ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลนครนครราชสีมา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xpanderz (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 283: บรรทัด 283:
* [[ท้าวสุรนารี]]
* [[ท้าวสุรนารี]]
* [[ประตูเมืองนครราชสีมา]]
* [[ประตูเมืองนครราชสีมา]]
* [[เขตเมืองนครราชสีมาและปริมณฑล]]


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:48, 3 ตุลาคม 2555

ความหมายอื่นของ นครราชสีมา ดูที่ นครราชสีมา (แก้ความกำกวม)
เทศบาลนครนครราชสีมา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon City of Nakhon Ratchasima
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครนครราชสีมา
ตรา
คำขวัญ: 
มหานครแห่งอีสาน เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ประตูเชื่อมโยงพันธมิตร สร้างเศรษฐกิจสู่สากล
ประเทศ ไทย
จังหวัด[[จังหวัด{{{province}}}|{{{province}}}]]
อำเภอ{{{district}}}
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายสุรวุฒิ เชิดชัย
พื้นที่
 • ทั้งหมด37.50 ตร.กม. (14.48 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2555)
 • ทั้งหมด138,185 คน
 • ความหนาแน่น3,684.9 คน/ตร.กม. (9,544 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา 635 ถนนโพธิ์กลาง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทรศัพท์0-4423-4600 ถึง 59
เว็บไซต์http://www.koratcity.net/ http://www.koratcity.net/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครนครราชสีมา หรือ เมืองโคราช ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดให้เป็นเมืองหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยที่ตั้งของอยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. โดยเทศบาลนครนครราชสีมาเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 3 ของประเทศไทย เป็นรองเพียงกรุงเทพมหานครและเทศบาลนครเชียงใหม่เท่านั้น แต่หากเรียงตามจำนวนประชากรจะเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 รองจากกรุงเทพมหานครโดยรวมปริมณฑลเข้าไปรวมกับกรุงเทพฯด้วย เมืองโคราชเป็นศูนย์กลางการค้า การพานิชย์ การคมนาคมทางบก และอุตสาหกรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อยู่ระหว่างละติจูดที่ 14-16 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 101-103 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 150-300 เมตร มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ 259 กิโลเมตร โดยทางรถไฟ 264 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทางทางเครื่องบินประมาณ 30 นาที ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลาดเอียงไปทาง ทิศตะวันออกตอนเหนือ ของตัวเมืองเป็นที่ราบลุ่มทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่ราบสูง

ที่ตั้งและอาณาเขต

เทศบาลนครนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 37.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 23,430 ไร่ 2 งาน หรือประมาณร้อย ละ 4.96 ของพื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา (อำเภอเมืองนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 755.596 ตารางกิโลเมตร) หรือ ประมาณร้อยละ 0.18 ของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา (จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ 20,493.9 ตารางกิโลเมตร)

สำนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา


ภาพมุมกว้างของตัวเมืองนครราชสีมา มุมมองจากอาคาร 9 ชั้นที่ 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ประวัติ

เมืองนครราชสีมา เป็นชุมชนเมืองโบราณเมืองหนึ่งแห่งราชอาณาจักรไทยในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาโปรดฯ ให้ย้ายเมือง 2 เมืองเดิมคือ เมืองโคราช และเมืองเสมา (ในท้องที่อำเภอสูงเนิน) มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นในพื้นที่ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2199 โดยสร้างให้มีป้อมปราการ และคูน้ำล้อมรอบ แล้วตั้งชื่อเมืองใหม่ โดยใช้ชื่อเมืองเก่าทั้ง 2 มารวมกัน มีชื่อว่า "นครราชสีมา"

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ทรงจัดแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น มณฑลเทศาภิบาลซึ่ง มณฑลนครราชสีมา ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2436 เป็นมณฑลแรกของประเทศสยาม จากนั้น ได้มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลรศ.127 กับ ตำบลโพกลาง (โพธิ์กลาง) ขึ้นใน มณฑลนครราชสีมา จึงกลายเป็น สุขาภิบาลเมืองนครราชสีมา เมื่อที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2451[1]

และในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ได้มีประกาศจากกระทรวงมหาดไทย ให้รวม ตำบลในเมือง ในท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมา เข้าอยู่ในสุขาภิบาลเมืองด้วย อีกตำบลหนึ่ง[2] และได้พระราชทาน เงินภาษีโรงร้าน ยานพาหนะ และค่าเช่าที่ดิน ต่าง ๆที่เก็บจากตำบลในเมือง ให้รวมเข้าเป็นผลประโยชน์สำหรับใช้จ่ายในการบำรุงสุขาภิบาลเมืองนครราชสีมาต่อไปอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2478 ได้มีตราพระราชกฤษฎีกาเทศบาลขึ้น จึงมีผลให้มีการพิจารณายกฐานะสุขาภิบาลเมืองนครราชสีมาขึ้นเป็นเทศบาลเมืองนครราชสีมา[3] เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2478 สุขาภิบาลเมืองนครราชสีมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็น เทศบาลเมืองนครราชสีมา

เทศบาลเมืองนครราชสีมาได้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2480 [4]มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 4.397 ตารางกิโลเมตร ต่อมาได้ขยายเป็น 37.50 ตารางกิโลเมตร[5] มีผลบังคับใช้มา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา และจัดตั้งเป็น เทศบาลนครนครราชสีมา [6] เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538

สภาพทั่วไป

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครนครราชสีมา
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.9
(87.6)
33.6
(92.5)
35.8
(96.4)
36.6
(97.9)
35.1
(95.2)
34.4
(93.9)
33.9
(93)
33.2
(91.8)
32.2
(90)
30.9
(87.6)
29.7
(85.5)
29.1
(84.4)
33.0
(91.4)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 24.4
(75.9)
27.1
(80.8)
29.3
(84.7)
30.6
(87.1)
29.9
(85.8)
29.6
(85.3)
29.1
(84.4)
28.7
(83.7)
28.0
(82.4)
26.9
(80.4)
25.1
(77.2)
23.4
(74.1)
27.68
(81.82)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 17.9
(64.2)
20.5
(68.9)
22.8
(73)
24.5
(76.1)
24.7
(76.5)
24.8
(76.6)
24.3
(75.7)
24.2
(75.6)
23.7
(74.7)
22.9
(73.2)
20.5
(68.9)
17.6
(63.7)
22.4
(72.3)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 5.9
(0.232)
17.8
(0.701)
37.1
(1.461)
63.5
(2.5)
140.5
(5.531)
108.3
(4.264)
113.7
(4.476)
146.2
(5.756)
221.6
(8.724)
143.4
(5.646)
27.3
(1.075)
18.3
(0.72)
1,044.0
(41.102)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 0.9 2.2 5.1 7.7 13.8 13.3 13.5 16.4 18.1 12.2 4.0 0.7 107.9
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 285.2 248.6 254.2 249.0 238.7 210.0 195.3 186.0 168.0 232.5 258.0 282.1 2,807.6
แหล่งที่มา 1: World Weather Information Service [7]
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory.[8]
ภาพเมืองโคราชมุมสูง มองจากโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
ศูนย์การค้าเดอะมอลล์นครราชสีมา

ประชากร

ประชากรในเขตนครนครราชสีมามีจำนวน 138,185 คน[9] เป็นหญิง 73,039 คน เป็นชาย 65,146 คน จำนวนบ้านเรือน 62,855 หลังคาเรือน ประชากรส่วนใหญ่เป็นคน ในท้องถิ่นและอพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียง บางส่วนใช้ภาษาไทยโคราชซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นเป็นภาษาพูด เมื่อ เปรียบเทียบอัตราส่วนความหนาแน่นประชากรต่อพื้นที่รวมทั้งสิ้น ประมาณ 3,684 คนต่อตารางกิโลเมตร และยังมีประชากรแฝง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 22 (ประมาณ 36,000 คน) ของประชากรในฐานข้อมูลทะเบียนท้องถิ่น นอกจากนั้นยังพบว่ามีการแฝงตัวของประชากรตามชานเมืองซึ่งเกิดเป็นชุมชน และเข้ามาใช้บริการในเขตเมืองในเวลากลางวัน และอพยพออกไปในเวลากลางคืนประมาณ 150,000-300,000 คน/วัน

ศาสนา

ในนครนครราชสีมา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 98 ที่เหลือร้อยละ 2 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม

การศึกษา

  • สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา[10]
  • โรงเรียนสังกัดเทศบาล จำนวน 6 โรง
  1. โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) [11]
  2. โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดสมอราย) [12]
  3. โรงเรียนเทศบาล 3 (ยมราชสามัคคี) [13]
  4. โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) [14]
  5. โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดป่าจิตตสามัคคี) [15]
  6. โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา [16]

การสาธารณสุข

เทศบาลนครนครราชสีมา มีสถานบริการด้านสาธารณสุข 4 แห่ง คือ

  • ศูนย์บริการสาธารณสุขโพธิ์กลาง ตั้งอยู่ที่กองอนามัยและสิ่งแวดล้อม
  • ศูนย์บริการสาธารณสุขทุ่งสว่าง
  • ศูนย์บริการสาธารณสุขสวนพริกไทย
  • ศูนย์บริการสาธารณสุขหนองบัวรอง

นอกเหนือจากศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลแล้ว ในเขตเทศบาลยังมีหน่วยงานทั้งของภาครัฐและ เอกชนที่ให้บริการทางด้านสาธารณสุข คือ

  • โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 1 แห่ง 1,200 เตียง เป็นโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • โรงพยาบาลจิตเวช 1 แห่ง 300 เตียง
  • โรงพยาบาลเอกชน 6 แห่ง 710 เตียง
  • สถานประกอบการ ประเภท เวชกรรมชนิดมี และ ไม่มีเตียง, แผนโบราณ, ทันตกรรม ชั้น 1 และ 2, ผดุงครรภ์ชั้น 1, กายภาพบำบัด และเทคนิคการแพทย์) 120 แห่ง
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง
  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 1 แห่ง
  • สถานีกาชาด 1 แห่ง

ศูนย์การค้า, ห้างสรรพสินค้า และสถานบันเทิง

ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา มีศูนย์การค้า, ห้างสรรพสินค้า และสถานบันเทิงดังนี้

  • ศูนย์การค้าเดอะมอลล์นครราชสีมา
  • -EGV CINEMA
  • -FitnessFirst
  • -Home Fresh Mart Hypermarket
  • -Power Mall
  • -Sport Mall
  • -The Living
  • -Be Trend
  • SB Design Square สาขาเดอะมอลล์นครราชสีมา
  • Garden Mall by Klang Plaza
  • Times Square สาขาถนนร่วมเริงไชย
  • Home Pro สาขาเดอะมอลล์ นครราชสีมา
  • Home Pro สาขา นครราชสีมา (ถนนบายพาส)
  • เทสโก้ โลตัส สาขา นครราชสีมา
  • เทสโก้ โลตัส สาขา หัวทะเล นครราชสีมา
  • เทสโก้ โลตัส ซูเปอร์มาร์เก็ต สาขา korat west (ชลประทาน)
  • บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขา นครราชสีมา
  • แมคโคร สาขา นครราชสีมา
  • ศูนย์การค้า คลังพลาซ่า สาขาอัษฎางค์
  • ศูนย์การค้า คลังพลาซ่า สาขาจอมสุรางค์
  • ศูนย์การค้า คลังวิลล่า ถนนสุรนารายณ์
  • ศูนย์การค้า IT Plaza
  • ห้าง IT City
  • Mittapharp Place Community Mall
  • ตลาดนัดกลางคืนบ้านเกาะ (Ban Kho Night Bazaar)
  • ตลาดนัดกลางคืนเซฟวัน (Save One Night Bazaar)
  • ตลาดนัดกลางคืนไนท์บาซาร์ (Night Bazaar Korat)
  • โรงภาพยนตร์ EGV Cinemas (Entertain Golden Village) มีโรงจำนวน 8 โรง 2700 ที่นั่ง ชั้น 3 ศูนย์การค้าเดอะมอลล์นครราชสีมา
  • โรงภาพยนตร์ Five Star Multiplex ถนนไชยณรงค์

โรงแรมและที่พัก

  • โรงแรมสีมาธานี ถนนมิตรภาพ
  • โรงแรมดุสิต ถนนสุรนารายณ์
  • โรงแรมวี-วัน ถนนช้างเผือก
  • โรงแรมราชพฤกษ์ ถนนมิตรภาพ
  • โรงแรมดิไอยราโคราช ถนนจอมพล
  • โรงแรมปัญจดารา แยกประตูไชยณรงค์
  • โรงแรมเฮอร์มิเทจ แอนด์ รีสอร์ท ถนนท้าวสุระ
  • โรงแรมเจ้าพระยาอินน์ ถนนจอมสุรางค์ยาตร

สภาพทั่วไปทางเศรษฐกิจ

  1. การพาณิชยกรรม แหล่งพาณิชยกรรมจะอยู่ในบริเวณใจกลางเมืองริมถนนสายสำคัญต่างๆ
  2. การเกษตรกรรม พื้นที่การเกษตรภายในเขตเทศบาล ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณรอบๆ เมืองทางทิศเหนือ เลียบฝั่งลำตะคอง
  3. การอุตสาหกรรม มีการประกอบการเป็นโรงงานอุตสาหกรรมทุกขนาด ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาด เล็ก-ขนาดกลาง มีอยู่ประมาณ 400 โรง เช่น ทำกุนเชียง การทำเส้นก๋วยเตี๋ยว ทำลูกชิ้น เชื่อมโลหะ ปะยาง ประกอบตัวถังรถยนต์ ซ่อมเครื่องยนต์ ทำไอศกรีม เป็นต้น

การคมนาคม

เนื่องจากเป็นชุมชนเมืองที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณประตูเข้า-ออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงสามารถติดต่อ จังหวัดต่างๆ ที่อยู่ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก (พื้นที่โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (ESB) ) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างทั่วถึง สะดวกและรวดเร็ว ถนนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จำแนก ออกเป็นถนนสายหลักและสายย่อย ถนนสายหลักยังจำแนกออกเป็นถนนสายประธาน และสายกระจายรูปแบบ โครงข่ายถนนแบ่งได้เป็น 2 ส่วน

  • ส่วนที่ 1 เป็นโครงข่ายถนนในบริเวณเมืองเก่า ซึ่งอยู่ในบริเวณคูเมืองล้อมรอบทั้งหมดเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบตาราง ถนนส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่ดี ได้แก่ ถนนอัษฎางค์ ถนนราชนิกูล ถนนกำแหงสงคราม ถนนสรรพสิทธิ์ ถนนช้างเผือก ถนนราชดำเนิน ถนนเบญจรงค์ ถนนประจักษ์ และถนนกุดั่น ฯลฯ

บริการขนส่งสาธารณะ

ทางรถยนต์

  • การบริการขนส่งโดยสารทางรถยนต์ระหว่างอำเภอ และจังหวัดต่าง ๆ
มีทั้งรถตู้ รถสองแถว รถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศให้บริการ รับ-ส่ง ผู้โดยสารตลอดวัน โดยมีสถานีขนส่งผู้โดยสาร 2 แห่ง

สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่เลขที่ 86 ถนนบุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 7 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา เปิดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 บริหารจัดการโดยเทศบาลนครนครราชสีมา ใช้เป็นสถานีขนส่งภายในจังหวัดเป็นหลัก และมีรถโดยสารปรับอากาศ สายที่ 21 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ให้บริการ ประกอบไปด้วย

  • ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 24 ช่องจอด พื้นที่ 3,840 ตารางเมตร
  • พื้นที่อาคารผู้โดยสาร 6,194 ตารางเมตร
  • ห้องสุขา จำนวน 25 ห้อง (ห้องสุขาชาย 15 ห้อง, ห้องสุขาหญิง 10 ห้อง)
  • โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 6 เครื่อง

ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 1 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 2,000 เที่ยว /วัน หรือประมาณ 730,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 50,000 คน/วัน หรือประมาณ 18,000,000 ล้านคน/ปี

สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งอยู่ที่ ถนนมิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง มีเนื้อที่ 29 ไร่ 50 ตารางวา ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง และดำเนินการสถานีขนส่ง คือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดเป็นหลักเส้นทางที่สำคัญคือ สายที่ 21 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ประกอบด้วย

  • ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 111 ช่องจอด พื้นที่ 17,760 ตารางเมตร
  • พื้นที่อาคารผู้โดยสาร 28,416 ตารางเมตร
  • ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 250 คัน และรถจักรยานยนต์ ประมาณ 1,100 คัน
  • ห้องสุขา จำนวน 76 ห้อง (ห้องสุขาชาย 24 ห้อง, ห้องสุขาหญิง 52 ห้อง)
  • โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 68 เครื่อง

ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 2 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 1,300 เที่ยว /วัน หรือประมาณ 470,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 30,000 คน/วัน หรือประมาณ 11,000,000 ล้านคน/ปี

  • การบริการขนส่งสาธารณะทางรถยนต์โดยสารประจำทางในเขตเทศบาล
  • รถยนต์โดยสารประจำทาง และ รถโดยสารขนาดเล็ก ( รถสองแถว ) มีเส้นทางเดินรถ 22 เส้นทาง จากจำนวน 20 สาย
  • รถสามล้อ มีทั้งรถสามล้อเครื่อง และรถสามล้อถีบรับจ้าง ให้บริการตามเส้นทางในตัวเมือง
  • รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
  • รถแท็กซี่มิเตอร์ (TAXI METER) มีจุดจอดรถอยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่ 2
สถานีรถไฟนครราชสีมา

ทางรถไฟ

ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา มีสถานีรถไฟสำคัญ 2 แห่ง คือ

  • สถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นสถานีที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดและใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่บริเวณถนนมุขมนตรี
  • สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ เป็นสถานีรถไฟที่มีขนาดและความสำคัญรองลงมาจากสถานีนครราชสีมา ตั้งอยู่บริเวณถนนจิระ

ทั้งสองสถานีมีขบวนรถผ่านขึ้น-ล่อง วันละกว่า 60 ขบวน โดยมีเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่าน 2 สาย คือ

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลในตำบลโพกลาง มณฑลนครราชสีมา, ๒๔๕๑, เล่มที่ ๒๕ ตอนที่ ๔๐ ฉบับเพิ่มเติม, หน้า ๑๑๘๓
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ประกาศรวมตำบลในเมือง ท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมา เข้าอยู่ในสุขาภิบาลเมือง, ๒๔๕๙, เล่มที่ ๓๓ , หน้า ๒๔๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา พุทธศักราช 2478, ๒๔๗๘, เล่มที่ ๕๒ , หน้า ๑๖๗๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลเมืองนครราชสีมา (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2480, ๒๔๘๐, เล่มที่ ๕๔ , หน้า ๑๗๖๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2525, ๒๕๒๕, เล่มที่ ๙๙ ตอนที่ ๑๙๗, ฉบับพิเศษ หน้า ๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2538, ๒๕๓๘, เล่มที่ ๑๑๒ ตอนที่ ๔๐ ก, หน้า ๓๓
  7. "World Weather Information Service - Nakhon Ratchasima". สืบค้นเมื่อ 2012-03-29.
  8. Climatological Information for Nakhon Ratchasima, Thailand, accessed 29 March 2012.
  9. ข้อมูลจำนวนประชากรและบ้าน ณ ฐานข้อมูลปัจจุบัน เทศบาลนครนครราชสีมา
  10. สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา
  11. โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร)
  12. โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดสมอราย)
  13. โรงเรียนเทศบาล 3 (ยมราชสามัคคี)
  14. โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
  15. โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดจิตตสามัคคี)
  16. โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา

แม่แบบ:Coor title dm