ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วาฬมีฟัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มหมวดหมู่
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
==แหล่งข้อมูลอื่น==
==แหล่งข้อมูลอื่น==
{{wikispecies|Odontoceti}}
{{wikispecies|Odontoceti}}

[[หมวดหมู่:อันดับวาฬและโลมา]]
[[หมวดหมู่:วาฬมีฟัน]]


[[az:Dişli balinalar]]
[[az:Dişli balinalar]]
[[zh-min-nan:Khí-keng]]
[[be:Зубатыя кіты]]
[[be:Зубатыя кіты]]
[[be-x-old:Зубатыя кіты]]
[[be-x-old:Зубатыя кіты]]
บรรทัด 57: บรรทัด 59:
[[da:Tandhvaler]]
[[da:Tandhvaler]]
[[de:Zahnwale]]
[[de:Zahnwale]]
[[et:Hammasvaalalised]]
[[es:Odontoceti]]
[[en:Toothed whale]]
[[en:Toothed whale]]
[[eo:Dentocetacoj]]
[[eo:Dentocetacoj]]
[[es:Odontoceti]]
[[et:Hammasvaalalised]]
[[eu:Odontozeto]]
[[eu:Odontozeto]]
[[fa:آب‌بازسانان دندان‌دار]]
[[fa:آب‌بازسانان دندان‌دار]]
[[fi:Hammasvalaat]]
[[fr:Odontoceti]]
[[fr:Odontoceti]]
[[ga:Míol mór fiaclach]]
[[ga:Míol mór fiaclach]]
[[gl:Odontocetos]]
[[gl:Odontocetos]]
[[he:לווייתני שיניים]]
[[ko:이빨고래아목]]
[[hr:Kitovi zubani]]
[[hr:Kitovi zubani]]
[[hu:Fogascetek]]
[[is:Tannhvalir]]
[[is:Tannhvalir]]
[[it:Odontoceti]]
[[it:Odontoceti]]
[[ja:ハクジラ亜目]]
[[he:לווייתני שיניים]]
[[ka:კბილიანი ვეშაპები]]
[[ka:კბილიანი ვეშაპები]]
[[kk:Тісті киттер]]
[[kk:Тісті киттер]]
[[ko:이빨고래아목]]
[[lt:Dantytieji banginiai]]
[[lv:Zobvaļi]]
[[lv:Zobvaļi]]
[[lt:Dantytieji banginiai]]
[[hu:Fogascetek]]
[[mn:Шүдэт халим]]
[[mn:Шүдэт халим]]
[[nl:Tandwalvissen]]
[[nl:Tandwalvissen]]
[[ja:ハクジラ亜目]]
[[no:Tannhvaler]]
[[nn:Tannkvalar]]
[[nn:Tannkvalar]]
[[no:Tannhvaler]]
[[oc:Odontoceti]]
[[oc:Odontoceti]]
[[pl:Zębowce]]
[[pl:Zębowce]]
[[pt:Odontoceti]]
[[pt:Odontoceti]]
[[ru:Зубатые киты]]
[[ru:Зубатые киты]]
[[sh:Kitovi zubani]]
[[simple:Odontoceti]]
[[simple:Odontoceti]]
[[sk:Bezkosticovce]]
[[sk:Bezkosticovce]]
[[sh:Kitovi zubani]]
[[fi:Hammasvalaat]]
[[sv:Tandvalar]]
[[sv:Tandvalar]]

[[tr:Dişli balinalar]]
[[tr:Dişli balinalar]]
[[uk:Зубаті кити]]
[[uk:Зубаті кити]]
[[vi:Cá voi có răng]]
[[vi:Cá voi có răng]]
[[zh-yue:齒鯨亞目]]
[[zh:齿鲸]]
[[zh:齿鲸]]
[[zh-min-nan:Khí-keng]]
[[หมวดหมู่:อันดับวาฬและโลมา]]
[[zh-yue:齒鯨亞目]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:30, 4 กุมภาพันธ์ 2556

วาฬมีฟัน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีน – ปัจจุบัน
วาฬเพชฌฆาต (Orcinus orca) เป็นวาฬมีฟัน ที่อยู่ในวงศ์ Delphinidae หรือโลมา จัดเป็นโลมาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Cetacea
อันดับย่อย: Odontoceti
Flower, 1867[1]
วงศ์
ดูในเนื้อหา
ฟันของวาฬสเปิร์ม ซึ่งเป็นวาฬมีฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

วาฬมีฟัน (อังกฤษ: Toothed whale) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดบ้างบางส่วน เป็นอันดับย่อยของอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ใช้ชื่ออันดับย่อยว่า Odonceti (/โอ-ดอน-โต-เซ-เตส/)

วาฬมีฟันนั้นประกอบไปด้วยวาฬและโลมา เป็นสัตว์กินเนื้อ ด้วยการไล่ล่าสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น ปลา รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลบางจำพวก เช่น สิงโตทะเล หรือแมวน้ำ ได้ในบางชนิด ขณะที่บางชนิดกินสัตว์มีเปลือกแข็งอย่าง หอย หรือครัสเตเชียน ได้ด้วย มีขนาดลำตัวเล็กกว่าวาฬไม่มีฟันมาก

วาฬมีฟัน บางชนิดมีฟันเพียง 2-3 ซี่[2] แต่ส่วนมากจะมีฟันแข็งแรงเรียงเป็นแถวทั้งขากรรไกรบนและล่าง โดยวาฬมีฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ วาฬสเปิร์ม ที่มีความยาวได้ถึง 60 ฟุต มีรูปร่างคล้ายลูกอ๊อดขนาดใหญ่ มีหัวเป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่มากที่ภายในมีไขมันและน้ำมันอยู่เป็นจำนวนมาก วาฬสเปิร์มสามารถดำน้ำได้ลึกและกินหมึกเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างหมึกยักษ์ ขณะที่วาฬมีฟันที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ โลมาลาพลาตา อาศัยอยู่ตามแถบชายฝั่ง, ปากแม่น้ำ ของทวีปอเมริกาใต้ฝั่งแอตแลนติก ที่มีความยาวเต็มที่ไม่ถึง 2 เมตร นับเป็นสัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้วย[3]

วาฬเพชฌฆาต หรือวาฬออร์กา นับเป็นวาฬมีฟันที่มีลำตัวยาวประมาณ 30 ฟุต เป็นวาฬที่มีศักยภาพในการไล่ล่าสูง โดยจะทำการล่าเป็นฝูงและสามัคคีกัน ซึ่งวาฬเพชฌฆาตนอกจากจะล่าปลาขนาดเล็กกินเป็นอาหารด้วยแล้ว ยังอาจจะกินปลาขนาดใหญ่และเป็นอันตรายอย่าง ปลาฉลามขาว รวมถึงสัตว์เลือดอุ่นทะเล เช่น นกทะเล, นกเพนกวิน, แมวน้ำ, สิงโตทะเล หรือแม้แต่วาฬหรือโลมาด้วยกันเป็นอาหารได้ด้วย[3]

วาฬีมีฟันชนิดหนึ่ง คือ นาร์วาล เป็นวาฬที่อาศัยอยู่เป็นฝูงเฉพาะมหาสมุทรอาร์กติกในแถบขั้วโลกเหนือ มีลักษณะเฉพาะ คือ มีฟันที่แปลก วาฬนาร์วาลจะมีฟัน 2 ซี่เมื่อแรกเกิด แต่นาร์วาลตัวผู้เมื่อเจริญเติบโตขึ้นฟันข้างซ้ายจะยาวไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งกลายเป็นสิ่งที่แหลมยาวเหมือนงาช้างหรือเขาสัตว์ ลักษณะม้วนเป็นเกลียวที่ยาวได้ถึง 3 เมตร (10 ฟุต) เหมือนยูนิคอร์น ในเทพปกรณัมกรีก ซึ่งนาร์วาลจะใช้เขาแหลมนี้ในการเจาะเซาะน้ำแข็งในการว่ายน้ำ รวมถึุงใช้ต่อสู้ป้องกันตัวและแย่งชิงตัวเมียด้วย ซึ่งตัวเมียจะมีเขานี้เพียงสั้น ๆ[4] รวมถึงใช้ขุดหาอาหารตามพื้นน้ำเป็นอาหาร ส่วนใหญ่ได้แก่ ปลาลิ้นหมา และครัสเตเชียน และหอยต่าง ๆ[5]

มนุษย์จะใช้ประโยชน์จากวาฬมีฟันด้วยการใช้ฟันและเขี้ยวแกะสลักมาแต่โบราณ นับเป็นของหายาก ล้ำค่า ขณะที่เขาของนาร์วาล ในอดีตมีความเชื่อว่าเป็นเขาของยูนิคอร์นจริง ๆ ถือเป็นของล้ำค่าและเป็นเครื่องประดับที่มีราคา[6]

การจำแนก

แบ่งออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ทั้งหมด 8 วงศ์ แยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ 73 ชนิด[1] (บางวงศ์ได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์)

  • Delphinidae Gray, 1821 (โลมา, วาฬเพชฌฆาต)
  • Hyperoodontidae Gray, 1846 (วาฬจะงอย)
  • Iniidae Gray, 1846 (โลมาแม่น้ำอเมซอน)
  • Kogiidae Gill, 1871 (วาฬสเปิร์มเล็ก)
  • Monodontidae Gray, 1821 (วาฬเบลูกา, นาร์วาล)
  • Phocoenidae Gray, 1825 (โลมาหัวบาตรหลังเรียบ, พอร์พอยส์)
  • Physeteridae Gray, 1821 (วาฬสเปิร์ม)
  • Platanistidae Gray, 1846 (โลมาแม่น้ำอินเดีย)

สูญพันธุ์ไปแล้ว

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 จาก itis.gov
  2. วาฬและโลมา หน้า 1
  3. 3.0 3.1 วาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518)
  4. วาฬและโลมา หน้า 7
  5. K.L. Laidre , M.P. Heide-Jørgensen , O.A. Jørgensen , and M.A. Treble (2004). "Deep-ocean predation by a high Arctic cetacean". ICES J. Mar. Sci. 61 (1): 430–440. doi:10.1016/j.icesjms.2004.02.002.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. ตัวเป็นๆ ยูนิคอร์นแห่งท้องทะเล
  7. Grateloup, Description d'un fragment de mâchoire fossile, d'un genre nouveau de reptile (Saurien), de taille gigantesque, voisin de l'Iguanodon..., Bordeaux 1840.

แหล่งข้อมูลอื่น