ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรานบูรพ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
* [[สามหัวใจ]] (2482) บูรพาศิลป์ภาพยนตร์
* [[สามหัวใจ]] (2482) บูรพาศิลป์ภาพยนตร์
* [[แผลเก่า]] (2483) บูรพาศิลป์ภาพยนตร์
* [[แผลเก่า]] (2483) บูรพาศิลป์ภาพยนตร์
* [[ไม่เคยรัก]] (2483) บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
* [[วังหลวงวังหลัง]] (2493)
* [[วังหลวงวังหลัง]] (2493)



รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:47, 4 ตุลาคม 2555

ไฟล์:Pranboon.jpg
หุ่นแสดงของพรานบูรพ์ ที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย

พรานบูรพ์ หรือ จวงจันทร์ จันทร์คณา (29 มีนาคม พ.ศ. 2444 - 6 มกราคม พ.ศ. 2519) นักแต่งเพลงไทย เป็นคนแรกผู้ปฏิรูปรูปแบบเพลงไทย จากท่วงทำนองเพลงไทยเดิมที่มีลูกเอื้อนให้มีลักษณะสากลยิ่งขึ้น อาจกล่าวว่า พรานบูรพ์คือผู้ริเริ่มเพลงไทยสากลก็ได้ มีผลงานสร้างชื่อเสียงคือ ละครร้องเรื่อง "จันทร์เจ้าขา" และ "โรสิตา"

ประวัติ

บุตรของหลวงราชสมบัติ (จันทน์) นายอำเภอเมือง และนางสร้อย เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2444 ที่ อ.เมือง จังหวัดเพชรบุรีมีน้องสาวร่วมบิดา มารดา 1 คน คือ นางสังวาลย์ มณิปันตี (ถึงแก่กรรม) เนื่องจากบิดาเป็นข้าราชการ ซึ่งต้องโยกย้ายไปรับราชการตามต่างจังหวัดต่างๆ เมื่อเติบวัยที่จะเข้าศึกษาได้ บิดาได้ย้ายมาจังหวัดราชบุรี จึงได้เข้าเรียนหนังสือที่วัดสัตนาถ จังหวัดราชบุรี เรียนอยู่ได้ไม่นานบิดาก็ถึงแก่กรรม ขณะนั้นมีอายุได้ 7 ปี มารดาได้พากลับบ้านเดิมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เรียนหนังสือต่อจนอายุได้ 11 ปี จึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบนั้น นอกจากจะได้รับเลือกเข้าเล่นฟุตบอลในทีมโรงเรียนแล้ว ยังสามารถเล่นยูโด และไวโอลินได้ดีอีกด้วย เมื่อจบชั้น ม.8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ได้เข้าศึกษาต่อที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นนายอำเภอ แต่อาจารย์เห็นว่าตัวเล็กจะเป็นนายอำเภอคงไม่เหมาะ จึงย้ายคณะไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อเรียนถึงปี 2 มารดาถึงแก่กรรม และไม่มีทุนเรียนต่อ จึงออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อออกจากมหาวิทยาลัย กำลังเป็นระยะที่คณะละครราตรีพัฒนา เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา จึงได้เริ่มชีวิตละครด้วยการบอกบทหลังหลังฉาก ขณะเดียวกันก็เขียนบทกวีในนาม "อำแดงขำ" เรื่องอ่านเล่นในนามปากกา "รักร้อย" และเริ่มแต่งบทละครเรื่อง "ทะแกล้วทหารสามเกลอ" ขึ้นเป็นเรื่องแรก ได้รับผลสำเร็จอย่างดี จนได้เป็นผู้แต่งบทละครและกำกับการแสดงเอง เริ่มใช้นามปากกา "พรานบูรพ์" ครั้งแรก เมื่อเขียนเรื่อง "เหยี่ยวทะเล"

ไฟล์:จันทโรภาส.jpg
คณะละครจันทโรภาส

ริเริ่มดัดแปลงเพลงไทยเดิมที่มีลูกคู่ร้องรับ มาสู่แบบสากล โดยที่ทำนองเพลงที่ใช้กับบทละครร้องยุคนั้น มีลูกคู่ยืดยาดเกินควร จึงใส่เนื้อร้องเต็มหรือตัดให้กระชับแทนลูกคู่ใช้ดนตรีคลอ โดยใช้เครื่องดนตรีฝรั่งบรรเลงแทนเครื่องพิณพาทย์ลาดตะโพนฉับแกระ เป็นที่นิยมกันมาก เมื่อคณะละครราตรีพัฒนาระงับการแสดงเพราะเจ้าของมีภารกิจทางด้านโรงภาพยนตร์เพิ่มขึ้น จึงเข้าทำงาน น.ส.พ.ประจำกองบรรณาธิการเดลิเมล์รายวัน เขียนเรื่องสั้น เรื่องยาว และบกพากย์การ์ตูนใน น.ส.พ.เดลิเมล์วันจันทร์ ต่อมาได้จัดตั้งคณะละครชื่อ "ศรีโอภาส" ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "จันทโรภาส" ละครที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือเรื่อง "จันทร์เจ้าขา" ซึ่งถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ เมื่อ พ.ศ. 2499 แสดงนำโดย เจือ จักษุรักษ์, สายสนม นางงามเพชรบุรี , น้อย จันทร์คณา

ริเริ่มทำบทพากย์ภาพยนตร์ในยุคแรก ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องหน้าจอให้คนฟังก่อนหนังฉาย ต่อมาเป็นการพากย์แบบโขน ในหนังอินเดียเรื่อง รามเกียรติ์ แล้วพัฒนาเป็นการพากย์เฉพาะเสียงแต่ละคนที่กำลังพูดพร้อมดนตรีประกอบในปัจจุบัน เริ่มจากเรื่อง "อาบูหะซัน" มีทิดเขียว (สิน สีบุญเรือง) และคณะ เป็นผู้พากย์ เมื่อ พ.ศ.2476 [1]

สมรสกับนางศรี จันทร์คณา มีบุตรและธิดา ดังนี้ นายจารุ จันทร์คณา (ถึงแก่กรรม) นางสาวจุไร จันทร์คณา (ถึงแก่กรรม) นางสาวจามรี จันทร์คณา และนางสาวจริยา จันทร์คณา และมีบุตรชายคือ จงรัก จันทร์คณาที่เกิดจากนางเทียมน้อย เนาวโชติ

ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2519 อายุได้ 74 ปี

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐมได้ปั้นหุ่นของพรานบูรพ์จัดแสดงไว้เพื่อเป็นเกียรติด้วย

ผลงาน

บทภาพยนตร์

พรานบูรพ์ (ซ้าย) ถ่ายภาพคู่กับแก้ว อัจฉริยะกุล

กำกับภาพยนตร์

ประพันธ์เพลง

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. โดม สุขวงศ์ ,ประวัติภาพยนตร์ไทย ,องค์การค้าคุรุสภา ,2533 ISBN:974-005-244-4