ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cotinthecity (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
Removing links to spamming site thisisahome.com
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
* [http://www.asa.or.th/ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์]
* [http://www.asa.or.th/ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์]
* [http://www.asa.or.th/02community/01webboard/index.aspx เว็บบอร์ดอาษา]
* [http://www.asa.or.th/02community/01webboard/index.aspx เว็บบอร์ดอาษา]
[http://www.thisisahome.com แบบบ้านน่าสนใจ]


[[หมวดหมู่:องค์กรในพระบรมราชูปถัมภ์ในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:องค์กรในพระบรมราชูปถัมภ์ในประเทศไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:47, 12 กุมภาพันธ์ 2556

สัญลักษณ์สมาคมสถาปนิกสยาม
สัญลักษณ์สมาคมสถาปนิกสยาม

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (อังกฤษ: The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage of His Majesty the King) หรือ อาษา (ASA) เป็นสมาคมของบุคคลในวิชาชีพสถาปนิกและผู้ที่สนใจในงานสถาปัตยกรรมของประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในสี่สมาคมวิชาชีพออกแบบสถาปัตยกรรม

สมาคมสถาปนิกสยาม เป็นสมาคมที่มีลักษณะเป็นนิติบุคคล

หน้าที่

สมาคมสถาปนิกสยามมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาวงการวิชาชีพสถาปัตยกรรม ที่ทางด้านวิชาชีพและทางด้านวิชาการ โดยจะมีการทำงานใกล้ชิดกับ สภาสถาปนิก (Council of Thai Architects) ในเชิงของกฎหมายและกรอบการปฏิบัติวิชาชีพ ส่วนในด้านวิชาการก็จะมีการจัดพิมพ์เอกสารวิชาการและการจัดสัมนาวิชาการอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีเว็บบอร์ดที่ใช้เป็นที่แลกเปลี่ยนความเห็นและความรู้โดยสมาชิก

งานอาษา

สิ่งที่ประชาชนไทยรู้จักดีที่สุดที่เกี่ยวข้องกับสมาคมสถาปนิกสยาม ได้แก่งานสถาปนิกประจำปี หรือ "งานอาษา" โดยจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี ในช่วงประมาณต้นเดือนพฤษภาคม ภายในงานจะมีกลุ่มสถาปนิกอาสาที่เรียกกันว่า "หมอบ้าน" ซึ่งจะให้คำปรึกษาปัญหาการก่อสร้างฟรี มีงานแสดงผลงานของนิสิตนักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์จากทุกสถาบัน และผลงานของสำนักงานสถาปนิกชั้นนำของประเทศ มีการสัมนาเกี่ยวกับวิชาชีพโดยบุคคลสำคัญทั้งในและนอกวงการสถาปัตยกรรม ทั้งจากภายในและต่างประเทศ และสิ่งที่ได้รับความสนใจที่สุดคือ งานแสดงวัสดุก่อสร้าง โดยบริษัทผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้างชั้นนำของประเทศมารวมตัวกัน

งานสถาปนิกประจำปีดังกล่าว จะเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละปี โดยใช้ปีพุทธศักราชในชื่อภาษาไทย (เช่น งานสถาปนิก ๔๙) และใช้คริสต์ศักราชในชื่อภาษาอังกฤษ (เช่น Architect'06)

สมาชิก

การเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมสถาปนิกสยาม ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่ทำงานในวงการสถาปัตยกรรม ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจในงานสถาปัตยกรรมสามารถเป็นสมาชิกได้

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น