ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สะพานมิตรภาพ 2 (ไทย–มาเลเซีย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
Pluto p (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
==อ้างอิง==
==อ้างอิง==
* [http://www.ryt9.com/s/nesd/409804/ การเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2ฯ โดยส.ศ.ช. ศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2008 14:37:00 น.]
* [http://www.ryt9.com/s/nesd/409804/ การเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2ฯ] โดยส.ศ.ช. ศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2008 14:37:00 น.
* [http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000149425 เปิดสะพานมิตรภาพไทย-มาเลย์ ดันค้าชายแดนนราฯ ฉิว 100 ล.ต่อวัน] ผู้จัดการออนไลน์ 8 ธันวาคม 2552
* [http://news.mcot.net/politic/inside.php?value=bmlkPTEyOTIzOCZudHlwZT10ZXh0 นายกไทย-มาเลย์ร่วมเปิดสะพานมิตรภาพฯ 9 ธันวาคม 2552]
{{Coor box|5.83891388889|N|101.892427778|E|type:city_region:TH|display=title}}
{{Coor box|5.83891388889|N|101.892427778|E|type:city_region:TH|display=title}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:43, 20 ตุลาคม 2555

สะพานมิตรภาพ
(สะพานบ้านบูเก๊ะตา)
ข้ามแม่น้ำโกลก
ที่ตั้งชายแดนไทย-มาเลเซีย
ชื่อทางการสะพานมิตรภาพ
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทฺBox girder bridge
ความยาว120 เมตร
ความกว้าง16.9 เมตร
ประวัติ
วันเปิด21 ธันวาคม 2552
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานบ้านบูเก๊ะตา ([Jambatan Bukit Tal] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโกลกแห่งที่ 2 เชื่อมระหว่างบ้านบูเก๊ะตา ต.โละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส กับบ้านบูกิตบุหงา รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เป็นสะพานคอนกรีต 2 ช่องจราจร ยาว 120 เมตร กว้าง 16.9 เมตร ดำเนินการสร้างโดยกรมทางหลวงของไทย และกรมโยธาธิการ มาเลเซีย ใช้เวลาสร้าง 1 ปี งบประมาณ 90 ล้านบาท โดยออกค่าใช้จ่ายฝ่ายละครึ่ง เปิดให้บริการ 08.00-17.00 น. ในฐานะจุดผ่อนปรนชั่วคราว โดยเป็นหนึ่งในแผนงานพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย และยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ร่วมลงนามโครงการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2547 สะพานแห่งนี้ยังสร้างในโอกาสครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทยและมาเลเซีย หลังจากที่สะพานข้ามแม่น้ำโกลกแห่งแรก เชื่อมสุไหงโก-ลกกับเขตรันเตาปันยัง ได้สร้างมาแล้วถึง 34 ปี

พิธีเปิดมีขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และภริยา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พล.ร.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายพระนาย สุวรรณรัตน์ ผอ.ศอ.บต. ส่วนฝ่ายมาเลเซีย ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรี และภริยาเป็นประธานในพิธี

ต่อมาในวันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เข้าร่วมพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-มาเลย์ กับนายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้มีพิธีตั้งชื่อสะพานแห่งนี้ว่า สะพานมิตรภาพ ([Jambatan Persahabatan] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) และลงนามความตกลงว่าด้วยการบริหารจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้งานสะพานมิตรภาพ

อ้างอิง

แม่แบบ:Coor box