ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:38, 25 กุมภาพันธ์ 2556

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ปัจจุบันดำรงแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) [1]

ภูมิลำเนาและประวัติการศึกษา

เป็นคนกรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (รุ่นที่ 34) สำเร็จแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเข้าศึกษาในปี พ.ศ.2516 จบแล้วเข้าเป็นอาจารย์ด้านกายวิภาคศาสตร์อยู่ 2 ปี ก่อนเบนเข็มมาศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ทั่วไป และกุมารศัลยศาสตร์ และได้รับทุนบริติชเคาน์ซิลกับทุนไชน่าเมดิคอลบอร์ด ไปศึกษาเพิ่มเติมด้านศัลยศาสตร์ทารกแรกคลอดและการผ่าตัดตับและทางเดินน้ำดีในเด็ก ที่โรงพยาบาลเกรทออร์มอนด์สตรีท (Great Ormond Street Hospital) และโรงพยาบาลคิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ

  • เข้าศึกษาในวิทยาลัยเสนาธิการทหาร (วสท.รุ่นปี 2540)
  • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.รุ่นปี 2551)

ชีวิตครอบครัว

สมรสกับแพทย์หญิงกุหลาบ จิตต์มิตรภาพ มีบุตรชาย 2 คน คือ นายแพทย์ศัลยวิทย์ จิตต์มิตรภาพ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรสาสตร์และโรคระบบทางเดินอาหาร และนายภาวิชญ์ จิตต์มิตรภาพ กำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การทำงาน

แล้วกลับมารับราชการต่อที่ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้บุกเบิกวิธีการผ่าตัดใหม่ ๆ ในเด็กและทารกของประเทศไทยจน ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เมื่ออายุ 39 ปี จากนั้นเริ่มเข้าสู่แวดวงบริหารการศึกษา เป็นรองคณบดี ผู้ช่วยอธิการบดีจนถึงรองอธิการบดี ด้านการวิจัยและวิรัชกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2539 – 2552) ในขณะเดียวกันก็ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมปฐม พยาบาล และสุขภาพของสภากาชาดไทย (ปี 2545 – 2552)

รางวัลที่ได้รับ

ได้รับรางวัลทางวิชาการมากมายทั้งในระดับประเทศ (มากกว่า 20 รางวัล) รวมถึงรางวัลแพทย์ดีเด่นสมเด็จพระวันรัตของแพทยสมาคมแห่งประเทศ ที่มอบแก่แพทย์ที่ทำคุณประโยชน์อย่างสูงให้แก่ประเทศไทย และรางวัลวิชาการระดับนานาชาติ (จากวิทยาลัยศัลยแพทย์อเมริกัน ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งอังกฤษ สมาคมกุมารศัลยแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร และสมาคมศัลยแพทย์แห่งประเทศญี่ปุ่น) ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมกุมารศัลยแพทย์แห่งภาคพื้นเอเชีย (ปี 2551 – 2553) นับเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้รับเกียรตินี้ และเป็นประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย (ปี 2553 – 2555)

อ้างอิง

  1. www.nrct.go.th