ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Bigkung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| group =
| group =
| head_label = นายกสภาฯ
| head_label = นายกสภาฯ
| head = [[วิษณุ เครืองาม|ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม]]
| head = [[วิษณุ เครืองาม|ศ.(กิตติคุณ) ดร.วิษณุ เครืองาม]]
| ตำแหน่งหัวหน้า = อธิการบดี
| ตำแหน่งหัวหน้า = อธิการบดี
| อธิการบดี = [[สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ]]
| อธิการบดี = [[สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:22, 20 ตุลาคม 2555

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
ไฟล์:ตราสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.jpg
ประเภทรัฐ
อธิการบดีสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ
นายกสภาฯศ.(กิตติคุณ) ดร.วิษณุ เครืองาม
ที่ตั้ง
ถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
เว็บไซต์www.bpi.ac.th

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นผู้พระราชทานนามสถาบัน ซึ่งหมายถึง สถาบันผลิตบัณฑิตทางศิลปะแห่งความเจริญ โดยมีหน้าที่จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านช่างศิลป์ นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และคีตศิลป์ ทั้งไทยและสากล รวมถึงศิลปวัฒนธรรมด้วย [1] ปัจจุบันมีนายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ เป็นอธิการบดี[2]

ประวัติ

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นสถานศึกษาเฉพาะทางในด้านนาฏดุริยางค์ และช่างศิลป ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2541[3] ในสังกัดกรมศิลปากร เพื่อดูแลด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศ โดยแบ่งออกเป็น

  • สถานศึกษาทางด้านนาฏดุริยางค์ ได้แก่ โรงเรียนศิลปากร แผนกนาฏดุริยางค์ ซึ่งได้พัฒนาขึ้นเป็น โรงเรียนสังคีตศิลป์ โรงเรียนนาฏศิลป และวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในปัจจุบัน
  • สถานศึกษาทางด้านช่างศิลป ได้แก่ โรงเรียนศิลปศึกษา และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยช่างศิลป

ต่อมา พ.ศ. 2545 จึงมีการจัดตั้ง "สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์" ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาทางด้านศิลปและวัฒนธรรมโดยตรง ในสังกัดกรมศิลปากร และปัจจุบันแยกออกมาเป็นหน่วยงานที่เทียบเท่ากรมในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม[4] และในปี พ.ศ. 2550 ได้รับการจัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษานิติบุคคล[5]

ไฟล์:พระราชทานปริญญาบัตรพัฒนศิลป์.jpg
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2552

การพระราชทานปริญญาบัตร

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จะได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารใหม่สวนอัมพร กรุงเทพมหานคร ซึ่งในปีการศึกษา 2552 ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สัญลักษณ์ประจำสถาบัน

  • ตราประจำสถาบัน ได้แก่ พระพิฆเณศวร์ประทับนั่งในกรอบวงกลม ด้านบนมีลวดลายไทยยกสูง ด้านล่างกรอบเป็นแถบริบบิ้น ภายในมีชื่อ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ [6]
  • สีประจำสถาบัน ได้แก่ สีเขียว

หน่วยงาน

คณะ

วิทยาลัยนาฏศิลป

วิทยาลัยช่างศิลป

หน่วยงานและหลักสูตร


หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
คณะศิลปวิจิตร

หลักสูตรศิลปบัณฑิต

คณะศิลปนาฎดุริยางค์

หลักสูตรศิลปบัณฑิต

หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต

คณะศิลปศึกษา

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากสถาบัน

อ้างอิง

  1. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ)
  3. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ (กำหนดให้สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์เป็นส่วนราชการในกรมศิลปากร และกำหนดอำนาจหน้าที่ของสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และสถาบันศิลปกรรมเสียใหม่)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 78 ก วันที่ 30 ตุลาคม 2541
  4. ประวัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  5. พระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๕๐ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 32ก วันที่ 9 กรกฎาคม 2550
  6. ข้อบังคับสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ว่าด้วยเครื่องหมายสถาบัน เครื่องแบบ เครื่องหมาย และเครื่องแต่งกายนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๓

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น