ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาสนวิหารอัสสัมชัญ"

พิกัด: 13°43′23″N 100°30′54″E / 13.72306°N 100.51500°E / 13.72306; 100.51500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
Robot: Automated text replacement (-\{\{coor title dms\|(.*?)\}\} +{{Coord|\1|display=title}})
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}


{{coor title dms|13|43|23|N|100|30|54|E|type:landmark}}
{{Coord|13|43|23|N|100|30|54|E|type:landmark|display=title}}
[[หมวดหมู่:โบสถ์คาทอลิกในประเทศไทย|อัสสัมชัญ]]
[[หมวดหมู่:โบสถ์คาทอลิกในประเทศไทย|อัสสัมชัญ]]
[[หมวดหมู่:เขตบางรัก]]
[[หมวดหมู่:เขตบางรัก]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:51, 1 ธันวาคม 2555

อาสนวิหารอัสสัมชัญ

อาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ หรือโบสถ์อัสสัมชัญ เป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ มีอายุเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี สร้างโดยบาทหลวงปาสกัลซึ่งเป็นชาวไทย-โปรตุเกส โบสถ์หลังปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2452 เพื่อรองรับการขยายตัวของคริสต์ศาสนิกชนที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยมีสถาปนิกชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง วัสดุที่ใช้สร้างเช่นหินอ่อนและกระจกสีนั้นก็สั่งมาจากประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี

เป็นลักษณะศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี ความสูงตั้งแต่ยอดหอคอยจดพื้น 32 เมตรด้วยกัน ส่วนด้านในผนังและเพดานก็งดงามด้วยจิตรกรรมแบบเฟรสโกและประติมากรรมปูนปั้นที่แสดงถึงเรื่องราวความเชื่อของทางศาสนาคริสต์

ประวัติ

โบสถ์อัสสัมชัญถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในราวปี พ.ศ. 2352 โดยบาทหลวงปาสกัล[1]

โบสถ์อัสสัมชัญสร้างขึ้นเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่การถูกรับขึ้นสวรรค์ของพรแม่มารีย์ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2365[2] และได้รับสถาปนาเป็นอาสนวิหารอัสสัมชัญ ในปีถัดมา ตั้งแต่นั้นมา อัสสัมชัญได้เป็นที่พำนักของบรรดามุขนายกผู้เป็นประมุขมิสซังสยามในสมัยนั้น ทั่วบริเวณดังกล่าวเป็นชานเมืองกรุงเทพฯ และครอบครัวคริสต์ศาสนิกชนซึ่งค่อยๆโยกย้ายมาตั้ง บ้านเรือนอยู่ข้างๆ โบสถ์ จนถึงปี พ.ศ. 2407 เมื่อเมืองได้ขยายไปจนถึงบริเวณดังกล่าวและจำนวนคริสตังได้เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องตั้งบริเวณนั้นให้เป็นคริสต์ศาสนิกชน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2407 พระคุณเจ้าดูว์ปงจึงตั้งอัสสัมชัญเป็นกลุ่ม คริสตชนอย่างเป็นทางการ คุณพ่อฟรังซัว ยอเซฟ ชมิตต์เป็นอธิการโบสถ์องค์แรก

ในต่อมาปี พ.ศ. 2485 ได้เกิดสงคราม เครื่องบินทิ้งระเบิดในบริเวณโบสถ์อัสสัมชัญ ทั้งระเบิดทำลายและระเบิดเชื้อเพลิง อาคารต่างๆ รอบโบสถ์ได้รับความเสียหายอย่างมาก หมู่บ้านคริสตังก็ถูกเผาทำลายหมด อาสนวิหารด้านซ้ายได้ถูกระเบิดทำให้ได้รับความเสียหายมาก ทั้งกำแพง ประตูหน้าต่าง ประจก คุณพ่อแปรูดงต้องซ่อมแซมหมดทุกอย่าง

ในปี พ.ศ. 2527 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้เสด็จเยือนประเทศไทย พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้ถือเป็นเกียรติเชิญสมเด็จพระสันตะปาปาเสด็จมาเยี่ยมเยือนอาสนวิหารอัสสัมชัญ และอวยพระพรแก่บรรดาบาทหลวง นักบวชชายหญิงทุกคณะ พร้อมด้วยบรรดาคริสตังที่มาเฝ้ารับเสด็จอย่างเนืองแน่น ระหว่างปี พ.ศ. 2526-2532 คูณพ่อชุมภา คูรัตน์ เห็นว่าภายในอาสนวิหารอัสสัมชัญจำเป็นต้องได้รับการตกแต่งเสียใหม่ จึงได้ทำการตกแต่งและซ่อมแซมอาสนวิหารในเวลาเดียวกัน พร้อมทั้งได้จัดทำพระแท่นบูชาและพื้นที่บริเวณพระแท่นเสียใหม่ และได้รับการยกย่องให้เป็นอาสนวิหารที่มีความงดงามที่สุดในประเทศไทย

อ้างอิง

  1. หนุ่มลูกทุ่ง, สุขสันต์วันเกิด ครบ 100 ปี "บางรัก" โดย ผู้จัดการออนไลน์ 12 มิถุนายน 2550 16:50 น.
  2. ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ และคณะ, อาสนวิหารอัสสัมชัญ : พันเรื่องถิ่นแผ่นดินไทย คมชัดลึก

13°43′23″N 100°30′54″E / 13.72306°N 100.51500°E / 13.72306; 100.51500