ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาฉลามวาฬ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต เพิ่ม: hr:Kitopsina
Gerakibot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: cy:Morgi morfilaidd
บรรทัด 92: บรรทัด 92:
[[ca:Tauró balena]]
[[ca:Tauró balena]]
[[cs:Žralok obrovský]]
[[cs:Žralok obrovský]]
[[cy:Morgi morfilaidd]]
[[da:Hvalhaj]]
[[da:Hvalhaj]]
[[de:Walhai]]
[[de:Walhai]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:04, 3 ธันวาคม 2555

ฉลามวาฬ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 60–0Ma
ปลาฉลามวาฬจากไต้หวันในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจีย
เปรียบเทียบขนาดกับมนุษย์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับ: Orectolobiformes
วงศ์: Rhincodontidae
(Müller and Henle, 1839)
สกุล: Rhincodon
Smith, 1829
สปีชีส์: R.  typus
ชื่อทวินาม
Rhincodon typus
(Smith, 1828)
พิสัยของปลาฉลามวาฬ

ปลาฉลามวาฬ (อังกฤษ: Whale shark) เป็นปลาฉลามเคลื่อนที่ช้าที่กินอาหารแบบกรองกิน เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุด ยาวถึง 12.65 ม. หนัก 21.5 ตัน แต่มีรายงานที่ไม่ได้รับยืนยันว่ายังมีปลาฉลามวาฬที่ใหญ่กว่านี้ เป็นปลาชนิดเดียวในสกุล Rhincodon และวงศ์ Rhincodontidae (ก่อนปี ค.ศ. 1984 ถูกเรียกว่า Rhinodontes) ซึ่งเป็นสมาชิกในชั้นย่อย Elasmobranchii ในชั้นปลากระดูกอ่อน ปลาฉลามวาฬพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีช่วงอายุประมาณ 70 ปี[2] ปลาฉลามชนิดนี้กำเนิดเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว อาหารหลักของปลาฉลามวาฬคือแพลงก์ตอน ถึงแม้ว่ารายการแพลนเน็ตเอิร์ธของบีบีซีจะถ่ายภาพยนตร์ขณะที่ปลาฉลามวาฬกำลังกินฝูงปลาขนาดเล็กไว้ได้[3]

ศัพทมูลวิทยา

ปลาฉลามวาฬมีชื่อเสียงในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1828 ตามตัวอย่างยาว 4.6 ม.ที่จับได้ด้วยฉมวกในอ่าวเทเบิล ประเทศแอฟริกาใต้ หมอทหารที่ชื่อ แอนดริว สมิท (Andrew Smith) ได้ร่วมกับค่ายทหารของอังกฤษในเคปทาวน์บรรยายและจำแนกปลาฉลามวาฬในปีถัดมา[4] เขาตีพิมพ์ลักษณะรายละเอียดมากขึ้นในปี ค.ศ. 1849 ชื่อ "ฉลามวาฬ" มากจากลักษณะของปลาที่มีขนาดใหญ่เหมือนวาฬและยังกินอาหารแบบกรอกกินเหมือนกันอีกด้วย

ในความเชื่อในศาสนาของชาวเวียดนาม นับถือปลาฉลามวาฬเป็นเทพเจ้า โดยเรียกว่า "Ca Ong" ซึ่งแปลว่า "ท่านปลา"

ในประเทศเม็กซิโกและละตินอเมริกาส่วนมาก ปลาฉลามวาฬถูกรู้จักกันในชื่อ "pez dama" หรือ "domino" มาจากจุดที่เด่นชัดบนตัวมัน ในประเทศเบลีซ รู้จักกันในนาม "Sapodilla Tom" เพราะมักจะพบปลาฉลามวาฬอย่างสม่ำเสมอ ใกล้กับ Sapodilla Cayes ในกำแพงโขดหินแห่งเบลีซ (Belize Barrier Reef)

ในทวีปแอฟริกา ชื่อของปลาฉลามวาฬถูกเรียกกันหลากหลาย: ประเทศเคนยาเรียกว่า "papa shillingi" มาจากตำนานที่ว่าเทพเจ้าได้ขว้างเหรียญเงินลงไปบนตัวปลาฉลามซึ่งได้กลายเป็นจุดของมันในปัจจุบัน ประเทศมาดากัสการ์เรียกว่า "marokintana" หมายถึง "ดาวหลายดวง"

ชาวชวาก็อ้างอิงถึงดวงดาวด้วยเช่นกัน จึงเรียกปลาฉลามวาฬว่า "geger lintang" แปลว่า "มีดาวอยู่บนหลัง" ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า "butanding"

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

ปลาฉลามวาฬอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตามผิวทะเล นอกจากนี้ในฤดูที่มีปรากฏการณ์การรวมตัวกันของแหล่งอาหารใกล้แนวชายฝั่งสามารถพบฉลามวาฬได้เช่นกัน เช่นใน โกลด์เดน สพิต (Gladden Spit) ในประเทศเบลีซ; แนวโขดหินนิงกาโล (Ningaloo Reef) ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย; อูตีลา (Útila) ใน ประเทศฮอนดูรัส; โดนโซล (Donsol), พาซาจาโอ (Pasacao) และ บาตันกัส (Batangas) ใน ประเทศฟิลิปปินส์; ชายฝั่งอิสลา มูเคร์เรส (Isla Mujeres) และอิสลา ออโบซ (Isla Holbox) ในยูคตัน (Yucatan) ประเทศเม็กซิโก; อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอนในประเทศอินโดนีเซีย; โนซี บี (Nosy Be) ในประเทศมาดากัสการ์ รอบแนวโขดหินโตโฟ (Tofo) ใกล้กับอินอัมบันเน (Inhambane)ในประเทศโมซัมบิก, และเกาะมาเฟีย (Mafia), เพมบา (Pemba) และ แซนซิบาร์ ในประเทศแทนซาเนีย ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วจะพบอยู่ห่างจากชายฝั่ง แต่ก็มีการพบปลาฉลามวาฬใกล้แผ่นดินเช่นกัน อย่างในทะเลสาบหรือเกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากหินปะการัง และใกล้กับปากแม่น้ำ โดยมีพิสัยจำกัดอยู่ในเส้นรุ้งประมาณ ±30° ความลึกไม่เกิน 700 ม. และท่องเที่ยวเร่ร่อนไปทั่ว[2]

ลักษณะ

ลักษณะของฉลามวาฬที่แตกต่างจากฉลามที่เรารู้จักกันคือ หัวที่ใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และปากที่อยู่ด้านหน้าแทนที่จะอยู่ด้านล่าง ฉลามวาฬ เกือบทั้งหมดที่พบมีขนาดใหญ่กว่า 3.5 เมตร ใช้เหงือกในการหายใจ มีช่องเหงือก 5 ช่อง มีครีบอก 2 อัน ครีบหาง 2 อัน และ ครีบก้น(หาง) 1 อัน หางของฉลามวาฬ อยู่ในแนวตั้งฉาก และโบกไปมาในแนวซ้าย-ขวา แตกต่างจากสัตว์เลือดอุ่นในทะเลที่หางอยู่ในแนวขนานและหายใจด้วยปอด อาทิ วาฬ โลมา พะยูน เป็นต้น

อาหาร

กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แต่ลักษณะการกินอาหารไม่ใช่ปัจจัยที่นักวิทยาศาสตร์ใช้แบ่งฉลามวาฬออกจากฉลามชนิดอื่น ๆ เนื่องจากยังมีฉลามอีก 2 ชนิดที่ กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารแต่อยู่คนละอันดับกับฉลามวาฬ

อ้างอิง

  1. Norman, Brad (2000). Rhincodon typus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes justification for why this species is vulnerable.
  2. 2.0 2.1 Ed. Ranier Froese and Daniel Pauly. "Rhincodon typus". FishBase. สืบค้นเมื่อ 17 September 2006. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dateformat= ถูกละเว้น (help)
  3. Jurassic Shark (2000) documentary by Jacinth O'Donnell; broadcast on Discovery Channel, August 5, 2006
  4. Martin, R. Aidan. "Rhincodon or Rhiniodon? A Whale Shark by any Other Name". ReefQuest Centre for Shark Research. สืบค้นเมื่อ 2009-09-12.
  • J. G. Colman (1997). A review of the biology and ecology of the whale shark. Journal of Fish Biology 51 (6), 1219–1234.
  • FAO web page on Whale shark

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link GA