ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิชา การพิศิษฎ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อน
Mynameisaun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ลบ}}

'''วิชา การพิศิษฎ์''' เป็นบุคคลที่ควรแก่การยกย่อง ควรแก่ผู้เป็นครูและบุคคลทั่วไปประพฤติตนตามแบบอย่าง ตลอดชีวิตการเป็นครู ของท่านล้วนทำสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางแก่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและแก่ประเทศชาติ
'''วิชา การพิศิษฎ์''' เป็นบุคคลที่ควรแก่การยกย่อง ควรแก่ผู้เป็นครูและบุคคลทั่วไปประพฤติตนตามแบบอย่าง ตลอดชีวิตการเป็นครู ของท่านล้วนทำสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางแก่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและแก่ประเทศชาติ



รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:35, 18 มีนาคม 2550

วิชา การพิศิษฎ์ เป็นบุคคลที่ควรแก่การยกย่อง ควรแก่ผู้เป็นครูและบุคคลทั่วไปประพฤติตนตามแบบอย่าง ตลอดชีวิตการเป็นครู ของท่านล้วนทำสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางแก่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและแก่ประเทศชาติ

ประวัติ

วิชา การพิศิษฎ์ เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2443 ในบ้านหมู่ที่ 1 ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรนายน้อย และนางแจ่ม บิดาเสียชีวิตด้วยโรคอหิวาตกโรคตั้งแต่มีอายุได้ 15 วัน จึงเป็นหน้าที่ของแม่คือนางแจ่มเลี้ยงดูมาโดยตลอด

สมัยที่เป็นเด็กชายวิชาได้รับการอบรมให้เข้าวัด โดยมากจะไปวัดกับยาย ซึ่งไปทำบุญที่วัด เป็นประจำทุกวันพระแปดค่ำ และสิบห้าค่ำ ทำให้นายวิชาใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก และพื้นฐานดังกล่าวได้กลายเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตในเวลาต่อมา

เมื่ออายุได้ 7-8 ขวบ ก็ได้เรียนหนังสือตามแบบโบราณ คือ นโม ก ข กับแม่ ต่อจากนั้นอีกประมาณ 1 ปี แม่ก็นำไปฝากให้เรียนหนังสือที่โรงเรียนศรีสุพรรณดิฐวัดพระโยคเรียนที่โรงเรียนนี้จนจบชั้นประโยค ประถม จึงย้ายไปเรียนที่โรงเรียน ตัวอย่างมณฑลชุมพร ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดธรรมบูชา เรียนอยู่ที่นี้จนจบชั้นของโรงเรียนคือสอบไล่ได้ชั้น ประโยคครูมูล และได้ชั้นมัธยมปีที่ 6 ได้ออกมารับราชการเป็นครูประจำมณฑลสุราษฎร์ฯ

หลังจากนั้นต่อมาได้ลาออกจากหน้าที่ครู ไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ เป็นนักเรียนในบำรุงของกระทรวงศึกษาธิการ ตอนแรกได้เข้าเรียนชั้นประโยคครูประถมปีที่ 1 ณ โรงเรียน ฝึกหัดครูประถมวัดบวรนิเวศน์วิหาร เรียนอยู่จนเกือบจะจบเทอมต้น ก็ทราบว่าผู้ที่สอบไล่ชั้นมัธยมปีที่ 6 มีสิทธิ์ที่จะเรียนชั้นประโยค ครูมัธยม จึงได้ร้องเรียนต่อกระทรวง และได้รับอนุญาตให้ย้ายไป เรียนชั้นมัธยมปีที่ 7 ณ โรงเรียนสวนกุหลาบ เรียนอยู่ที่นี้จนถึง ปีพ.ศ. 2464 ก็สอบไล่ชั้นมัธยมปีที่ 8 ได้ และได้ออกมาเป็นครูที่โรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศน์ ไม่ได้รับเงินเดือน ได้แต่เบี้ยเลี้ยงนักเรียน ฝึกหัดครูเดือนละ 15 บาท

ครั้นถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2464 จึงได้รับบรรจุในอัตราเงินเดือนเดือนละ 80 บาทเต็มตามประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม ในปีเดียวกันได้ย้ายไปเป็นครูประจำมณฑล สุราษฎร์ธานี ปี พ.ศ. 2467 ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ประจำจังหวัด หลังสวน ปี พ.ศ. 2475 ย้ายไปเป็น ครูประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช "มหาวชิราวุธ" ปี พ.ศ. 2476 ย้ายกลับมาเป็นครูที่โรงเรียน ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2480 ได้รับแต่งตั้งเป็นครูใหญ่ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และในปี พ.ศ. 2499 ได้ดำรง ตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วิชา การพิศิษฎ์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนวิชาการพิศิษฎ์ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 แต่ได้กราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์เมื่อ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2485 หลังจากออกจากราชก่อนเกษียณอายุ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 แล้วได้เข้าทำงานเป็นผู้จัดการธนาคารมณฑล สาขาสุราษฎร์ธานีอยู่ระยะหนึ่ง แต่ด้วยใจรักความเป็นครูได้สละเวลาไปช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษแก่นักเรียนโรงเรียนมานิตานุเคราะห์ ของอาจารย์มานิดา การพิศิษฎ์ ซึ่งเป็นน้องสาวตลอดมาจนสอนไม่ไหวจึงหยุดสอน พักผ่อนในบั้นปลายของชีวิตอย่างเงียบ ๆ ที่บ้าน

ระหว่างที่เป็นครูนายวิชาได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ทำประโยชนให้แก่ท้องถิ่นด้านการศึกษาอย่างสูงส่ง การฝึกอบรมนักเรียนของท่าน คำนึงการ ปลูกฝังสิ่งสำคัญ 3 ประการ คือ ความเก่งทางวิชาการ การกีฬา และความประพฤติ ตลอดเวลาเกือบ 30 ปี ในชีวิตความเป็นครูได้สร้างสรรค์บุคคลดีให้ แก่ชาติบ้านเมืองอย่างมากมาย ในด้านการ สอนท่านได้สอนภาษาอังกฤษมาตลอด เป็นครูที่ตั้งใจสอนอย่างมากจะจ้ำจี้จ้ำไชในการพูด การเขียน การฟัง ให้แก่นักเรียนอย่างจริงจัง ในส่วนของ การประพฤติ ปฏิบัติตน ท่านเป็นตัวอย่างที่ดีงามแก่ศิษย์ เพื่อนครูอาจารย์ และบุคคลทั่วไปอยู่ตลอดเวลา ประหยัด มัธยัสถ์ โอบอ้อมอารี มีระเบียบวินัยในตนเอง ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอเป็นลักษณะประจำตัวของท่าน ด้วยเหตุนี้คนทั่วไปมักพูดกันว่า "ท่านเป็นครูของคนทั้งเมือง เป็นที่เคารพรักของคนทั้งจังหวัด"

นายวิชา ป่วยด้วยโรคต่อมลูกหมากโต เข้ารับการรักษาพยาบาลในกรุงเทพ ฯ หลังการผ่าตัดแล้วมีโรคระบบทางเดินหายใจ แทรก ทำให้สุขภาพทรุดโทรมลงตามลำดับ และถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลราชวิถี เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528

อ้างอิง

จากหนังสือ: สุราษฎร์ธานีของเรา ผู้แต่ง: ชวน เพชรแก้ว, สบาย ไสยรินทร์