ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แบลซ ปัสกาล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch: เศรษฐกิจ
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
Robot: en:Blaise Pascal is a former featured article
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
[[หมวดหมู่:นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส]]
[[หมวดหมู่:นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส]]



{{Link FA|en}}
{{Link FA|it}}
{{Link FA|it}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:21, 14 ตุลาคม 2555

แบลซ ปัสกาล

แบลซ ปัสกาล (ฝรั่งเศส: Blaise Pascal) เกิดเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2166 (ค.ศ. 1623) ที่เมืองแกลร์มง (ปัจจุบันคือเมืองแกลร์มง-แฟร็อง) ประเทศฝรั่งเศส เสียชีวิตเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2205 ค.ศ. 1662 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

แบลซ ปัสกาล คือนักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักปรัชญาผู้เคร่งครัดในศาสนา ปัสกาลเป็นเด็กที่มหัศจรรย์มีความรู้เหนือเด็กทั่ว ๆ ไปโดยได้ศึกษาเล่าเรียนจากพ่อของเขาเอง ปัสกาลจะตื่นทำงานแต่เช้าตรู่ท่ามกลางธรรมชาติโดยมักเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเครื่องคิดเลขและการศึกษาเกี่ยวกับของเหลว ทำให้เขาเข้าใจความหมายของความดันและสุญญากาศด้วยการอธิบายของเอวันเจลิสตา ตอร์รีเชลลี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของกาลิเลโอ

ปัสกาลเป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังที่สุดในวงการคณิตศาสตร์ เขาสร้างสองสาขาวิชาใหม่ในการทำรายงาน เขาเขียนหนังสือที่สำคัญบนหัวข้อผู้ออกแบบเรขาคณิตเมื่ออายุเพียง 16 ปีและยังติดต่อกับปีแยร์ เดอ แฟร์มา ในปี พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1654) เกี่ยวกับทฤษฎีความน่าจะเป็น ความมั่นคง อิทธิพลของการพัฒนาของเศรษฐกิจสมัยใหม่และวิทยาศาสตร์สังคม ประสบการณ์อันน่ามหัศจรรย์ในปี พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1654) ปัสกาลออกจากวงการคณิตศาสตร์และฟิสิกส์โดยอุทิศตัวเพื่องานเขียนเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา งานของเขามีชื่อเสียงมากในช่วงเวลานั้นคือ แล็ทร์พรอแว็งซียาล (Lettres provinciales) และป็องเซ (Pensées) อย่างไรก็ตามเขาได้รับโรคร้ายเข้าสู่ร่างกาย และได้เสียชีวิตหลังจากงานวันเกิดครบรอบอายุ 39 ปีเพียงสองเดือน

ผลงาน

  • Essay pour les conique (1640) ซึ่งสรุปทฤษฎีบทเกี่ยวกับเรขาคณิตโปรเจคทีฟที่ท่านได้พัฒนามาก่อนแล้วเมื่ออายุได้ 16 ปี
  • Traité du triangle arithmétique (1653) ซึ่งก็คือเรื่องสามเหลี่ยมของปาสกาล หรือสามเหลี่ยมของชาวจีนที่จะกล่าวถึงในบทความนี้
  • ริเริ่มพัฒนาทฤษฎีความน่าจะเป็นร่วมกับแฟร์มาต์ ในปี ค.ศ.1654 โดยใช้วิธีการที่ต่างกัน
  • เรขาคณิตของเส้นโค้ง Cycloid (1658)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง


แม่แบบ:Link FA