ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเข้าถึงโดยสุ่ม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Makecat-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: ar, ca, de, es, fr, he, hu, it, ja, pt, ru, sr, ur, zh
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
[[หมวดหมู่:ข้อมูลคอมพิวเตอร์]]
[[หมวดหมู่:ข้อมูลคอมพิวเตอร์]]


[[ar:وصول عشوائي]]
[[en:Random_access]]
[[ca:Accés aleatori]]
[[de:Wahlfreier Zugriff]]
[[en:Random access]]
[[es:Acceso aleatorio]]
[[fr:Accès direct]]
[[he:גישה ישירה]]
[[hu:Véletlen elérés]]
[[it:Accesso casuale]]
[[ja:ランダムアクセス]]
[[pt:Acesso aleatório]]
[[ru:Произвольный доступ]]
[[sr:Насумичан приступ подацима]]
[[ur:تصادفی رسائی]]
[[zh:隨機存取]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:37, 30 พฤศจิกายน 2555

การเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม เปรียบเทียบกับการเข้าถึงข้อมูลเชิงเส้น

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม (อังกฤษ: random access) หรือ การเข้าถึงข้อมูลโดยตรง (direct access) คือความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลในลำดับภายในเวลาที่เท่าๆกันสำหรับข้อมูลตัวใด ๆ ก็ตาม เวลาในการเข้าถึงข้อมูลนี้ไม่ขึ้นกับกับขนาดของลำดับด้วย ตัวอย่างของการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มคือการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลตำแหน่งใดๆได้ทันที

การเข้าถึงข้อมูลที่ตรงกันข้ามกับการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มคือการเข้าถึงข้อมูลเชิงเส้น ซึ่งข้อมูลที่อยู่ไกลกว่าจะเสียเวลาในการเข้าถึงข้อมูลมากกว่า[1] ตัวอย่างเช่นการอ่านข้อมูลจากตลับเทป ซึ่งต้องมีกรอเทปไปยังตำแหน่งที่ต้องการอ่านข้อมูล

สำหรับโครงสร้างข้อมูล ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มคือความสามารถในการเข้าถึงรายการได้ภายในเวลาคงที่ หรือ ซึ่งโครงสร้างข้อมูลที่เรียบง่ายที่สุดที่มีความสามารถนี้ก็คือแถวลำดับ โครงสร้างข้อมูลที่เหลือที่มีความสามารถนี้ โดยมากแล้วก็จะมาจากการดัดแปลงแถวลำดับ เช่น แถวลำดับพลวัต อย่างไรก็ตาม การมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มก็ความหมายอีกนัยหนึ่งว่าที่อยู่ของหน่วยความจำต้องเรียงกันแบบมีแบบแผน ดังนั้นจึงทำให้โครงสร้างข้อมูลทั้งหลายที่มีความสามารถนี้ไม่สามารถเพิ่มข้อมูลกลางรายการได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางโครงสร้างข้อมูลเช่นรายการโยงแลกความสามารถในการเข้าถึงแบบสุ่มด้วยความสามารถในการเพิ่มและลบข้อมูลกลางรายการแทน

ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มมีความสำคัญมาก มีขั้นตอนวิธีมากมายที่ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างข้อมูลที่มีการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม เช่น การค้นหาทวิภาค ขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับ ตะแกรงเอราทอสเทนีส เป็นต้น

อ้างอิง