ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัก (ไม้พุ่ม)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
== ประเพณีและความเชื่อ ==
== ประเพณีและความเชื่อ ==
[[ไฟล์:Starr 070730-7939 Calotropis gigantea.jpg|thumb|ดอกรักที่ร้อยเป็นมาลัย]]
[[ไฟล์:Starr 070730-7939 Calotropis gigantea.jpg|thumb|ดอกรักที่ร้อยเป็นมาลัย]]
ใน[[ประเทศไทย]]นิยมนำดอกรักมาร้อยเป็น[[มาลัย]]ร่วมกับดอก[[มะลิ]] [[ดาวเรือง]] [[จำปา]] หรือ[[กุหลาบ]] ใช้ในงานมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับ[[ความรัก]] เพราะดอกรักสื่อความหมายถึงความรัก เช่น งานหมั้น และงานแต่งงาน โดยใช้ในขันหมากหมั้น ขันหมากแต่ง จัดพานรองรับน้ำสังข์ ร้อยเป็นมาลัยบ่าวสาว และโปรยบนที่นอนในพิธีปูที่นอน ส่วนชาว[[ฮาวาย]]ถือว่ามาลัยดอกรักที่ทำเป็นสร้อยคอ (lei) คือสัญลักษณ์ของความเป็น[[กษัตริย์]]ตามประเพณีไทย มักจะใช้ดอกรักร่วมกับดอกไม้อื่นที่มีความหมายเป็นมงคลในงานมงคลที่เกี่ยวเนื่อง กับความรัก เช่น งานหมั้น และงานแต่งงาน โดยใช้ในขันหมากหมั้น ขันหมากแต่ง จัดพานรองรับน้ำสังข์ ร้อยเป็นมาลัยบ่าวสาว และโปรยบนที่นอนในพิธีปูที่นอน เป็นต้น
ตามประเพณีใน[[ประเทศไทย]]นิยมนำดอกรักมาร้อยเป็น[[มาลัย]]ร่วมกับดอก[[มะลิ]] [[ดาวเรือง]] [[จำปา]] หรือ[[กุหลาบ]] ใช้ในงานมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับ[[ความรัก]] เพราะดอกรักสื่อความหมายถึงความรัก เช่น งานหมั้น และงานแต่งงาน โดยใช้ในขันหมากหมั้น ขันหมากแต่ง จัดพานรองรับน้ำสังข์ ร้อยเป็นมาลัยบ่าวสาว และโปรยบนที่นอนในพิธีปูที่นอน เป็นต้น ส่วนชาว[[ฮาวาย]]ถือว่ามาลัยดอกรักที่ทำเป็นสร้อยคอ (lei) คือสัญลักษณ์ของความเป็น[[กษัตริย์]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:12, 10 กุมภาพันธ์ 2556

ต้นรัก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Gentianales
วงศ์: Apocynaceae
วงศ์ย่อย: Asclepiadoideae
สกุล: Calotropis
สปีชีส์: C.  gigantea
ชื่อทวินาม
Calotropis gigantea
(L.) W.T.Aiton

รัก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Calotropis gigantea (Linn.) R.Br.ex Ait.) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กในวงศ์ Apocynaceae วงศ์ย่อย Asclepiadoideae ลำต้นสูง 1.5–3 เมตร ดอกมีสีขาวหรือม่วง มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ

รักเป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย ศรีลังกา อินเดีย และจีน ดอกของพืชชนิดนี้เรียกว่า ดอกรัก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

สูง 1.5–3 เมตร ทุกส่วนมียางขาวเหมือนน้ำนม ตามกิ่งมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปรีแกมขอบขนาน ปลายแหลมโคนเว้า กว้าง 6–8 เซนติเมตร ยาว 10–14 เซนติเมตร เนื้อใบหนา ใต้ใบมีขนนุ่ม ก้านสั้น ดอกสีขาวหรือสีม่วง ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2–3 เซนติเมตร มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ 5 สัน มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ผลเป็นฝักคู่ กว้าง 3–4 เซนติเมตร ยาว 6–8 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกได้เมล็ดแบนสีน้ำตาลจำนวนมาก มีขนสีขาวเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายด้านหนึ่งอยู่ตรงกลาง ส่วนนี้เองที่นำมาใช้ร้อยมาลัย ผลรักเป็นฝักรูปรีปลายแหลมยาว 5-7 ซม. เมื่อแก่จะแตกและปล่อยเมล็ดเล็กๆ ที่มีขนเป็นพู่ ปลิวไปตามลม

การขยายพันธุ์

ปกติแล้วต้นรักมักขึ้นอยู่ตามที่รกร้าง ไม่ค่อยมีการเพาะปลูกกัน แต่สำหรับอุตสาหกรรมในครัวเรือนอาจจะต้องปลูกไว้ใช้ รักขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือการปักชำ ระยะเวลาเติบโตจนออกดอกประมาณ 8 เดือน ใส่ปุ๋ย 16-16-16 เดือนละ 1 ครั้ง

สรรพคุณ

  • ดอก รักษาอาการไอ หอบหืด และหวัด ช่วยให้เจริญอาหาร
  • เปลือกและราก ใช้รักษาโรคบิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับน้ำเหลืองเสีย และทำให้อาเจียน
  • ยาง ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง แต่ก็มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย สามารถบรรเทาอาการปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ รักษากลากเกลื้อน และใช้เป็นยาขับเลือด

ประเพณีและความเชื่อ

ดอกรักที่ร้อยเป็นมาลัย

ตามประเพณีในประเทศไทยนิยมนำดอกรักมาร้อยเป็นมาลัยร่วมกับดอกมะลิ ดาวเรือง จำปา หรือกุหลาบ ใช้ในงานมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับความรัก เพราะดอกรักสื่อความหมายถึงความรัก เช่น งานหมั้น และงานแต่งงาน โดยใช้ในขันหมากหมั้น ขันหมากแต่ง จัดพานรองรับน้ำสังข์ ร้อยเป็นมาลัยบ่าวสาว และโปรยบนที่นอนในพิธีปูที่นอน เป็นต้น ส่วนชาวฮาวายถือว่ามาลัยดอกรักที่ทำเป็นสร้อยคอ (lei) คือสัญลักษณ์ของความเป็นกษัตริย์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น