ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เครื่องทัวริง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
autoCategory
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 50 interwiki links, now provided by Wikidata on d:q163310 (translate me)
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
[[หมวดหมู่:ทฤษฎีการคำนวณ|คเรื่องจักรทัวริง]]
[[หมวดหมู่:ทฤษฎีการคำนวณ|คเรื่องจักรทัวริง]]
[[หมวดหมู่:วิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี]]
[[หมวดหมู่:วิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี]]

[[als:Turing-Maschine]]
[[ar:آلة تورنج]]
[[be:Машына Т'юрынга]]
[[be-x-old:Машына Т’юрынга]]
[[bg:Машина на Тюринг]]
[[bs:Turingova mašina]]
[[ca:Màquina de Turing]]
[[cs:Turingův stroj]]
[[da:Turingmaskine]]
[[de:Turingmaschine]]
[[el:Μηχανή Τούρινγκ]]
[[en:Turing machine]]
[[eo:Maŝino de Turing]]
[[es:Máquina de Turing]]
[[et:Turingi masin]]
[[eu:Turingen makina]]
[[fa:ماشین تورینگ]]
[[fi:Turingin kone]]
[[fr:Machine de Turing]]
[[fur:Machine di Turing]]
[[he:מכונת טיורינג]]
[[hr:Turingov stroj]]
[[hu:Turing-gép]]
[[id:Mesin Turing]]
[[it:Macchina di Turing]]
[[ja:チューリングマシン]]
[[ko:튜링 기계]]
[[la:Machina Turing]]
[[lb:Turingmaschinn]]
[[lt:Tiuringo mašina]]
[[lv:Tjūringa mašīna]]
[[mk:Тјурингова машина]]
[[ml:ടൂറിങ് മെഷീൻ]]
[[nl:Turingmachine]]
[[no:Turingmaskin]]
[[pl:Maszyna Turinga]]
[[pt:Máquina de Turing]]
[[ro:Mașină Turing]]
[[ru:Машина Тьюринга]]
[[sh:Turingov stroj]]
[[simple:Turing machine]]
[[sk:Turingov stroj]]
[[sl:Turingov stroj]]
[[sq:Makina Turing]]
[[sr:Тјурингова машина]]
[[sv:Turingmaskin]]
[[tr:Turing makinesi]]
[[uk:Машина Тюринга]]
[[vi:Máy Turing]]
[[zh:图灵机]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:33, 8 มีนาคม 2556

เครื่องจักรทัวริง (อังกฤษ: Turing machine) คือเครื่องจักรนามธรรมที่แอลัน ทัวริงได้คิดค้นขึ้นใน ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) เพื่อการนิยามขั้นตอนวิธีหรือ 'กระบวนการเชิงกล' อย่างชัดเจนแบบคณิตศาสตร์ เครื่องจักรทัวริงได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี โดยเฉพาะในทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณและทฤษฎีการคำนวณ ข้อปัญหา (thesis) ที่ว่าโมเดลของเครื่องจักรทัวริงนั้นครอบคลุมกระบวนการเชิงกลทั้งหมด ในการคำนวณทางตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อข้อปัญหาของเชิร์ช-ทัวริง

แนวคิดของเครื่องจักรทัวริงนั้นต้องการจะอธิบายการทำงานของคนที่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้อย่างชัดเจน เพื่อแก้ไขข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในกระดาษที่เรียงต่อกันความยาวไม่จำกัด โดยที่กระดาษแผ่นหนึ่งจะสามารถเก็บสัญลักษณ์ได้หนึ่งตัวจากสัญลักษณ์ที่เป็นไปได้จำนวนจำกัด ผู้ปฏิบัติงานนั้นจะต้องจดจำสถานะหนึ่งจากสถานะที่เป็นไปได้ที่มีจำนวนจำกัด และขั้นตอนที่ระบุให้เขาทำงานนั้นจะอยู่ในลักษณะเช่น "ถ้าสถานะของคุณคือ 42 และสัญลักษณ์บนกระดาษที่คุณเห็นคือ '0', ให้เปลี่ยนสัญลักษณ์นี้เป็น '1', จดจำว่าสถานะใหม่เป็น 17 และไปทำงานต่อกับกระดาษแผ่นถัดไป"

เครื่องจักรทัวริงนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการทดสอบของทัวริง ซึ่งถูกใช้เพื่ออธิบายความหมายของปัญญาประดิษฐ์โดยทัวริง

เครื่องจักรทัวริงที่สามารถจำลองการทำงานของเครื่องจักรทัวริงเครื่องใด ๆ ก็ได้เรียกว่า เครื่องจักรทัวริงสากล (universal Turing machine) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เครื่องจักรสากล ทัวริงอธิบายไว้ใน ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) ว่า

สามารถแสดงได้ว่ามีเครื่องจักรพิเศษในรูปแบบนี้ ที่สามารถทำงานของเครื่องจักรอื่น ๆ ในรูปแบบดังกล่าวได้ทั้งหมด นอกจากนี้เครื่องจักรนี้ยังสามารถใช้เป็นโมเดลสำหรับเครื่องจักรในแบบอื่น ๆ เครื่องจักรพิเศษนี้สามารถเรียกได้ว่าเป็นเครื่องจักรสากล