ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหวียตมิญ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ลบหมวดหมู่:ขบวนการกู้ชาติระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว; เพิ่ม[[หมวดหมู่:ขบวนการขัดขื...
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ลบหมวดหมู่:ขบวนการขัดขืนสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว; เพิ่ม[[หมวดหมู่:ขบวนการต่อต้านสงคราม...
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์เวียดนาม]]
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์เวียดนาม]]
[[หมวดหมู่:สงครามเวียดนาม|ว]]
[[หมวดหมู่:สงครามเวียดนาม|ว]]
[[หมวดหมู่:ขบวนการขัดขืนสงครามโลกครั้งที่สอง]]
[[หมวดหมู่:ขบวนการต่อต้านสงครามโลกครั้งที่สอง]]
[[หมวดหมู่:ขบวนการต่อต้านฝรั่งเศส]]
[[หมวดหมู่:ขบวนการต่อต้านฝรั่งเศส]]
[[หมวดหมู่:ขบวนการเอกราช]]
[[หมวดหมู่:ขบวนการเอกราช]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:36, 16 ธันวาคม 2555

ธงเวียดมินห์

เวียดมินห์ (อังกฤษ: Viet Minh) หรือ กองทัพประชาชนเวียดนาม หรือบางแหล่งก็เรียก สันนิบาตเพื่อเอกราชเวียดนาม คือ ขบวนการทางการเมือง โดยมีจุดประสงค์เพื่อปลดปล่อยเวียดนามออกจากการปกครองของฝรั่งเศส จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2484 โดยมี โฮจิมินห์ เป็นผู้นำและนายพลโหว เหวียน ย้าบ เป็นผู้บัญชาการกองทัพคนแรก

ประวัติ

สงครามมหาเอเชียบูรพา

พ.ศ. 2485 เมื่อญี่ปุ่นมีเข้ายึดครองประเทศต่างๆ เวียดนามได้แยกตัวเป็นอิสระ ขบวนการเวียดมินห์ก็ได้ร่วมมือฝ่ายสัมพันธมิตร ทำการต่อต้านญี่ปุ่น เมี่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม โฮจิมินห์จึงจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2488 และหลังจากที่จักรพรรดิเบาได๋ ได้สละราชสมบัติ โฮจิมินห์ก็ตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารประเทศ และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ ฝรั่งเศสได้กลับไปมีอิทธิพลเหนือเวียดนามอีก โดยมีอังกฤษให้ความช่วยเหลือ ขบวนการเวียดมินห์ได้พยายามต่อสู้ เพื่อขับไล่ฝรั่งเศสอยู่อีก 9 ปี

ยุทธการเดียนเบียนฟู

7 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 ฝ่ายเวียดมินห์ได้รับชัยชนะเหนือฝรั่งเศสในยุทธการเดียนเบียนฟู ฝรั่งเศสกับเวียดนามก็ได้ทำสัญญาสงบศึกที่กรุงเจนีวา เรียกว่า อนุสัญญาเจนีวา มีสาระสำคัญคือ ให้แบ่งเวียดนามออกเป็นสองส่วน คือ เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ โดยใช้เส้นรุ้งที่ 17 เหนือ ซึ่งผ่านเมืองกวางตรี ตามแนวแม่น้ำเบนไฮ เป็นเส้นแบ่งเขตแดน และให้เวียดนามเหนือ เวียดนามใต้ ลาว และกัมพูชา ซึ่งเคยรวมเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 แยกออกเป็นรัฐอิสระ พ้นจากการปกครองของฝรั่งเศส พื้นที่บริเวณเส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ มีเขตแดนปลอดทหารด้านละไม่เกิน 5 กิโลเมตร

อ้างอิง