ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาเซราตี กีบลี II"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (Robot: Modifying es:Maserati Ghibli II to es:Maserati Ghibli (1992)
PixelBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต ลบ: it:Maserati Biturbo#La Ghibli
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
[[et:Maserati Ghibli#Ghibli II]]
[[et:Maserati Ghibli#Ghibli II]]
[[fr:Maserati Ghibli II]]
[[fr:Maserati Ghibli II]]
[[it:Maserati Biturbo#La Ghibli]]
[[ja:マセラティ・ギブリ#2代目(1992年 - 1997年)]]
[[ja:マセラティ・ギブリ#2代目(1992年 - 1997年)]]
[[sv:Maserati Ghibli II]]
[[sv:Maserati Ghibli II]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:17, 27 กุมภาพันธ์ 2556

มาเซราตี กีบลี II รุ่นปี พ.ศ. 2539

มาเซราตี กีบลี (Maserati Ghibli II) คำว่า กีบลี (Ghibli) เป็นชื่อลมที่พัดจากทะเลทรายซาฮารา เข้าสู่ทวีปยุโรป มาเซราตีเคยมีการใช้ชื่อ "กีบลี" กับรถมาแล้วครั้งหนึ่งในยุค 50s ดังนั้นกีบลีรุ่นนี้จึงเป็นรุ่นที่สองของกีบลี หลังจากห่างหายจากชื่อนี้ไปร่วม 40 ปี

ประวัติ

รถยนต์ มาเซราตี กีบลี II เปิดตัวในปี 1992 ออกแบบโดย มาเชลโล กันดีนี นักออกแบบรถยนต์ซุปเปอร์คาร์ชาวอิตาเลียน ผู้เคยฝากผลงานการออกแบบไว้กับรถซุปเปอร์คาร์อย่าง ลัมบอร์กีนี ดิอาโบล มาเซราตี ชามาล ลัมบอร์กีนี มูร์เซียลาโก ลัมบอร์กีนี กัลยาร์โด ฯลฯ มาเซราตี กีบลี เป็นการผสมผสานจุดเด่นของ รถซุปเปอร์คาร์รุ่นที่สุดของตระกูลอย่าง ชามาล และรุ่นที่สามารถใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่าง 222 ทำให้ กีบลี มีเส้นสายภายนอกที่ดูดุดันกว่า 222 แต่ยังไม่ดุดันเท่าชามาล

ส่วนการออกแบบภายในของ กีบลี จะมีพื้นที่ในห้องโดยสารมากกว่าชามาลพอสมควร โดยมีการออกแบบและขนาดใกล้เคียงกับ 222 โดยกีบลีจะมีระยะช่วงล้อระหว่างล้อหน้าและล้อหลังเท่ากันกับ 222 แต่จะยาวกว่าชามาลพอสมควร ในขณะที่ระบบรองรับน้ำหนักและช่วงล่างจะเหมือนกับในรุ่นชามาลโดยด้านหน้าจะเป็นแบบปีกนกและคอล์ยสปริง ส่วนด้านหลังจะเป็น เซมิเทรลลิ่งอาร์ม (Semi-Trailling-arm) และคอล์ยสปริง นอกจากนั้นทาง มาเซราตียังได้ติดตั้ง ระบบควบคุมช่วงล่างแอคทีฟซัสเป็นชัน (Active Suspension) ที่พัฒนาร่วมกันกับโคนี่ (Koni) ซึ่งระบบนี้จะทำการปรับความหนืดและความแข็งของช่วงล่างตามลักษณะพื้นผิวถนนและความเร็วของรถ อีกทั้งยังสามารถตั้งระบบนี้ให้เป็นแบบแมนนวลได้อีก 3 แบบคือ แบบนิ่มนวลพิเศษ แบบสปอร์ตไดรฟ์วิ่ง (สำหรับวิ่งด้วยความเร็วสูง) และแบบเรซแทร็คไดรฟ์วิ่ง (สำหรับใช้วิ่งในสนามแข่งรถ) ซึ่งนับเป็นรถยนต์รุ่นแรก ๆ ในโลกที่ได้มีการใช้ระบบนี้

สำหรับในรถยนต์มาเซราตี กีบลี II นี้ ใช้เครื่องยนต์ในตระกูล ไบ-เทอร์โบ (Bi-Turbo) มีความจุ 2.0 ลิตร สามารถผลิตกำลังออกมาได้สูงถึง 306 แรงม้า (BHP) และสำหรับรุ่นพิเศษ "กีบลี คัพ" (Ghibli Cup) สามารถผลิตกำลังออกมาได้สูงที่สุดถึง 330 แรงม้า (BHP) ทั้งสองรุ่นเป็นรถขับเคลื่อนล้อหลังโดยใช้ร่วมกับเกียร์เดินหน้า 6 จังหวะ และเฟืองท้ายแบบ มาเซราตี เรนเจอร์ ซึ่งทำงานควบคุมการส่งกำลังไปที่ล้อหลังทั้งสองข้างให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย รวมทั้งมีความสมดุลที่สุด ในลักษณะที่คล้ายกับ ลิมิเต็ดสลิป-ดิฟเฟอเรนเชียล (Limited-Slip Differencial) และแทร็คชั่นคอนโทรล (Traction Control) แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่า

รุ่นย่อยที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย

  • มาเซราตี กีบลี (Maserati Ghibli)

ใช้เครื่องยนต์ 1990 ซีซี เกียร์ธรรมดาเดินหน้า 6 จังหวะ ขับเคลื่อนล้อหลัง มีกำลังสูงสุด 306 แรงม้าที่ 6250 รตน.(แรงม้าต่อลิตร 154 แรงม้า/ลิตร) แรงบิดสูงสุด 275 ปอนด์-ฟุต ที่ 4250 รตน. ความเร็วสูงสุด 260 กม./ชม.kph อัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. 5.6 วินาที อัตราเร่งจาก 0-1 กม. 24.5 วินาที

  • มาเซราตี กีบลี ออโตเมติค (Maserati Ghibli Automatic)

ใช้เครื่องยนต์ 2790 ซีซี เกียร์อัตโนมัติเดินหน้า 4 จังหวะ ขับเคลื่อนล้อหลัง มีกำลังสูงสุด 284 แรงม้าที่ 6000 รตน. แรงบิดสูงสุด 305 ปอนด์-ฟุต ที่ 3500 รตน. ความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม.kph อัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. 5.7 วินาที อัตราเร่งจาก 0-1 กม. 24.5 วินาที

  • มาเซราตี กีบลี เอบีเอส (Maserati Ghibli ABS)

เป็นรุ่นที่ทางผู้นำเข้ารถในขณะนั้นปรับแต่งเครื่องยนต์ให้มีกำลังลดลงเพื่อเลี่ยงกำแพงภาษีสำหรับรถที่มีกำลังเกิน 220 แรงม้า ใช้เครื่องยนต์ 1990 ซีซี เกียร์ธรรมดาเดินหน้า 6 จังหวะ ขับเคลื่อนล้อหลัง มีกำลังสูงสุด 218 แรงม้า

รุ่นพิเศษ

  • มาเซราตี กีบลี คัพ (Maserati Ghibli Cup) เป็นรุ่นพิเศษเพื่อการแข่งขัน ไม่เคยมีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ใช้เครื่องยนต์ 1990 ซีซี เกียร์ธรรมดาเดินหน้า 6 จังหวะ ขับเคลื่อนล้อหลัง มีกำลังสูงสุด 330 แรงม้าที่ 7000 รตน. ซึ่งถือเป็นรถที่มีอัตราส่วนแรงม้าต่อลิตรสูงที่สุดในโลกในสมัยนั้น (แรงม้าต่อลิตร 166 แรงม้า/ลิตร) แรงบิดสูงสุด 275 ปอนด์-ฟุต ที่ 4250 รตน. ความเร็วสูงสุด 270 กม./ชม. อัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. 5.2 วินาที อัตราเร่งจาก 0-1000 เมตร 24.0 วินาที

แหล่งข้อมูลอื่น