ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูหลาม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
| status_ref = <ref name="iucn">[http://www.iucnredlist.org/details/19023/0 จาก [[IUCN]] {{en}}]</ref>
| status_ref = <ref name="iucn">[http://www.iucnredlist.org/details/19023/0 จาก [[IUCN]] {{en}}]</ref>
| status_system = iucn2.3
| status_system = iucn2.3
| image = Python molure 13.JPG
| image = Everglades2 013.jpg
| image_width = 250px | image2_width = 250px
| image_width = 250px | image2_width = 250px
| image_caption = งูหลาม[[ชนิดย่อย]] ''P. m. bivittatus'' หรือ งูหลามพม่า
| image_caption = งูหลาม[[ชนิดย่อย]] ''P. m. bivittatus'' หรือ งูหลามพม่า
| image2 = Nandankanan34.jpg
| image2 = Indian rock python (Python molurus) at mysore zoo.jpg
| image2_caption = งูหลามชนิดย่อย ''P. m. molurus'' หรือ งูหลามอินเดีย
| image2_caption = งูหลามชนิดย่อย ''P. m. molurus'' หรือ งูหลามอินเดีย
| regnum = [[Animal]]ia
| regnum = [[Animal]]ia

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:46, 14 พฤศจิกายน 2555

งูหลาม
งูหลามชนิดย่อย P. m. bivittatus หรือ งูหลามพม่า
งูหลามชนิดย่อย P. m. molurus หรือ งูหลามอินเดีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Pythonidae
สกุล: Python
สปีชีส์: P.  molurus
ชื่อทวินาม
Python molurus
(Gray, 1825)
ชนิดย่อย
2 ชนิด ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง[1]
ชนิดย่อย
  • Coluber boaeformis Shaw, 1802
  • Coluber molurus Linnaeus, 1758
  • Python albicans Schneider, 1801
  • Python bora Daudin, 1803
  • Python castanea Schneider, 1801
  • Python cinerea Schneider, 1801
  • Python molurus Werner, 1899 ชนิดย่อย ocellata
  • Python orbiculata Schneider, 1801
  • Python tigris Daudin, 1803

งูหลาม (อังกฤษ: Indian python, Asiatic rock python, Burmese python, ชื่อวิทยาศาสตร์: Python molurus) เป็นงูขนาดใหญ่ ไม่มีพิษ

ลักษณะและความยาว

มีลักษณะคล้ายกับงูเหลือม (P. reticulatus) ซึ่งเป็นงูในสกุลเดียวกัน แต่มีขนาดเล็กกว่างูเหลือม โดยความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1-3 เมตร (พบใหญ่ที่สุด 5.18 เมตร น้ำหนัก 74 กิโลกรัม ที่อุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์ สหรัฐอเมริกา[2] ทำลายสถิติตัวที่มีความยาว 5 เมตร ในประเทศพม่า)[3] มีลำตัวที่อ้วนป้อมกว่า อีกทั้งหางก็สั้นกว่า และมีขีดที่บนหัวเป็นสีขาว เรียกว่า "ศรขาว" อีกทั้งมีสีสันและลวดลายที่แตกต่างจากงูเหลือม รวมทั้งอุปนิสัยที่ไม่ดุต่างจากงูเหลือม จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานมากกว่า นิยมกันมากในตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกและลวดลายแตกต่างไปจากปกติ ซึ่งสวนสัตว์นครราชสีมานับเป็นสถานที่แห่งแรกของโลก ที่สามารถเพาะพันธุ์งูหลามเผือกได้สำเร็จ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2553[4]

พบกระจายพันธุ์ในอนุทวีปอินเดียจนถึงตอนเหนือของพม่า สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ ยกเว้น ภาคใต้ ออกไข่ครั้งละประมาณ 40 ฟอง ระยะฟักเป็นตัวประมาณ 2 เดือน มีอายุยืนประมาณ 15 ปี มีพฤติกรรมการหากินคล้ายคลึงกับงูเหลือม แต่มักจะหากินบนพื้นดิน ไม่ชอบขึ้นต้นไม้หรือลงน้ำเหมือนงูเหลือม[5]

มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดย่อย คือ[6]

ชนิดย่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ สถานที่พบ ผู้อนุกรมวิธาน
P. m. bivittatus ภูมิภาคอินโดจีน, มาเลเซีย, คาบสมุทรมลายู, ตอนใต้ของจีน, เกาะชวา, เกาะสุลาเวสี, เกาะไหหลำ Kuhl, 1820
P. m. molurus ภูมิภาคเอเชียใต้ (Linnaeus, 1758)

[6]

ในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย เป็นชนิด P. m. bivittatus และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535

การเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบันงูหลามได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปแล้วในหลายพื้นที่ของสหรัฐอเมริกา ด้วยการมีนำเข้าไปในฐานะสัตว์เลี้ยง ซึ่งได้มีหลายส่วนถูกปล่อยหรือหลุดออกจากที่เลี้ยงได้ มีรายงานว่าได้กินแอลลิเกเตอร์ไปทั้งตัวจนท้องแตกตาย ในอุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์ ในพื้นที่ชุ่มน้ำของรัฐฟลอริดา [7]

อ้างอิง

แม่แบบ:Link FA