ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลากระเบนแมนตา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: en:Manta rayen:Giant Oceanic Manta Ray
บรรทัด 73: บรรทัด 73:
[[da:Djævlerokke]]
[[da:Djævlerokke]]
[[de:Riesenmanta]]
[[de:Riesenmanta]]
[[en:Manta ray]]
[[en:Giant Oceanic Manta Ray]]
[[es:Manta birostris]]
[[es:Manta birostris]]
[[eu:Manta-arraia]]
[[eu:Manta-arraia]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:50, 14 พฤศจิกายน 2555

สำหรับกระเบนราหูในน้ำจืด ดูที่ปลากระเบนราหูน้ำจืด
ปลากระเบนแมนตา
กระเบนราหูแปซิฟิกที่หินแดง
กระเบนราหูแปซิฟิกที่มัลดีฟส์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับใหญ่: Batoidea
อันดับ: Myliobatiformes
วงศ์: Myliobatidae
วงศ์ย่อย: Mobulidae
สกุล: Manta
Bancroft, 1829
สปีชีส์: M.  birostris
ชื่อทวินาม
Manta birostris
(Dondorff, 1798)
ชื่อพ้อง
  • Manta alfredi (Krefft, 1868)
  • Manta hamiltoni (Hamilton & Newman, 1849)
  • Raja birostris Donndorff, 1798

ปลากระเบนแมนตา หรือ ปลากระเบนปีศาจ หรือ ปลากระเบนราหูแปซิฟิก (อังกฤษ: Manta ray, Devil ray) เป็นปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความกว้างช่วงปีก (ครีบหู) ได้ถึง 6.7 เมตร หรือ 22 ฟุต มีน้ำหนักได้ถึง 1,350 กิโลกรัม หรือ 3,000 ปอนด์ อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ แนวปะการัง

โดยทั่วไปปลากระเบนแมนตาจะมีหลังสีดำและท้องสีขาว แต่อาจพบตัวที่มีหลังสีฟ้าได้บ้าง ตาอยู่อยู่บริเวณข้างหัว และต่างจากกระเบนทั่วไป ปากอยู่ทางด้านหน้าของหัว มีช่องเหงือก 5 คู่ เหมือนกระเบนทั่วไป

ครีบหูพัฒนาเป็น ติ่งลักษณะคล้ายเขา หรือที่เรียกว่าครีบหัว (ลักษณะดังกล่าวทำให้กระเบนชนิดนี้มีอีกชื่อว่ากระเบนปิศาจ) อยู่บริเวณด้านหน้าของหัวแบน ๆ ครีบดังกล่าวเจริญขึ้นในช่วงตัวอ่อน เลื่อนมาอยู่รอบปาก ทำให้เป็นหนึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังมีขากรรไกร ที่มีรยางค์พิเศษอันเป็นที่รู้จักมากที่สุดชนิดหนึ่ง (อีกชนิดคือ เต่าหก ((Manouria emys)) โดยเขาที่อ่อนนุ่มนี้มีไว้สำหรับโบกพัดเอาน้ำเข้าปาก เพื่อกินแพลงก์ตอน และเพื่อจะฮุบน้ำจำนวนมากต้องว่ายอ้าปากและพัดอาหารเข้าปากอยู่เสมอ

ปลากระเบนแมนตาเคยหาอาหารตามพื้นท้องทะเลมาก่อน ก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นกรองกินแพลงก์ตอนตามทะเลเปิดในปัจจุบัน ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้จนมีขนาดใหญ่มากกว่าปลากระเบนชนิดอื่น ๆ

ลักษณะการกรองกินทำให้ฟันลดขนาดลงเป็นซี่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่แอบอยู่ใต้ผิว คล้ายกับกระเบนทั่วไป กระเบนราหูมีหางเป็นเส้นยาว แต่หากปราศจากเงี่ยงที่ส่วนหาง และเกล็ดแหลมหุ้มลำตัวก็มีขนาดเล็กลง แทนที่ด้วยเมือกหนาหุ้มร่างกาย ส่วน spiracle มีขนาดเล็กและไม่ทำหน้าที่ น้ำทั้งหมดไหลเข้าสู่ปากแทน

เพื่อการว่ายน้ำที่ดี ปลากระเบนแมนตาวิวัฒนาการรูปร่างร่างกายให้เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และมีการพัฒนาครีบให้คล้ายปีกสำหรับโบยบินในท้องทะเล ขนาดตัวยักษ์ใหญ่และความเร็วชนิดใกล้เคียงจรวด ทำให้ปลากระเบนแมนตามีศัตรูตามธรรมชาติน้อยมาก โดยที่ศัตรูของปลากระเบนแมนตาในน่านน้ำไทยกลุ่มเดียว คือวาฬเพชรฆาต (Orcinus orca) และวาฬเพชรฆาตเทียม (Pseudorca crassidens) แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน

โดยปกติแล้วกินแพลงก์ตอน, ตัวอ่อนปลา และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ทั่วไปโดยการกรองน้ำที่ไหลเข้าสู่ปากโดยใช้ซี่เหงือก ซึ่งเรียกว่า ram-jet

ในเชิงอนุกรมวิธานแล้ว ปลากระเบนแมนตายังมีการจัดจำแนกที่ไม่ชัดเจน โดยอาจแบ่งได้ถึง 3 ชนิดที่มีการจัดนำแนกไว้ ได้แก่ Manta birostris, Manta ehrenbergii และ Manta raya โดยชนิดแรกสุดมีขนาดเล็กกว่า และสองชนิดหลังนั้นอาจเป็นเพียงประชากรที่แยกตัวกันมานานแสนนาน เดิมทีแล้ว สกุลของปลากระเบนแมนตาถูกจัดอยู่ในวงศ์ Mobulidae แต่ในปัจจุบันถือเป็นวงศ์ย่อยในวงศ์ Myliobatidae ซึ่งมีปลากระเบนนกเป็นปลาร่วมวงศ์ และทำให้ปลากระเบนแมนตา เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Manta

สามารถถูกพบเห็นได้บ่อยตามแนวปะการังของมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะหมู่เกาะมัลดีฟส์, หมู่เกาะสุรินทร์ รวมไปถึงหมู่เกาะสิมิลันของไทย โดยเฉพาะ หินแดง, เกาะบอน, เกาะตอรินลา, และเกาะตาชัย พบได้บ่อยในทางด้านอ่าวไทยเช่นกัน เช่น หินใบ, เกาะพงัน และกองหินโลซินอันห่างไกล

ปลากระเบนแมนตาเป็นปลาอีกชนิดที่นักดำน้ำต้องการที่จะพบเห็นมากที่สุด ซึ่งมักจะถูกพูดถึงร่วมกับปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) เสมอ

นอกจากนี้ ปลากระเบนแมนตายังเป็นปลากระเบนเพียงไม่กี่ชนิด ที่ไม่มีเงี่ยงพิษที่โคนหางเหมือนปลากระเบนชนิดอื่น ๆ[2]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Manta birostris ที่วิกิสปีชีส์ แม่แบบ:Link GA