ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำวิเศษณ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DragonBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต: แก้ไขจาก ms:Kata sifat ไปเป็น ms:Kata adjektif
บรรทัด 81: บรรทัด 81:
[[mk:Придавка]]
[[mk:Придавка]]
[[ml:നാമവിശേഷണം]]
[[ml:നാമവിശേഷണം]]
[[ms:Kata sifat]]
[[ms:Kata adjektif]]
[[nds:Adjektiv]]
[[nds:Adjektiv]]
[[nl:Bijvoeglijk naamwoord]]
[[nl:Bijvoeglijk naamwoord]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:10, 14 มกราคม 2556

คำวิเศษณ์ คือคำที่ทำหน้าที่ประกอบคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น

ในภาษาไทย คำวิเศษณ์สามารถใช้ขยายได้ทั้งนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ ในขณะที่ในภาษาอังกฤษจะแยกคำวิเศษณ์ออกเป็นสองประเภทคือ คำคุณศัพท์ (adjective) ใช้ขยายได้เฉพาะคำนามและสรรพนามเท่านั้น และคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ใช้ขยายกริยา คุณศัพท์ และกริยาวิเศษณ์ด้วยกัน

ชนิด

คำวิเศษณ์ในภาษาไทยมี 10 ชนิดดังนี้ เช่น

  1. ลักษณะวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆ เช่น บอกชนิด สี ขนาด สัณฐาน กลิ่น รส บอกความรู้สึก เช่น ดี ชั่ว ใหญ่ ขาว ร้อน เย็น หอม หวาน กลม แบน เป็นต้น เช่น น้ำร้อนอยูในกระติกสีขาว หรือ จานใบใหญ่ราคาแพงกว่าจานใบเล็ก
  2. กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น อดีต อนาคต เป็นต้น เช่น พรุ่งนี้เป็นวันเกิดของคุณแม่ หรือ เขามาโรงเรียนสาย
  3. สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกสถานที่ เช่น ใกล้ ไกล บน ล่าง เหนือ ใต้ ซ้าย ขวา เป็นต้น เช่น ชั้นนั่งเรียนอยู่แถวหน้า
  4. ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกจำนวน หรือปริมาณ เช่น หนึ่ง สอง สาม มาก น้อย บ่อย หลาย บรรดา ต่าง บ้าง เป็นต้น เช่น เขามีเงินห้าบาท หรือ เขามาหาฉันบ่อยๆ
  5. ประติเษธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ เช่น ไม่ ไม่ใช่ มิ มิใช่ ไม่ได้ หามิได้ เป็นต้น เช่น เขามิได้มาคนเดียว หรือ ของนี้ไม่ใช่ของฉัน ฉันจึงรับไว้ไม่ได้
  6. ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ เช่น ครับ ขอรับ ค่ะ เป็นต้น เช่น คุณครับมีคนมาหาขอรับ หรือ คุณครูขา สวัสดีค่ะ
  7. นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะ เช่น นี้ นั่น โน่น ทั้งนี้ ทั้งนั้น แน่นอน เป็นต้น เช่น บ้านนั้นไม่มีใคราอยู่ หรือ เขาเป็นคนขยันแน่ๆ
  8. อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ เช่น ใด อื่น ไหน อะไร ใคร ฉันใด เป็นต้น เช่น เธอจะมาเวลาใดก็ได้ หรือ คุณจะนั่งเก้าอื้ตัวไหนก็ได้
  9. ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์แสดงคำถาม หรือแสดงความสงสัย เช่น ใด ไร ไหน อะไร สิ่งใด ทำไม เป็นต้น เช่น เสื้อตัวนี้ราคาเท่าไร หรือ เขาจะมาเมื่อไร
  10. ประพันธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมคำหรือประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน เช่นคำว่า ที่ ซึ่ง อัน อย่าง ที่ว่า เพื่อว่า ให้ เป็นต้น เช่น เขาทำงานหนักเพื่อว่าเขาจะได้มีเงินมาก หรือ เขาทำความดี อัน หาที่สุดมิได้

ข้อควรระวัง : 1. สถานวิเศษณ์จะกลายเป็นคำบุพบททันที เมื่อมีกรรมต่อหลัง เช่น บ้านของฉันอยู่ไกลจากตลาด 2. นิยมวิเศษณ์และ อนิยมวิเศษณ์ และ ปฤจฉาวิเศษณ์ จะเป็นวิเศษณ์ต่อเมื่อตามหลัง คำนามเท่านั้น

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น