ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มภาษาทิเบต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
[[หมวดหมู่:ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต]]
[[หมวดหมู่:ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต]]


[[bn:তিব্বতি ভাষা]]
[[bo:བོད་ཀྱི་ཡུལ་གྲུ་སོ་སོའི་སྐད།]]
[[br:Yezhoù tibetek rik]]
[[de:Tibetanische Sprachen]]
[[en:Tibetic languages]]
[[hr:Tibetski jezici]]
[[ku:Zimanên tîbetî]]
[[ku:Zimanên tîbetî]]
[[lt:Tibetiečių kalbos]]
[[mk:Тибетски јазици]]
[[mk:Тибетски јазици]]
[[pl:Języki tybetańskie]]
[[ru:Тибетские языки]]
[[zh:藏语方言]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:57, 8 มีนาคม 2556

กลุ่มภาษาทิเบต (Tibetan languages) เป็นกลุ่มย่อยของภาษาที่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ ของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ที่พูดโดยชาวทิเบตที่อยู่ในบริเวณเอเชียกลางติดต่อกับเอเชียใต้ ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบต ภาคเหนือของอินเดียในบัลติสถาน ลาดัก เนปาล สิกขิม และภูฏาน ส่วนใหญ่ใช้ในการเขียนงานทางศาสนาโดยเฉพาะศาสนาพุทธ

ด้วยเหตุผลทางการเมือง สำเนียงของภาษาทิเบตกลาง (รวมทั้งลาซา) คาม และอัมโดในจีน ถือเป็นภาษาทิเบตเพียงภาษาเดียว ในขณะที่ภาษาซองคา ภาษาสิกขิม ภาษาเศรปาและภาษาลาดัก ถือเป็นภาษาเอกเทศต่างหาก แม้ว่าผู้พูดภาษาดังกล่าวจะถือตนว่าเป็นชาวทิเบตด้วย ในทางภาษาศาสตร์ ภาษาซองคาและภาษาเศรปามีความใกล้เคียงกับภาษาทิเบตสำเนียงลาซามากกว่าสำเนียงคามและอัมโด

มีผู้พูดกลุ่มภาษาทิเบตทั้งหมดราว 6 ล้านคน ภาษาทิเบตสำเนียงลาซามีผู้พูดประมาณ 150,000 คนที่เป็นผู้ลี้ภัยในอินเดียและประเทศอื่นๆ ภาษาทิเบตใช้พูดโดยชนกลุ่มน้อยในทิเบตที่อยู่ใกล้เคียงกับชาวทิเบตมากว่าศตวรรษ แต่ไม่สามารถรักษาภาษาและวัฒนธรรมของตนไว้ได้ ชาวเกวียงในคามนั้น รัฐบาลจีจัดให้เป็นชาวทิเบต แต่ภาษาเกวียงอิกไม่ใช่กลุ่มภาษาทิเบต แม้จะอยู่ในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า

ภาษาทิเบตคลาสสิกไม่ใช่ภาษาที่มีวรรรยุกต์ แต่บางสำเนียง เช่น ทิเบตกลางและคาม ได้พัฒนาเสียงวรรณยุกต์ขึ้น ส่วนสำเนียงอัมโดและลาดัก และภาษาบัลติไม่มีวรรณยุกต์ ลักษณะของภาษาทิเบตในปัจจุบันเป็นแบบรูปคำติดต่อแม้ว่าจะไม่พบลักษณะนี้ในภาษาทิเบตคลาสสิก

การจัดจำแนก

การแบ่งตามวิธีของ Bradley ภาษาในกลุ่มนี้ ได้แก่

  • ภาษาลาดัก หรือภาษาทิเบตตะวันตกโบราณ รวมทั้งภาษาบัลติและภาษาปูริก ไม่มีวรรณยุกต์
  • กลุ่มภาษาทิเบตกลาง มีวรรณยุกตื
  • ภาษาทิเบตตะวันตกสมัยใหม่ พบในลาดักและบริเวณใกล้เคียง
  • ภาษาดบุส-อู พบใน งารี อู-จั้ง และแนวชายแดนทางด้านเหนือของเนปาล
  • ภาษาทิเบตเหนือ พบทางใต้ของมณฑลชิงไห่
  • ภาษาทิเบตใต้ ได้แก่ภาษาสิกขิม ภาษาซองคา ภาษาเศรปา
  • ภาษาคาม มีวรรณยุกต์ ใช้พูดในมณฑลชิงไห่ คามโด เสฉวนและยูนนาน
  • ภาษาอัมโด ไม่มีวรรณยุกต์ ใช้พูดในชิงไห่ กันซู และเสฉวน

การจัดจำแนกมีความผันแปรมาก บางครั้งรวมสำเนียงคามและอัมโดเข้าด้วยกันเป็นสำเนียงทิเบตตะวันออก (ต่างจากภาษาโบดิชตะวันออก) ภาษาทิเบตที่ใช้ในจีนจัดเป็นภาษาทิเบตมาตรฐาน

ระบบการเขียน

กลุ่มภาษาทิเบตส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรทิเบต แต่ชาวลาดักและชาวบัลติบางส่วนเขียนภาษาของตนด้วยอักษรอาหรับแบบที่ใช้กับภาษาอูรดู ในบัลติสถาน ประเทศปากีสถาน ชาวบัลติเลิกใช้อักษรทิเบตมากว่าร้อยปีซึ่งเป็นอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ตาม ชาวบัลติเริ่มตระหนักถึงอิทธิพลจากวัฒนธรรมภายนอกโดยเฉพาะจากชาวปัญจาบ จึงพยายามฟื้นฟูอักษรทิเบตขึ้นมาใช้ควบคู่กับอักษรอาหรับ

แหล่งข้อมูลอื่น