ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาแอราเมอิก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: oc:Aramèu
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: gv:Aramaaish
บรรทัด 96: บรรทัด 96:
[[ga:An Aramais]]
[[ga:An Aramais]]
[[gl:Lingua aramea]]
[[gl:Lingua aramea]]
[[gv:Aramaaish]]
[[he:ארמית]]
[[he:ארמית]]
[[hi:आरामाईक]]
[[hi:आरामाईक]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:15, 17 กุมภาพันธ์ 2556

ภาษาแอราเมอิก
ארמית Arāmît อระมิต , ܐܪܡܝܐ Ārāmāyâ อะระมะยะ
ออกเสียง/arɑmiθ/, /arɑmit/,
/ɑrɑmɑjɑ/, /ɔrɔmɔjɔ/
ประเทศที่มีการพูดอาร์เมเนีย, อาเซอร์ไบจาน, อินเดีย (สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช), อิหร่าน, อิรัก, อิสราเอล, ปาเลสไตน์, ประเทศจอร์เจีย, เลบานอน, รัสเซีย, ซีเรีย, ตุรกี
ภูมิภาคตลอดตะวันออกกลาง, เอเชียกลาง, ยุโรป, สหรัฐอเมริกา และ ออสเตรเลีย
จำนวนผู้พูด445,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรแอราเมอิก, อักษรซีเรียค, อักษรฮีบรู, อักษรมันดาอิก
รหัสภาษา
ISO 639-2arc
ISO 639-3มีหลากหลาย:
arc – ภาษาแอราเมอิก (ตายแล้ว)
aii – ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย
aij – ภาษาลิชานิด โนชาน
amw – ภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันตก
bhn – ภาษาแอราเมอิกใหม่โบห์ตัน
bjf – ภาษาแอราเมอิกใหม่บาร์ซานีของชาวยิว
cld – ภาษาแอราเมอิกใหม่แคลเดีย
hrt – ภาษาเฮทเตวิน
huy – ภาษาฮูลัวลา
kqd – ภาษากอย ซันจัก ซูรัต
lhs – ภาษามลาห์โซ
lsd – ภาษาลิชานา เดนี
mid – ภาษามันดาอิกใหม่
myz – ภาษามันดาอิกคลาสสิก
sam – ภาษาแอราเมอิกซามาริทัน
syc – ภาษาซีเรียค (คลาสสิก)
syn – ภาษาเซยานา
tmr – ภาษาแอราเมอิกบาบิโลเนียของชาวยิว
trg – ภาษาลิชาน ดิดาน
tru – ภาษาตูโรโย

ภาษาแอราเมอิก[1] (อังกฤษ: Aramaic language) เป็นภาษาตระกูลเซมิติกที่มีความเป็นมายาวนานกว่า 3,000 ปืเป็นภาษากลางของบริเวณตะวันออกใกล้ในช่วง 157 ปีก่อนพุทธศักราชถึง พ.ศ. 1243 ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยภาษาอาหรับ ภาษาแอราเมอิกโบราณเป็นภาษาหลักของจักรวรรดิเปอร์เซีย บาบิโลเนีย และอัสซีเรีย แพร่กระจายไปจนถึงกรีซและอินเดีย หลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทำลายจักรวรรดิเปอร์เซีย ภาษาแอราเมอิกกลายเป็นภาษาทางการของรัฐสำคัญๆในสมัยนั้น เมื่อมีการใช้พูดแพร่หลายจึงเกิดความแตกต่างเป็นสำเนียงตะวันตกและตะวันออก เป็นภาษาเริ่มต้นของหนังสือเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลของดาเนียลและเอซรา และเป็นภาษาหลักในทัลมุด เชื่อกันว่าภาษาแอราเมอิกเป็นภาษาแม่ของพระเยซู ภาษาแอราเมอิกใหม่ยังคงใช้พูดเป็นภาษาแม่ โดยเฉพาะในหมู่ชาวอัสซีเรีย

ภาษาแอราเมอิกเป็นภาษาสำคัญภาษาหนึ่งของชาวยิว ปรากฏในม้วนหนังสือแห่งทะเลสาบเดดซี ยังคงใช้ในพิธีสวดของชุมชนชาวคริสต์ในซีเรีย เลบานอน และอิรัก ยังคงใช้พูดโดยคนกลุ่มเล็กๆในอิหร่าน อาร์เมเนีย จอร์เจีย ซีเรีย และอิรัก โดยทั่วไปปัจจุบันเขียนด้วยอักษรซีเรียค แต่สามารถเขียนด้วยอักษรละติน อักษรฮีบรู และอักษรซีริลลิกได้

สำเนียง

ภาษาแอราเมอิกอยู่ในตระกูลแอฟโฟร-เอเชียติก สาขาเซมิติก สาขาย่อยเซมิติกตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในสาขาเดียวกับภาษาคานาอันไนต์และภาษาฮีบรู แต่ละสำเนียงของภาษาแอราเมอิกมีการออกเสียงต่างกันออกไป มีหน่วยพื้นฐานของเสียงต่างกันถึง 25 - 40 หน่วยเสียง โดยสำเนียงเก่าจะมีเสียงมากกว่าสำเนียงใหม่ ตัวอย่างเช่น การออกเสียงภาษาแอราเมอิกของชาวยิวจะไม่มีลำดับของพยัญชนะที่เน้นเสียง สำเนียงต่างๆมักเกิดจากจากการยืมคำและอิทธิพลของภาษาข้างเคียงเช่น ภาษาอาหรับ ภาษาเคิร์ด ภาษาอาเซอรีและภาษาตุรกี

ไวยากรณ์

รากศัพท์ในภาษาแอราเมอิกเป็นเช่นเดียวกับภาษากลุ่มเซมิติกทั่วไปคือเป็นรากศัพท์พยัญชนะสามตัว ซึ่งสื่อความหมายอย่างกว้าง เช่น k-t-b หมายถึงการเขียน เมื่อเพิ่มเสียงสระเข้าไประหว่างพยัญชนะจะได้ความหมายที่เปลี่ยนไป เช่น

  • Kṯāḇâ, ลายมือเขียน จารึก ตัวหนังสือ
  • Kṯāḇê, คัมภีร์ไบเบิล
  • Kāṯûḇâ, เลขานุการ
  • Kṯāḇeṯ, ฉันเขียนแล้ว
  • Eḵtûḇ, ฉันจะเขียน

คำนามแบ่งเป็นสองเพศคือบุรุษลึงค์และสตรีลึงค์ มีรูปเอกพจน์และพหูพจน์ รวมทั้งรูปทวิพจน์สำหรับนามที่ต้องอยู่เป็นคู่ ปัจจุบันนามทวิพจน์ค่อยๆหายไปจากภาษาแอราเมอิกสมัยใหม่ คำนามและคำคุณศัพท์มีสามสถานะ ซึ่งใกล้เคียงกับการกในภาษาอื่น สถานะสัมบูรณ์ เป็นรูปแบบพื้นฐานของคำนาม (เช่น, kṯâḇâ, 'ลายมือเขียน') สถานะโครงสร้างเป็นรุปแบบที่ใช้กับวลีแสดงความเป็นเจ้าของ (เช่น, kṯāḇaṯ malkṯâ, ลายมือของพระราชินี) สถานะเน้นใช้เหมือนกับคำนำหน้านามในภาษาอังกฤษ (เช่น, kṯāḇtâ, ลายมือเขียน (เน้น)) ภาษาแอราเมอิกไม่มีคำนำหน้านาม

คำกริยาในภาษาแอราเมอิก เมื่อมีการเปลี่ยนรูปรากศัพท์จะทำให้หน้าที่ของคำเปลี่ยนไป เช่น รูปถูกกระทำ (eṯkṯeḇ, มันถูกเขียน), การเน้นหนัก (katteḇ, เขาสั่งให้เขียน'ความหมายกว้างขึ้น (aḵteḇ, เขาประพันธ์) หรือการรวมกันระหว่างหน้าที่ดังกล่าว มีสองกาลคือ กาลสมบูรณ์และกาลไม่สมบูรณ์ การเรียงประโยคโดยมากเป็นแบบกริยา-ประธาน-กรรม ภาษาแอราเมอิกในเปอร์เซียเรียงประโยคแบบ ประธาน-กรร-กริยา แบบเดียวกับภาษาอัคคาเดีย ซึ่งเป็นอิทธพลมาจากภาษาเปอร์เซีย

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 459


แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link FA