ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา)"

พิกัด: 12°40′47″N 101°00′18″E / 12.67972°N 101.00500°E / 12.67972; 101.00500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SantoshBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: id:Bandar Udara Internasional U-Tapao
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
| IATA = UTP
| IATA = UTP
| ICAO = VTBU<BR>
| ICAO = VTBU<BR>
[[Image:Dotmap-UTP-RTNAF.jpg|200px]]
[[ไฟล์:Dotmap-UTP-RTNAF.jpg|200px]]
| type = สาธารณะ/ทหาร
| type = สาธารณะ/ทหาร
| owner =
| owner =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:11, 11 มกราคม 2556

12°40′47″N 101°00′18″E / 12.67972°N 101.00500°E / 12.67972; 101.00500

ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา-พัทยา
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ/ทหาร
ผู้ดำเนินงานรัฐบาล
พื้นที่บริการจังหวัดระยอง ประเทศไทย
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล13 เมตร / 42 ฟุต
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
18/36 3,505 11,500 ยางมะตอย
แหล่งข้อมูล: DAFIF[1][2]

ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาพัทยา หรือที่นิยมเรียกและรู้จักกันดีในชื่อ สนามบินอู่ตะเภา (อังกฤษ: U-Tapao Pattaya International Airport) เป็นสนามบินตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพมหานคร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 18 เมตร ห่างจากจังหวัดประมาณ 30 กิโลเมตร และอยู่ห่าง จากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 190 กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ กองการบินทหารเรือ, กองเรือยุทธการ และ กองการท่าอากาศยานอู่ตะเภา

ประวัติ

ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นท่าอากาศยานภายใต้การดูแลของกองทัพเรือไทย ริเริ่มโครงการในปี พ.ศ. 2504 สืบเนื่องจากกองทัพเรือต้องการก่อสร้างสนามบินทหารเรือ จึงดำเนินการสำรวจพื้นที่บริเวณจังหวัดชลบุรี และ จังหวัดระยอง ณ เวลานั้น กระทรวงกลาโหมได้อนุมัติให้ฝูงบินทหารเรือสังกัดกองเรือยุทธการ โดยใช้สนามบินกองทัพอากาศดอนเมืองเป็นสนามบินชั่วคราว

ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุดอนุมัติสร้างสนามบินแห่งใหม่ของกองทัพเรือบริเวณหมู่บ้านอู่ตะเภา จังหวัดระยอง โดยเป็นทางวิ่งลาดยางความยาว 1,200 เมตร เมื่อการก่อสร้างสำเร็จเรียบร้อย ในขณะนั้น ได้เกิดการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ และประเทศลาว รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเห็นว่าต้องสร้างสนามบินขนาดใหญ่ในประเทศไทยเพิ่มเติม

ในปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลไทยและสหรัฐอเมริกาได้มีโครงการร่วมกัน โดยคณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาในปี พ.ศ. 2508 เพื่อเป็นหน่วยในการลำเลียงหน่วยรบไปยังจุดยุทธศาสตร์ต่างๆภายในประเทศ การก่อสร้างแล้วเสร็จในระยะเวลาประมาณ 1 ปี จอมพลถนอม กิตติขจร ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในเวลานั้น มีคำสั่งให้สนามบินแห่งนี้ให้กองทัพเรือใช้ในราชการ และดูแลรักษาสนามบิน โดยใช้ชื่อว่า "สนามบินอู่ตะเภา"

ในปี พ.ศ. 2519 กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทย รวมทั้งสนามบินอู่ตะเภาด้วย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ และเป็นสนามบินสำรองของท่าอากาศยานดอนเมือง

หลังจากการปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาโดยกรมการบินพาณิชย์ คณะรัฐมนตรีเห็นว่าควรใช้ประโยชน์จากสนามบินอู่ตะเภามากขึ้น จึงพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเป็นท่าอากาศยานสากล โดยใช้ชื่อว่า "สนามบินนานาชาติระยอง-อู่ตะเภา" ภายใต้สังกัดของกองทัพเรือ โดยให้พัฒนาเป็นสนามบินพาณิชย์ร่วมกับกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม

การบินไทยได้ตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยานลำตัวกว้างแห่งที่สองขึ้นที่สนามบินอู่ตะเภา โดยศูนย์ซ่อมนี้สามารถรองรับเครื่องบิน ตระกูล Boeing 737,747 และ 777 และเครื่องบินตระกูล Airbus A300 A330 A340

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 มีการเปิดให้ใช้สนามบินอู่ตะเภา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ในการระบายผู้เดินทางเข้า-ออกประเทศไทย แทนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองที่ถูกคำสั่งปิดเนื่องจากมีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

รายชื่อสายการบิน

การคมนาคม

ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 2 ชั่วโมง โดยใช้เส้นทาง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หรือ ถนนบางนา-ตราด

อุปสรรคและการวิพากษ์วิจารณ์

สนามบินอู่ตะเภา สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่เช่น Boeing 747 หรือ A380 ได้ แต่ที่ตั้งอยู่ใกล้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จึงทำให้ไม่มีเที่ยวบินประจำมากนัก เที่ยวบินระหว่างประเทศที่มาใช้บริการเป็นแบบเช่าเหมาลำส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจากประเทศรัสเซีย

สนามบินอู่ตะเภาได้แสดงศักยภาพอีกครั้งเมื่อเหตุการณ์บุกยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2551 แต่เนื่องด้วยมีอาคารผู้โดยสารขนาดเล็ก และ อุปกรณ์ภาคพื้นไม่เพียงพอ ทำให้มีสภาพแออัดในช่วงเวลาดังกล่าว

นอกจากนี้สนามบินอู่ตะเภา ยังถูกใช้งานในภารกิจเที่ยวบินทางทหาร และ เที่ยวบินขนส่งเพื่อมนุษยธรรม ในเหตุการณ์ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

โครงการในอนาคต

ภายหลังเหตุการณ์ปิดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง รัฐบาลได้เห็นความจำเป็นในการเพิ่มศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารของสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา-พัทยา ให้มากขึ้น จึงได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ โดยใช้รูปแบบใกล้เคียงกับท่าอากาศยานพิษณุโลก เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังจังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด อาคารเหล่านี้จะเริ่มก่อสร้างปี พ.ศ. 2553 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2555

อ้างอิง

  1. Airport information for VTBU at World Aero Data. Data current as of October 2006.. Source: DAFIF.
  2. Airport information for UTP at Great Circle Mapper. Source: DAFIF (effective Oct. 2006).