ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลากระเบน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มหมวดหมู่
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
{{wikispecies|Rajomorphii}}
{{wikispecies|Rajomorphii}}
*[http://tvshow.tlcthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2-2-%E0%B8%98-%E0%B8%84-55/ รายการกบนอกกะลา ตอน ''ปลากระเบน วิหคแห่งท้องน้ำ'']
*[http://tvshow.tlcthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2-2-%E0%B8%98-%E0%B8%84-55/ รายการกบนอกกะลา ตอน ''ปลากระเบน วิหคแห่งท้องน้ำ'']

[[หมวดหมู่:ปลาน้ำจืด|กระเบน]]
[[หมวดหมู่:ปลาน้ำจืด|กระเบน]]
[[หมวดหมู่:ปลาน้ำเค็ม|กระเบน]]
[[หมวดหมู่:ปลาน้ำเค็ม|กระเบน]]
[[หมวดหมู่:ปลากระดูกอ่อน]]
[[หมวดหมู่:ปลากระดูกอ่อน]]
[[หมวดหมู่:ปลากระเบน]]


[[ar:شفنين]]
[[ar:شفنين]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:26, 4 กุมภาพันธ์ 2556

ปลากระเบน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไทรแอสซิก-ปัจจุบัน[1]
ภาพวาดของปลาในอันดับใหญ่ปลากระเบนหลายชนิด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับใหญ่: Batoidea
อันดับ
ชื่อพ้อง
  • Rajomorphii

ปลากระเบน (อังกฤษ: Stingray, Ray) คือ ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อยอีลาสโมแบรนชิไอ (Elasmobranchii) ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batoidea หรือ Rajomorphii[2]

มีประมาณ 400 ชนิด[2] พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เหมือนปลากระดูกอ่อนหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น หากินบริเวณพื้นน้ำ ในปากไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลาม ดังนั้นการกินอาหารจึงค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเคี้ยวอย่างช้า ๆ ซึ่งอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอย, กุ้ง, ปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำ เป็นส่วนใหญ่[3]

แบ่งออกได้เป็น 4 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งก็แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์, หลายสกุล ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น วงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงแหลมคม ที่มีพิษบริเวณโคนหาง 1-2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้, วงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีส่วนหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของนก ปลายแหลม ใช้สำหรับว่ายน้ำในลักษณะโบกโบยเหมือนนกบินในทะเล ส่วนปลากระเบนไฟฟ้า พบเฉพาะในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากปลากระเบนจำพวกอื่น ๆ ที่โคนหางไม่มีเงี่ยง และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย [1]

ปลากระเบน เป็นปลาที่มนุษย์ผูกพันมาตั้งแต่้อดีต ด้วยการใช้เนื้อในการรับประทาน สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ผัดเ็ผ็ด, ผัดขี้เมา หรือผัดฉ่า เช่นเดียวกับปลาฉลามได้ ในปลากระเบนบางวงศ์ เช่น วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีลำตัวกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี จะงอยปากไม่แหลม มีส่วนหางที่สั้น มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในแม่น้ำของทวีปอเมริกาใต้ มีสีสันและลวดลายตามลำตัวสวยงาม และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ง่าย จึงนิยมเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม

กระเป๋าสตางค์หนังปลากระเบน

นอกจากนี้แล้ว ปลากระเบนส่วนมากจะมีเกล็ดเป็นตุ่มแข็งบริเวณกลางหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ผลิตเป็นเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า ได้ นอกจากนี้แล้วยังนำไปทำเป็นเครื่องประดับเช่น แหวน เป็นต้น[4]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Stevens, J. & Last, P.R. (1998). Paxton, J.R. & Eschmeyer, W.N.. ed. Encyclopedia of Fishes. San Diego: Academic Press. p. 60. ISBN 0-12-547665-5.
  2. 2.0 2.1 Ray (fish) (อังกฤษ)
  3. ปลาฉนากแม่น้ำตัวสุดท้ายของไทย โดย กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์
  4. ปลากระเบน วิหคแห่งท้องน้ำ, กบนอกกะลา. สารคดี ทางช่อง 9: อาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม 2555

แหล่งข้อมูลอื่น