøkkel (musikk)]]
[[oc:Clau (solfegi)]]
[[pl:Klucz (muzyka)]]
[[pt:Clave]]
[[ro:Cheie (muzică)]]
[[ru:Музыкальный ключ]]
[[sh:Ključ (muzički)]]
[[simple:Clef]]
[[sk:Kľúč (hudba)]]
[[sl:Ključ (notacija)]]
[[sr:Кључ (музика)]]
[[sv:Klav]]
[[tr:Sol anahtarı]]
[[tt:Ачкыч (музыка)]]
[[uk:Ключ (музика)]]
[[zh:譜號]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:58, 8 มีนาคม 2556

กุญแจซอลคาบเส้นที่สอง หมายความว่าโน้ตที่คาบเส้นที่สองจะต้องเล่นเสียงซอล

กุญแจประจำหลัก (อังกฤษ: clef; ฝรั่งเศส: clé แปลว่า กุญแจ) คือสัญกรณ์ทางดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้แสดงถึงระดับเสียงของตัวโน้ตที่บันทึก กำกับไว้ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของบรรทัดห้าเส้น ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกชื่อและระดับเสียงของตัวโน้ตที่อยู่บนเส้นนั้น

ประเภทของกุญแจประจำหลัก

กุญแจประจำหลักในการบันทึกดนตรีสมัยใหม่มีใช้อยู่เพียงสามชนิดคือ กุญแจซอล กุญแจโด และกุญแจฟา ซึ่งกุญแจแต่ละชนิดจะอ้างถึงเสียงซอล โด และฟา ตามลำดับ ตามตำแหน่งที่กุญแจนั้นได้ไปคาบเกี่ยวไว้บนบรรทัด เส้นและช่องอื่นๆ ก็จะสัมพันธ์กับโน้ตบนเส้นนั้น

รูปร่าง ชื่อ ใช้ระบุโน้ต ตำแหน่งที่คาบเกี่ยว
กุญแจซอล
กุญแจประจำหลัก G
(G-clef)
เสียงซอลที่อยู่เหนือเสียงโดกลาง ส่วนโค้งก้นหอยตรงกลาง
กุญแจโด
กุญแจประจำหลัก C
(C-clef)
เสียงโดกลาง (middle C) กึ่งกลางกุญแจโด
กุญแจฟา
กุญแจประจำหลัก F
(F-clef)
เสียงฟาที่อยู่ใต้เสียงโดกลาง หัวของกุญแจ หรือระหว่างสองจุด

การใช้ความแตกต่างของกุญแจประจำหลัก ก็เพื่อให้สามารถบันทึกดนตรีสำหรับเครื่องดนตรีและเสียงอื่นได้ทุกอย่าง แม้ว่าจะมีธรรมชาติของเสียงที่แตกต่างกัน เช่นเสียงบางอย่างอาจฟังดูแล้วสูงกว่าหรือต่ำกว่าเสียงอื่น ซึ่งเป็นการยากที่จะบันทึกเสียงทุกอย่างโดยใช้กุญแจประจำหลักเพียงชนิดเดียว เนื่องจากบรรทัดมีเพียงแค่ห้าเส้นในปัจจุบัน แต่อาจนำเสนอระดับเสียงของตัวโน้ตไม่เพียงพอต่อจำนวนโน้ตที่วงออเคสตราสามารถสร้างขึ้น แม้จะใช้เส้นน้อย (ledger line) มาช่วยก็ตาม การใช้ความแตกต่างของกุญแจสำหรับเครื่องดนตรีและเสียงแต่ละชนิด มีส่วนช่วยให้เขียนตัวโน้ตได้ง่าย ลดจำนวนการใช้เส้นน้อย และปรับคีย์ดนตรีได้ง่าย ดังนั้นกุญแจซอลจึงใช้แทนการนำเสนอเสียงสูง กุญแจโดสำหรับเสียงกลาง และกุญแจฟาสำหรับเสียงต่ำ

ตำแหน่งของกุญแจประจำหลัก

กุญแจประจำหลักสามารถวางได้หลายตำแหน่ง ปกติแล้วจะวางไว้ให้คาบเกี่ยวกับเส้นใดเส้นหนึ่งบนบรรทัด และในเมื่อบรรทัดมี 5 เส้น จึงมีความเป็นไปได้ทั้งหมด 15 แบบในการใช้งาน อย่างไรก็ตามมี 6 แบบที่เป็นการกำหนดซ้ำซ้อนกัน ตัวอย่างเช่น กุญแจซอลที่กำกับเส้นที่สาม จะมีค่าเท่ากับกุญแจโดที่กำกับเส้นที่หนึ่ง เป็นต้น ดังนั้นจึงเหลือเพียง 9 แบบเท่านั้นที่ให้ผลแตกต่างกัน ซึ่งทุกแบบเคยใช้ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น ได้แก่ กุญแจซอลบนสองเส้นล่าง กุญแจฟาบนสามเส้นบน และกุญแจโดบนทุกเส้นยกเว้นเส้นที่ห้า (เนื่องจากกุญแจโดบนเส้นที่ห้าซ้ำซ้อนกับกุญแจฟาบนเส้นที่สาม)

ตำแหน่งของกุญแจประจำหลักที่เป็นไปได้ทั้งหมด
ตำแหน่งของกุญแจประจำหลักที่เป็นไปได้ทั้งหมด

แต่สำหรับทุกวันนี้ กุญแจที่ใช้เป็นปกติมีเพียงแค่ กุญแจเทรเบิล กุญแจเบส กุญแจอัลโต และกุญแจเทเนอร์ ซึ่งสองอย่างแรกมักใช้ควบคู่กันบ่อยครั้งกว่า

กุญแจประจำหลักที่ใช้บ่อย
กุญแจประจำหลักที่ใช้บ่อย

อ้างอิง

  • นพพร ด่านสกุล. ปฐมบททฤษฎีดนตรี. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543. หน้า 33-38, 72-77. ISBN 974-277-766-7