ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงศัพท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 14: บรรทัด 14:


=== ความรู้ในเชิงลึก ===
=== ความรู้ในเชิงลึก ===
ระดับความรู้ของคำที่แตกต่างกันบอกเป็นนัยถึง ''ความลึก'' ของความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น แต่กระบวนการของมันซับซ้อนกว่านั้นมาก มีวิถีทางหลายด้านในการเรียนรู้คำหนึ่ง ๆ ซึ่งบางด้านไม่ได้เป็นลำดับชั้น ดังนั้นความรู้ที่ได้มาจึงไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามการก้าวหน้าเชิงเส้นดังที่ได้กล่าวไว้ในระดับของความรู้ กรอบงานหลายกรอบงานเกี่ยวกับความรู้ของคำได้เสนอแนะขึ้นเพื่อเปลี่ยนมโนทัศน์ให้เป็นแนวคิดเชิงปฏิบัติการที่ดีกว่า หนึ่งในกรอบงานเช่นนั้นมีวิถีทางเก้าด้านดังต่อไปนี้
# [[อักขรวิธี]] - รูปแบบการเขียน
# [[อักขรวิธี]] - รูปแบบการเขียน
# [[สัทวิทยา]] - รูปแบบการพูด
# [[สัทวิทยา]] - รูปแบบการพูด

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:38, 7 กุมภาพันธ์ 2556

ประมวลศัพท์ ของบุคคล หมายถึงกลุ่มของคำในภาษาหนึ่ง ๆ อันเป็นที่คุ้นเคยต่อบุคคลนั้น ประมวลศัพท์โดยปกติจะพัฒนาเพิ่มขึ้นตามอายุ และทำหน้าที่เป็นเครื่องมือพื้นฐานและมีประโยชน์ เพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ การได้ประมวลศัพท์ที่กว้างขวางเป็นความท้าทายยิ่งใหญ่ที่สุดในการเรียนรู้ภาษาที่สอง

การจำกัดความและการใช้งาน

ประมวลศัพท์ได้จำกัดความโดยสามัญว่าเป็น "คำทุกคำที่ปัจเจกบุคคลได้รู้และได้ใช้" [1] อย่างไรก็ตาม "การรู้" ถึงคำหนึ่ง ๆ ไม่ได้เป็นเรื่องง่ายเหมือนความสามารถที่จะรับรู้หรือใช้มัน มีแนวคิดหลายอย่างเกี่ยวกับความรู้ของคำที่ใช้วัดระดับความรู้ของคำ

ก่อกำเนิดและซึมซับไว้

ระดับของความรู้

  1. ไม่เคยพบคำนั้นมาก่อน
  2. เคยได้ยินคำนั้น แต่ไม่สามารถนิยามได้
  3. รับรู้คำนั้นเนื่องจากบริบทหรือสำเนียง
  4. สามารถใช้คำนั้น และเข้าใจความหมายทั่วไปและ/หรือที่ตั้งใจ แต่ไม่สามารถอธิบายให้แจ่มแจ้งได้
  5. ใช้คำนั้นได้อย่างแตกฉาน ทั้งวิธีใช้และนิยาม

ความรู้ในเชิงลึก

ระดับความรู้ของคำที่แตกต่างกันบอกเป็นนัยถึง ความลึก ของความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น แต่กระบวนการของมันซับซ้อนกว่านั้นมาก มีวิถีทางหลายด้านในการเรียนรู้คำหนึ่ง ๆ ซึ่งบางด้านไม่ได้เป็นลำดับชั้น ดังนั้นความรู้ที่ได้มาจึงไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามการก้าวหน้าเชิงเส้นดังที่ได้กล่าวไว้ในระดับของความรู้ กรอบงานหลายกรอบงานเกี่ยวกับความรู้ของคำได้เสนอแนะขึ้นเพื่อเปลี่ยนมโนทัศน์ให้เป็นแนวคิดเชิงปฏิบัติการที่ดีกว่า หนึ่งในกรอบงานเช่นนั้นมีวิถีทางเก้าด้านดังต่อไปนี้

  1. อักขรวิธี - รูปแบบการเขียน
  2. สัทวิทยา - รูปแบบการพูด
  3. สิ่งอ้างอิง - ความหมาย
  4. อรรถศาสตร์ - มโนทัศน์และการอ้างอิง
  5. ลักษณะน้ำเสียง - ความเหมาะสมในการใช้
  6. คำปรากฏร่วม - ศัพท์ข้างเคียง
  7. การเชื่อมโยงคำ
  8. วากยสัมพันธ์ - หน้าที่ทางไวยากรณ์
  9. วิทยาหน่วยคำ - ส่วนต่าง ๆ ของคำ

อ้างอิง