ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บาศกนิยม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Toeytoey28 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Toeytoey28 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
==ตัวอย่างศิลปินสำคัญในลัทธิคิวบิสม์==
==ตัวอย่างศิลปินสำคัญในลัทธิคิวบิสม์==
=== 1.ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Picasso, 1881-1973)===
=== 1.ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Picasso, 1881-1973)===
'''ผลงานสำคัญ'''
'''''ผลงานสำคัญ'''''
1.1 La Vie, 1903.
1.1 La Vie, 1903.
1.2 Family of Saltimbanques, 1905.
1.2 Family of Saltimbanques, 1905.
บรรทัด 44: บรรทัด 44:
1.12 Guernica, 1937.
1.12 Guernica, 1937.
=== 2.จอร์จ บราค (George Braque, 1882-1963)===
=== 2.จอร์จ บราค (George Braque, 1882-1963)===
'''ผลงานสำคัญ'''
'''''ผลงานสำคัญ'''''
2.1 Houses at L’estaque, 1908.
2.1 Houses at L’estaque, 1908.
2.2 The Musician’s Table, 1913.
2.2 The Musician’s Table, 1913.
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
2.5 The Salon, 1944.
2.5 The Salon, 1944.
=== 3.แฟร์นอง เลเชร์ (Fernand Leger, 1881-1955)===
=== 3.แฟร์นอง เลเชร์ (Fernand Leger, 1881-1955)===
'''ผลงานสำคัญ'''
'''''ผลงานสำคัญ'''''
3.1 Nudes in the Forest, 1910.
3.1 Nudes in the Forest, 1910.
3.2 City Landscape, 1914.
3.2 City Landscape, 1914.
3.3 The Builders, 1955.
3.3 The Builders, 1955.
===4.อาร์ชิเป็นโก (Alexander Archipenko, 1887-1964)===
===4.อาร์ชิเป็นโก (Alexander Archipenko, 1887-1964)===
'''ผลงานสำคัญ'''
'''''ผลงานสำคัญ'''''
4.1 Woman Combing her Hair, 1915.
4.1 Woman Combing her Hair, 1915.
===5. ลิปซิทซ์ (Jacques Lipchitz, 1891-?)===
===5. ลิปซิทซ์ (Jacques Lipchitz, 1891-?)===
'''ผลงานสำคัญ'''
'''''ผลงานสำคัญ'''''
5.1 The Large Bathers, 1923-1925.
5.1 The Large Bathers, 1923-1925.
5.2 Mother and Child, 1941-1945.
5.2 Mother and Child, 1941-1945.
===6. โลรองส์ (Henri Laurens, 1885-1954)===
===6. โลรองส์ (Henri Laurens, 1885-1954)===
'''ผลงานสำคัญ'''
'''''ผลงานสำคัญ'''''
6.1 Man With Pipe, 1919.
6.1 Man With Pipe, 1919.
===7. ซัดกิน (Ossip Zadkine, 1890-?)===
===7. ซัดกิน (Ossip Zadkine, 1890-?)===
'''ผลงานสำคัญ'''
'''''ผลงานสำคัญ'''''
7.1 Commemorative Monument to the Destruction of Rotterdam, 1953-1954.
7.1 Commemorative Monument to the Destruction of Rotterdam, 1953-1954.



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:52, 26 ตุลาคม 2555

ผลงานแบบบาศกนิยม


คิวบิสม์ หรือบาศกนิยม(อังกฤษ: Cubism)เป็นลัทธิการสร้างสรรค์ศิลปะที่ได้รับผลสะท้อนมาจากอิทธิพลด้านความเจริญทางวิทยาศาสตร์ และจากลักษณะรูปแบบหน้ากากของชนเผ่าพรีมิตีฟในแอฟริกา ซึ่งได้ปลุกเร้าการสร้างสรรค์แบบใหม่ รวมทั้งลักษณะการของศิลปินสมัยใหม่ที่พยายามแสวงหาลักษณะเฉพาะตัวให้กับตนเอง เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับลักษณะรูปแบบศิลปะกลุ่มอื่นที่ผ่านมาหรือที่มีอยู่ในยุคนั้น ซึ่งมีหลักสุนทรียภาพที่แสดงรูปทรงศิลปะในลักษณะผันแปรความจริง โดยให้มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุม เป็นลูกบาศก์ เป็นทรงเรขาคณิต เพื่อสร้างความคิดรวบยอดเชิง3มิติให้ปรากฏในผืนระนาบ2มิติหรือ3มิติ แสดงออกทั้งงานจิตรกรรมและประติมากรรม หากเป็นงานจิตรกรรมรูปแบบผลงานก็จะสามารถแสดงลักษณะปรากฏทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังบนพื้นระนาบไปพร้อมกัน บางทีก็แสดงการทับซ้อนและปิดบังระหว่างกัน รวมทั้งมีการตัดทอนรูปทรงให้ดูง่ายขึ้นกว่ารูปจริงของวัตถุหรือสภาวะที่แท้จริงของรูปทรงนั้นๆด้วย


ประวัติ

แนวคิดและจุดเริ่มต้น

คิวบิสม์นับเป็นวิวัฒนาการของวงการศิลปะอย่างสำคัญ โดยศิลปินสองคน คือ ฌอร์ฌ บรัก (อังกฤษ: George Braque) และ ปาโบล ปีกัสโซ (อังกฤษ: Pablo Picasso) ซึ่งทั้งสองต่างมีจุดเริ่มต้นแรงบันดาลใจจากผลงานของ พอล เซซาน (อังกฤษ: Paul Cezanne) ซึ่งมีความคิดว่า “โครงสร้างเรขาคณิตเป็นรากฐานของรูปทรงธรรมชาติทั้งมวล” และ ถ้าเข้าใจรูปทรงของโลกภายนอก และโครงสร้างตามความเป็นจริงแล้ว จงมองดูรูปเหล่านั้นให้เป็นเหลี่ยมเป็นลูกบาศก์ง่ายๆ ทั้งปิกัสโซและบาร์ค พยายามเน้นคุณค่าของปริมาตร ของวัสดุกับอากาศซึ่งสัมพันธ์กันเต็มไปหมดในภาพ อีกทั้งยังปฏิเสธหลักการของลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ ซึ่งละเลยความสำคัญของรูปทรงและมวลปริมาตร ศิลปินทั้งสองต่างสำรวจรายละเอียดของสิ่งที่พวกเขาต้องการวาด ด้วยการวิเคราะห์และแยกแยะทำลายรูปทรงเหล่านั้นให้กลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ไม่ปะติดปะต่อกัน จากนั้นก็นำมาสังเคราะห์ประกอบกันใหม่ ให้รูปทรงบางรูปทับกัน ซ้อนกัน หรือเหลื่อมล้ำกันก็ได้ โดยมีจุดประสงค์สำคัญในเรื่องการสร้างความงามที่เกิดจากมวลปริมาตรเป็นเป้าหมายสูงสุด โดยที่มาของชื่อคิวบิสม์นั้นมาจากการที่ จอร์จ บาร์ค ได้ส่งงานเขียนของเขาไปแสดงในนิทรรศการศิลปะที่หอศิลป์ Salon des Artistes Indepndants ในกรุงปารีส และถูกปฏิเสธไม่ให้แสดงงาน และนำผลงานทั้งหมดออกจากนิทรรศการ โดยมีนักวิจารณ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับผลงานของ บาร์ค ว่า เป็นการสร้างสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ขนาดเล็กทั้งสิ้น และเป็นผลงานที่ไม่เห็นความสำคัญของรูปทรงและตัดทอนทุกอย่างออกไป ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน รูปร่างของสิ่งต่างๆ โดยบาร์คตัดทอนให้เกิดรูปทรงเรขาคณิตและนำไปสู่รูปทรงแบบลูกบาศก์ โดยในแรกเริ่มนั้น ปิกัสโซ และ บาร์ค เริ่มทำงานในแบบ คิวบิสม์ร่วมกันนั้น ปิกัสโซเปิดเผยว่า “ ตอนที่เริ่ม เขียนภาพ ในแนวทางนี้นั้น พวกเขาไม่ได้ตั้งใจจะสร้างรูปสี่เหลี่ยม แต่เพียงแต่ต้องการแสดงความคิดพวกเขาออกมาเท่านั้น” และการที่จะแสดงออกให้ตรงกับความคิดของทั้งสองคน มันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการค้นหาโครงสร้างใหม่ด้วย จำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแนวศิลปะไปในทางตรงกันข้ามกับศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ ด้วยเหตุดังนี้ เขาจึงต้องละเลยเรื่องสี และสัมผัส เพื่อหันไปค้นหาเรื่องโครงสร้าง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานขององค์ประกอบ โดยจัดระเบียบเสียใหม่

มุมมองเทคนิคและรูปแบบ

ศิลปะแบบคิวบิสม์นั้น เกิดจากการที่ศิลปินไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางศิลปะที่ต่างไปจากแบบเก่าโดยสิ้นเชิง มันยากแก่การจำกัดความให้ เพราะคิวบิสม์มันไม่ใช่เพียงแค่ทฤษฎี ระบบ หรือแม้แต่รูปแบบเพียงแบบเดียว หากแต่ว่า คิวบิสม์ได้พยายามค้นคว้าจากแนวทางในการสร้างสรรค์ งานศิลปะ ที่แสดงให้เห็นวัตถุ โดยให้ความรู้สึกว่าภาพนั้นๆ ถูกสร้างขึ้นด้วยสีบนผืนผ้าใบ ไม่ใช่เพียงแค่การเลียนแบบวัตถุเท่านั้น ให้สายตามองเห็นเป็นจริงอย่างธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตาม ศิลปะแบบคิวบิสม์ ก็ไม่ใช่ศิลปะนามธรรมโดยแท้จริง เพราะว่าคิวบิสม์ยังมีเนื้อหาเรื่องราวในภาพอยู่ แต่สิ่งที่คิวบิสม์ให้ความสนใจนั้น คือ มุ่งไปที่ลักษณะของวัตถุ ทางรูปทรงที่เราเห็นได้ด้วยความคิด ดังนั้น คิวบิสม์จึงเป็นแนวทางศิลปะที่พยายามจะเชื่อมโยงทั้งความคิดและสายตาเข้าด้วยกัน ทั้งสองศิลปินนั้นได้แรงบันดาลใจ ในการทำศิลปะแบบ cubism จาก Cezanne ในเรื่อง โครงสร้าง และการไม่ลวงตา Cubism ทำตามหลักการ วิเคราะห์ โครงสร้าง และ การแปรระนาบ แล้วสร้างรูปทรงที่เป็นเหลี่ยม เป็นสันขึ้นมา โดยลดระยะในช่วงความลึก จากโลกแห่งทิวทัศน์จริง มาทำให้ มวลสารทั้งหลาย อัดรวมกันเหมือนภาพนูน คิวบิสม์ รูปวิเคราะห์ (Analytical Cubism) จะทำการ ตัดรายละเอียด ซับซ้อนของวัตถุจริงออกไป บ้านและต้นไม้จะลดรูปทรง ลงเหลือแค่ก้อนเหลี่ยม หรือ รูปโค้งอย่างง่ายๆ แนวทางของ คิวบิสม์ จะมีแนวทางที่ จะไม่แสดงให้เห็นได้ชัดว่า อะไรเป็นอะไร แต่จะ ใช้ให้สิ่งต่างๆ นั้น มาปรากฎคู่กันเสมอ เช่น ในการการสร้างปริมาตร (Volume) แต่ในขณะที่ก็มีการใช้สีแบนราบ ตามผืนผ้าใบในบริเวณใกล้เคียง มีการจับลักษณะ วัตถุตามที่ตาเห็น ขณะเดียวกันก็จงใจใช้สีที่แสดง ให้รู้ว่านี่คือ ผืนผ้าใบแท้ๆ ไม่ใช่อย่างอื่น ในเรื่องของ เส้นวาดและสีก็เช่นเดียวกัน เส้นอาจจะถูกกลืน หายเข้าไปในบริเวณสี ขอบร่างที่คมชัดของคน อาจจจะเลือนหายเข้าไป กลืนกับระนาบรอบตัวได้โดยง่าย วิธีการทำระนาบให้เชื่อมโยง กันไปเรื่อยๆนั้น จะทำโดยการเปลี่ยนระดับสายตาไปด้วยกัน จะพบกับความตื้นลึกที่ต่างกัน แม้มันจะอยู่บนระนาบเดียวกันก็ตาม ในช่วงระหว่าาง สงครามโลกครั้งที่ 1 ปีกัสโซ่ได้เปลี่ยนแนวทางการทำงานแบบ คิวบิสม์ มาเป็น คิวบิสม์สังเคราะห์ (Synthetic Cubism) คิวบิสม์แบบนี้จะมีวัสดุต่างๆ เท่าที่หาได้มาปะติดเข้าไปด้วย ภาพที่ใช้วัสดุมาประกอบกันนี้ เรียกว่า "Collage" อาจจะใช้แผ่นกระดาษ เศษหนังสือพิมพ์ แผ่นกระจกเงา เส้นเชือก ทราย หรือไม่ก็ไพ่ การนำเอาเศษ วัสดุเหล่านี้มาใส่ในภาพ สามารถอำพรางความรู้สึกที่ว่า โลกของภาพเขียน กับโลกของจิตรกร หรือผู้ดูไม่มีอะไร เกี่ยวกันเป็นคนละโลกให้มันลดลง ซึ่งมันจะทำให้ คนดูภาพ กับ จิตกร มีการเชื่อมโยง สัมพันธืกันทาง ความคิดมากยิ่งขึ้น วัสดุที่เลือกมาใช้นี้ จะยังคงไว้ซึ่ง คุณสมบัติทางการใช้สอย เมื่อนำมาจัดองค์ประกอบทางศิลปะ ก็จะได้คุณลักษณะใหม่ ที่เป็นนามธรรมในแบบแผนที่แปลกออกไป

คิวบิสม์ยุคแรก

ระยะที่ 1 คิวบิสม์แบบเหลี่ยมมุม (อังกฤษ : Facet Cubism) ระหว่าง ค.ศ. 1907-1909 เป็นคิวบิสม์แบบเริ่มต้น ระยะนี้ศิลปินจะทำการสร้างสรรค์โดยการแบ่งแยกวัตถุ หรือรูปภาพออกเป็นส่วนประกอบทางเรขาคณิตที่แน่นอน หรืออาจเรียกว่าตัดเป็นเหลี่ยมมุมอย่างหน้าเพชร (Facet) ก็ได้ ปล้วจึงนำเอาส่วนประกอบย่อยเหล่านั้นมาจัดองค์ประกอบใหม่เข้าด้วยกัน ซึ่งการแสดงออกในระยะเริ่มต้นของคิวบิสม์นี้ แสดงให้เห็นอิทธิพลของเซซานน์อย่างชัดเจน ด้วยพวกเขาได้นำลักษณะรูปแบบของเซซานน์มาเป็นจุดดลใจและแนวทางการพัฒนาของตน นอกจากนั้น ศิลปินคิวบิสม์ยังสนใจศึกษาศิลปกรรมของชนเผ่าอนารยะชาวอาฟริกา และศิลปกรรมแบบอาร์เคอิคของกรีกโบราณ

คิวบิสม์ยุคที่สอง

ระยะที่ 2 คิวบิสม์แบบวิเคราะห์ (อังกฤษ : Analytical Cubism) ระหว่าง ค.ศ. 1909-1912 เป็นคิวบิสม์ที่ถูกสร้างขึ้น ด้วยการแตกแยกรูปแบบจริงของวัตถุเพิ่มมากขึ้น แล้วจึงนำมาวิเคราะห์ (Analyzed) ประกอบผ่านผลงาน แสดงให้เห็นแง่มุมต่างๆของวัตถุไปพร้อมกัน คิวบิสม์แบบวิเคราะห์นี้เป็นการๅวิเคราะห์เกี่ยวกับรูปทรงและพื้นที่ พื้นระนาบของวัตถุได้ถูกสร้างขึ้นในแนวใหม่ จากการศึกษาโครงสร้าง และการแสดงให้เห็นแง่มุมต่างๆ (angular and faceted planes) ของวัตถุสิ่งเดียวกันได้หลายด้าน ในส่วนเนื้อหาศิลปะนั้นศิลปินสามารถสร้างสรรค์ด้วยเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น เป็นภาพคน หุ่นนิ่ง หรือทิวทัศน์ โดยการใช้สีที่มีลักษณะไม่ฉูดฉาด ภาพระยะนี้มักถูกคลุมไว้ด้วยสีเทา สีน้ำตาลอมแดง สีเขียว และสีดิน

คิวบิสม์ยุคที่สาม

ระยะที่ 3 คิวบิสม์แบบสังเคราะห์ (อังกฤษ : Synthetic Cubism) ระหว่าง ค.ศ. 1912-1914 คิวบิสม์แบบสังเคราะห์มีพัฒนาการล้ำหน้า เกินกว่าคิวบิสม์ที่ผ่านมามาก ศิลปินแสดงออกด้วยการจัดองค์ประกอบมากขึ้น และหยิบเอาเรื่องราวที่ง่ายและใกล้ตัวมาเป็นเนื้อหาแสดงออก เช่น แผ่นกระจก วัตถุที่ปรากฏนห้องทำงาน อาทิ แก้วเหล้า กล่องยาสูบ บุหรี่ ขวดเหล้า ไพ่ เศษผ้า เครื่องดนตรี หนังสือพิมพ์ โดยการใช้เทคนิคการปะติด (Collage) เข้ามาช่วย หรือที่เรียกว่า "Flat-Pattern Cubism" จัดวางลงบนผิวระนาบด้านตั้งและนอนในลักษณะแบนราบ ด้วยโครงสรา้งของสีที่เข้ากันในลักษณะลึกลับน่าอัศจรรย์ จิตรกรรมคิวบิสม์ในระยะหลังนี้ จะแสดงรูปทรงต่างๆ ของวัตถุด้วยการแบ่งแยกออกจากกัน และวางทับ ซ้อนกันด้วยผิวระนาบ(overlapping Planes) และเส้น มีค่าของสีและลักษณะผิวพื้นที่แตกต่างกัน ดังเช่น ภาพหญิงสาวกับกีต้าร์ ของ จอร์จ บาร์ค และภาพคนเล่นไพ่ ของปิกัสโซ ซึ่งศิลปินทั้งสองมีเป้าหมายด้านการแสดงออกมากกว่าคำนึงถึงเนื้อหา

จุดมุ่งหมายและการตีความ

กระแสคิวบิสม์มีความเชื่อทางศิลปะว่า การแสดงออกทางศิลปะนอกจากจะต้องไม่แสดงเชิงการถ่ายทอดตามความเป็นจริงตามตาเห็นแล้ว ศิลปินยังจะต้องกลั่นกรองรูปทรงด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปทรงให้เหลือเพียงแก่นแกนที่แท้จริงและมั่นคงแข็งแรงด้วยปริมาตรของรูปทรงที่แข็งแรงอัดแน่น ส่วนมิติแห่งความลึกถูกทำให้ปรากฏด้วยการใช้เหลี่ยมมุมประดุจเพชรที่ถูกเจียระไน ทำให้เกิดเงาทับซ้อนและเล่นแง่มุมด้วยขอบเขตของภาพ ที่ประสานสัมผัสกันอย่างเป็นจังหวะภายใต้การให้สีที่ไม่ฉูดฉาดรุนแรง เปลี่ยนแปลงรูปทรงธรรมชาติ มาสู่การจัดองค์ประกอบแบบนามธรรมทางเรขาคณิต ในลักษณะทับซ้อนกันบ้าง หรือมีรูปทรงบางใสซ้อนสลับกันบ้าง ใช้สีแบนราบปราศจากแสงและเงา มีความกลมกลืนหรือตัดกัน หากพิจารณารูปแบบศิลปะของกระแสคิวบิสม์โดยภาพรวม จะเห็นมีลักษณะเป็นลูกบาศก์ ดังนั้นผลงานดังกล่าวจึงถูกเรียกว่าลัทธิหลายมุม หรือ Cubism อย่างไรก็ตามลักษณะเฉพาะประการแรกของควิบิสม์ประการสำคัญคือ การแสดงออกด้านการสร้างสรรค์ของศิลปินจะอยู่ภายใต้การควบคุมขอบเขตของผลงาน และความรู้สึกของศิลปินให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์และหลักการเสมอ ศิลปินคำนึงถึงความมีระยะใกล้ไกลในภาพ ด้วยรูปทรงขนาด การทับซ้อน การบัง และความโปร่งใสเหมือนภาพเอ๊กซเรย์ จะคำนึงถึงการตัดทอน การย่อและขยายส่วน และการบิดเบือนรูปทรง ให้อิสรเสรีแก่ผู้ชม และการสร้างสรรค์งานศิลปะจะคำนึงถึงหลังการจัดองค์ประกอบศิลป์

ประติมากรรมคิวบิสม์

ผลพลอยได้จากจิตรกรรมกระแสคิวบิสม์ไปมีอิทธิพลต่อประติมากรรมอย่างเด่นชัดด้วยตัวของปีกัสโซ เคยสร้างประติมากรรมเพื่อเพิ่มพูนการค้นคว้าของกระแสนี้ควบคู่ไปกับจิตรกรรมด้วย เพราะบางอย่างในประติมากรรมแสดงออกเป็นรูปธรรมได้มากกว่าจิตรกรรม นอกจากได้มีการปั้นรุปด้วยดินเหนียวและหล่อด้วยโลหะแล้ว ปิกัสโซยังได้พัฒนาสร้างงานด้วยไม้ระบายสีด้วย เขาริเริ่มนำเศษโลหะมาเชื่อมต่อกันเป็นรูป โดยนำเศษชิ้นส่วนของเครื่องจักรซึ่งมีรูปร่างต่างๆ แต่ละชิ้นมีรูปทรงสำเร็จรูปอยู่แล้ว นำชิ้นสำเร็จรุปเหล่านั้นเข้ามารวมกันอยู่ในรูปเดียว ซึ่งก่อให้เกิดความคิดแก่พวกดาดาในภายหลัง อย่างไรก็ตาม มีประติมากรแท้ๆหลายคนทำงานตามแนวอุดมคติของกระแสคิวบิสม์อย่างสัมฤทธิผล

ตัวอย่างศิลปินสำคัญในลัทธิคิวบิสม์

1.ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Picasso, 1881-1973)

ผลงานสำคัญ 1.1 La Vie, 1903. 1.2 Family of Saltimbanques, 1905. 1.3 Les Demoisselles D’AVIGON, 1907. 1.4 Woman with Mandolin, 1910. 1.5 Girl with Mandolin, 1910. 1.6 Pierrot and Harlequin, 1910. 1.7 Women in White, 1923. 1.8 Three Dances, 1925. 1.9 Woman of Algiers, 1932. 1.10 Girl before for a mirror, 1932. 1.11 Weeping Woman, 1937. 1.12 Guernica, 1937.

2.จอร์จ บราค (George Braque, 1882-1963)

ผลงานสำคัญ 2.1 Houses at L’estaque, 1908. 2.2 The Musician’s Table, 1913. 2.3 The Black Pedestal Table, 1919. 2.4 Horse’s Head, 1943. 2.5 The Salon, 1944.

3.แฟร์นอง เลเชร์ (Fernand Leger, 1881-1955)

ผลงานสำคัญ 3.1 Nudes in the Forest, 1910. 3.2 City Landscape, 1914. 3.3 The Builders, 1955.

4.อาร์ชิเป็นโก (Alexander Archipenko, 1887-1964)

ผลงานสำคัญ 4.1 Woman Combing her Hair, 1915.

5. ลิปซิทซ์ (Jacques Lipchitz, 1891-?)

ผลงานสำคัญ 5.1 The Large Bathers, 1923-1925. 5.2 Mother and Child, 1941-1945.

6. โลรองส์ (Henri Laurens, 1885-1954)

ผลงานสำคัญ 6.1 Man With Pipe, 1919.

7. ซัดกิน (Ossip Zadkine, 1890-?)

ผลงานสำคัญ 7.1 Commemorative Monument to the Destruction of Rotterdam, 1953-1954.


อ้างอิง