ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สรอรรถ กลิ่นประทุม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
| death_date =
| death_date =
| death_place =
| death_place =
| party = [[พรรคชาติไทย|ชาติไทย]] (พ.ศ. 2529 - 2539) <br>[[พรรคความหวังใหม่|ความหวังใหม่]] (พ.ศ. 2539 - 2544) <br>[[พรรคไทยรักไทย|ไทยรักไทย]] (พ.ศ. 2544 - 2550)
| party = [[พรรคชาติไทย|ชาติไทย]] (พ.ศ. 2529 - 2539) <br>[[พรรคความหวังใหม่|ความหวังใหม่]] (พ.ศ. 2539 - 2544) <br>[[พรรคไทยรักไทย|ไทยรักไทย]] (พ.ศ. 2544 - 2550)<br>[[พรรคภูมิใจไทย|ภูมิใจไทย]] (พ.ศ. 2555-ปัจจุบัน)
| spouse = นางพรรัตน์ กลิ่นประทุม
| spouse = นางพรรัตน์ กลิ่นประทุม
| religion = [[พุทธ]]
| religion = [[พุทธ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:11, 14 ตุลาคม 2555

นายสรอรรถ กลิ่นประทุม
ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาพรรคภูมิใจไทย
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน
ถัดไปอยู่ในวาระ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุวิทย์ คุณกิตติ
ถัดไปสุชัย เจริญรัตนกุล (รักษาการ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าอุไรวรรณ เทียนทอง
ถัดไปสมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าอนุรักษ์ จุรีมาศ
ถัดไปประชา มาลีนนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 มีนาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (พ.ศ. 2529 - 2539)
ความหวังใหม่ (พ.ศ. 2539 - 2544)
ไทยรักไทย (พ.ศ. 2544 - 2550)
ภูมิใจไทย (พ.ศ. 2555-ปัจจุบัน)
คู่สมรสนางพรรัตน์ กลิ่นประทุม

นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นักการเมืองแกนนำกลุ่มราชบุรี อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาพรรคภูมิใจไทย

ประวัติ

นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เกิดวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2499 ที่จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของ นายทวิช กลิ่นประทุม อดีตรองนายกรัฐมนตรี กับนางอารมณ์ กลิ่นประทุม สมรสกับนางพรรัตน์ กลิ่นประทุม จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสถิติ และระดับปริญญาโทจาก Catholic University Washington D.C. ประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาการจัดการวิศวกรรม

การทำงาน

นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคชาติไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เคยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2533 ต่อมาได้ปรับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลเดียวกัน ในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 51 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 จึงย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่

ในปี พ.ศ. 2544 นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ในคราวที่พรรคความหวังใหม่ ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[1] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[2] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ[3] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน[4] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที และได้รับมอบหมายหน้าที่เป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2548 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5]

ช่วงเวลาที่ได้รับการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง

ต่อมา ส.ส. ในกลุ่มของนายสรอรรถ กลิ่นประทุม จึงได้ย้ายเข้ามาสังกัดพรรคพลังประชาชน จนกระทั่งเมื่อมีการยุบพรรคพลังประชาชน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มของนายสรอรรถ จึงได้เข้ามาร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่มเพื่อนเนวิน และกลุ่มอื่นๆ ในนามพรรคภูมิใจไทย[6]

นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ยังนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะแกนนำกลุ่ม ส.ส. ซึ่งสื่อมวลชนให้ชื่อกลุ่มแกนนำนี้ว่า "8ส.+ส.พิเศษ" อันประกอบด้วย สมศักดิ์ เทพสุทิน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุวิทย์ คุณกิตติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ สนธยา คุณปลื้ม และสรอรรถ กลิ่นประทุม ส่วน ส.พิเศษ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[7]

อีกด้านหนึ่งนายสรอรรถ กลิ่นประทุม ใช้เวลาในระหว่างถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง (พ.ศ. 2553) เข้ารับการศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในรุ่นที่ 11 และเป็นรุ่นเดียวกันกับนักการเมืองชื่อดังอีกหลายคน อาทิ นายประจวบ ไชยสาส์น นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ นายแพทย์บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ฯลฯ


หลังพ้นจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง