ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรานบูรพ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 4: บรรทัด 4:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
บุตรของหลวงราชสมบัติ (จันทน์) นายอำเภอเมือง และนางสร้อย เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2444 ที่ อ.เมือง [[จังหวัดเพชรบุรี]]มีน้องสาวร่วมบิดา มารดา 1 คน คือ นางสังวาลย์ มณิปันตี (ถึงแก่กรรม) เนื่องจากบิดาเป็นข้าราชการ ซึ่งต้องโยกย้ายไปรับราชการตามต่างจังหวัดต่างๆ เมื่อเติบวัยที่จะเข้าศึกษาได้ บิดาได้ย้ายมาจังหวัดราชบุรี จึงได้เข้าเรียนหนังสือที่วัดสัตนาถ [[จังหวัดราชบุรี]] เรียนอยู่ได้ไม่นานบิดาก็ถึงแก่กรรม ขณะนั้นมีอายุได้ 7 ปี มารดาได้พากลับบ้านเดิมที่[[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]]ได้เรียนหนังสือต่อจนอายุได้ 11 ปี จึงได้เข้าเรียนต่อที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบนั้น นอกจากจะได้รับเลือกเข้าเล่นฟุตบอลในทีมโรงเรียนแล้ว ยังสามารถเล่นยูโด และไวโอลินได้ดีอีกด้วย เมื่อจบชั้น ม.8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ได้เข้าศึกษาต่อที่[[คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นนายอำเภอ แต่อาจารย์เห็นว่าตัวเล็กจะเป็นนายอำเภอคงไม่เหมาะ จึงย้ายคณะไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อเรียนถึงปี 2 มารดาถึงแก่กรรม และไม่มีทุนเรียนต่อ จึงออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุตรของหลวงราชสมบัติ (จันทน์) นายอำเภอเมือง และนางสร้อย เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2444 ที่ อ.เมือง [[จังหวัดเพชรบุรี]]มีน้องสาวร่วมบิดา มารดา 1 คน คือ นางสังวาลย์ มณิปันตี (ถึงแก่กรรม) เนื่องจากบิดาเป็นข้าราชการ ซึ่งต้องโยกย้ายไปรับราชการตามต่างจังหวัดต่างๆ เมื่อเติบวัยที่จะเข้าศึกษาได้ บิดาได้ย้ายมาจังหวัดราชบุรี จึงได้เข้าเรียนหนังสือที่วัดสัตนาถ [[จังหวัดราชบุรี]] เรียนอยู่ได้ไม่นานบิดาก็ถึงแก่กรรม ขณะนั้นมีอายุได้ 7 ปี มารดาได้พากลับบ้านเดิมที่[[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]]ได้เรียนหนังสือต่อจนอายุได้ 11 ปี จึงได้เข้าเรียนต่อที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบนั้น นอกจากจะได้รับเลือกเข้าเล่นฟุตบอลในทีมโรงเรียนแล้ว ยังสามารถเล่นยูโด และไวโอลินได้ดีอีกด้วย เมื่อจบชั้น ม.8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ได้เข้าศึกษาต่อที่[[คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นนายอำเภอ แต่อาจารย์เห็นว่าตัวเล็กจะเป็นนายอำเภอคงไม่เหมาะ จึงย้ายคณะไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อเรียนถึงปี 2 มารดาถึงแก่กรรม และไม่มีทุนเรียนต่อ จึงออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เมื่อออกจากมหาวิทยาลัย กำลังเป็นระยะที่คณะละครราตรีพัฒนา เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา จึงได้เริ่มชีวิตละครด้วยการบอกบทหลังหลังฉาก ขณะเดียวกันก็เขียนบทกวีในนาม "''อำแดงขำ''" เรื่องอ่านเล่นในนามปากกา "''รักร้อย''" และเริ่มแต่งบทละครเรื่อง '''"ทะแกล้วทหารสามเกลอ"''' ขึ้นเป็นเรื่องแรก ได้รับผลสำเร็จอย่างดี จนได้เป็นผู้แต่งบทละครและกำกับการแสดงเอง เริ่มใช้นามปากกา "''พรานบูรพ์''" ครั้งแรก เมื่อเขียนเรื่อง '''"เหยี่ยวทะเล"'''
เมื่อออกจากมหาวิทยาลัย กำลังเป็นระยะที่คณะละครราตรีพัฒนา เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา จึงได้เริ่มชีวิตละครด้วยการบอกบทหลังหลังฉาก ขณะเดียวกันก็เขียนบทกวีในนาม "''อำแดงขำ''" เรื่องอ่านเล่นในนามปากกา "''รักร้อย''" และเริ่มแต่งบทละครเรื่อง '''"ทะแกล้วทหารสามเกลอ"''' ขึ้นเป็นเรื่องแรก ได้รับผลสำเร็จอย่างดี จนได้เป็นผู้แต่งบทละครและกำกับการแสดงเอง เริ่มใช้นามปากกา "''พรานบูรพ์''" ครั้งแรก เมื่อเขียนเรื่อง '''"เหยี่ยวทะเล"'''
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
[[ไฟล์:จันทโรภาส.jpg|thumb|150px|คณะละครจันทโรภาส]]
[[ไฟล์:จันทโรภาส.jpg|thumb|150px|คณะละครจันทโรภาส]]


พรานบูรพ์ได้ดัดแปลงเพลงไทยเดิมที่มีลูกคู่ร้องรับ มาสู่แบบสากล โดยที่ทำนองเพลงที่ใช้กับบทละครร้องยุคนั้น มีลูกคู่ยืดยาดเกินควร จึงใส่เนื้อร้องเต็มหรือตัดให้กระชับแทนลูกคู่ใช้ดนตรีคลอ โดยใช้เครื่องดนตรีฝรั่งบรรเลงแทนเครื่องพิณพาทย์ลาดตะโพนฉับแกระ เป็นที่นิยมกันมาก เมื่อคณะละครราตรีพัฒนาระงับการแสดงเพราะเจ้าของมีภารกิจทางด้านโรงภาพยนตร์เพิ่มขึ้น พรานบูรพ์จึงได้เข้าทำงาน น.ส.พ.โดยประจำอยู่กองบรรณาธิการเดลิเมล์รายวัน และเขียนเรื่องสั้น เรื่องยาว และบกพากย์การ์ตูนใน น.ส.พ.เดลิเมล์วันจันทร์ ต่อมาได้จัดตั้งคณะละครชื่อ "''ศรีโอภาส''" ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น '''"จันทโรภาส"''' ละครที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือเรื่อง '''"[[จันทร์เจ้าขา]]"''' ซึ่งถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ เมื่อ พ.ศ. 2499 แสดงนำโดย [[เจือ จักษุรักษ์]], สายสนม นางงามเพชรบุรี , น้อย จันทร์คณา
ริเริ่มดัดแปลงเพลงไทยเดิมที่มีลูกคู่ร้องรับ มาสู่แบบสากล โดยที่ทำนองเพลงที่ใช้กับบทละครร้องยุคนั้น มีลูกคู่ยืดยาดเกินควร จึงใส่เนื้อร้องเต็มหรือตัดให้กระชับแทนลูกคู่ใช้ดนตรีคลอ โดยใช้เครื่องดนตรีฝรั่งบรรเลงแทนเครื่องพิณพาทย์ลาดตะโพนฉับแกระ เป็นที่นิยมกันมาก เมื่อคณะละครราตรีพัฒนาระงับการแสดงเพราะเจ้าของมีภารกิจทางด้านโรงภาพยนตร์เพิ่มขึ้น จึงเข้าทำงาน น.ส.พ.ประจำกองบรรณาธิการ[[เดลิเมล์รายวัน]] เขียนเรื่องสั้น เรื่องยาว และบกพากย์การ์ตูนใน น.ส.พ.[[เดลิเมล์วันจันทร์]] ต่อมาได้จัดตั้งคณะละครชื่อ "''ศรีโอภาส''" ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น '''"จันทโรภาส"''' ละครที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือเรื่อง '''"[[จันทร์เจ้าขา]]"''' ซึ่งถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ เมื่อ พ.ศ. 2499 แสดงนำโดย [[เจือ จักษุรักษ์]], สายสนม นางงามเพชรบุรี , น้อย จันทร์คณา
ผู้ริเริ่มทำบทพากย์ภาพยนตร์ในยุคแรก ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องหน้าจอให้คนฟังก่อนหนังฉาย ต่อมาเป็นการพากย์แบบ[[โขน]] ในหนัง[[อินเดีย]]เรื่อง ''[[รามเกียรติ์]]'' ก่อนการพากย์เฉพาะเสียงแต่ละคนที่กำลังพูดพร้อมดนตรีประกอบในปัจจุบัน เรื่องแรกที่พากย์แบบนี้ คือ ''"อาบูหะซัน"'' มี[[ทิดเขียว]] (สิน สีบุญเรือง) เป็นผู้พากย์
ริเริ่มทำบทพากย์ภาพยนตร์ในยุคแรก ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องหน้าจอให้คนฟังก่อนหนังฉาย ต่อมาเป็นการพากย์แบบ[[โขน]] ในหนัง[[อินเดีย]]เรื่อง ''[[รามเกียรติ์]]'' แล้วพัฒนาเป็นการพากย์เฉพาะเสียงแต่ละคนที่กำลังพูดพร้อมดนตรีประกอบในปัจจุบัน เริ่มจากเรื่อง ''"อาบูหะซัน"'' มี[[ทิดเขียว]] (สิน สีบุญเรือง) และคณะ เป็นผู้พากย์ เมื่อ พ.ศ.2476 <ref>โดม สุขวงศ์ ,ประวัติภาพยนตร์ไทย ,องค์การค้าคุรุสภา ,2533 ISBN:974-005-244-4</ref>


สมรสกับนางศรี จันทร์คณา มีบุตรและธิดา ดังนี้ นายจารุ จันทร์คณา (ถึงแก่กรรม) นางสาวจุไร จันทร์คณา (ถึงแก่กรรม) นางสาวจามรี จันทร์คณา และนางสาวจริยา จันทร์คณา และมีบุตรชายคือ [[จงรัก จันทร์คณา]]ที่เกิดจากนางเทียมน้อย เนาวโชติ
สมรสกับนางศรี จันทร์คณา มีบุตรและธิดา ดังนี้ นายจารุ จันทร์คณา (ถึงแก่กรรม) นางสาวจุไร จันทร์คณา (ถึงแก่กรรม) นางสาวจามรี จันทร์คณา และนางสาวจริยา จันทร์คณา และมีบุตรชายคือ [[จงรัก จันทร์คณา]]ที่เกิดจากนางเทียมน้อย เนาวโชติ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:49, 3 ตุลาคม 2555

ไฟล์:Pranboon.jpg
หุ่นแสดงของพรานบูรพ์ ที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย

พรานบูรพ์ หรือ จวงจันทร์ จันทร์คณา (29 มีนาคม พ.ศ. 2444 - 6 มกราคม พ.ศ. 2519) นักแต่งเพลงไทย เป็นคนแรกผู้ปฏิรูปรูปแบบเพลงไทย จากท่วงทำนองเพลงไทยเดิมที่มีลูกเอื้อนให้มีลักษณะสากลยิ่งขึ้น อาจกล่าวว่า พรานบูรพ์คือผู้ริเริ่มเพลงไทยสากลก็ได้ มีผลงานสร้างชื่อเสียงคือ ละครร้องเรื่อง "จันทร์เจ้าขา" และ "โรสิตา"

ประวัติ

บุตรของหลวงราชสมบัติ (จันทน์) นายอำเภอเมือง และนางสร้อย เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2444 ที่ อ.เมือง จังหวัดเพชรบุรีมีน้องสาวร่วมบิดา มารดา 1 คน คือ นางสังวาลย์ มณิปันตี (ถึงแก่กรรม) เนื่องจากบิดาเป็นข้าราชการ ซึ่งต้องโยกย้ายไปรับราชการตามต่างจังหวัดต่างๆ เมื่อเติบวัยที่จะเข้าศึกษาได้ บิดาได้ย้ายมาจังหวัดราชบุรี จึงได้เข้าเรียนหนังสือที่วัดสัตนาถ จังหวัดราชบุรี เรียนอยู่ได้ไม่นานบิดาก็ถึงแก่กรรม ขณะนั้นมีอายุได้ 7 ปี มารดาได้พากลับบ้านเดิมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เรียนหนังสือต่อจนอายุได้ 11 ปี จึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบนั้น นอกจากจะได้รับเลือกเข้าเล่นฟุตบอลในทีมโรงเรียนแล้ว ยังสามารถเล่นยูโด และไวโอลินได้ดีอีกด้วย เมื่อจบชั้น ม.8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบฯ ได้เข้าศึกษาต่อที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นนายอำเภอ แต่อาจารย์เห็นว่าตัวเล็กจะเป็นนายอำเภอคงไม่เหมาะ จึงย้ายคณะไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อเรียนถึงปี 2 มารดาถึงแก่กรรม และไม่มีทุนเรียนต่อ จึงออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อออกจากมหาวิทยาลัย กำลังเป็นระยะที่คณะละครราตรีพัฒนา เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา จึงได้เริ่มชีวิตละครด้วยการบอกบทหลังหลังฉาก ขณะเดียวกันก็เขียนบทกวีในนาม "อำแดงขำ" เรื่องอ่านเล่นในนามปากกา "รักร้อย" และเริ่มแต่งบทละครเรื่อง "ทะแกล้วทหารสามเกลอ" ขึ้นเป็นเรื่องแรก ได้รับผลสำเร็จอย่างดี จนได้เป็นผู้แต่งบทละครและกำกับการแสดงเอง เริ่มใช้นามปากกา "พรานบูรพ์" ครั้งแรก เมื่อเขียนเรื่อง "เหยี่ยวทะเล"

ไฟล์:จันทโรภาส.jpg
คณะละครจันทโรภาส

ริเริ่มดัดแปลงเพลงไทยเดิมที่มีลูกคู่ร้องรับ มาสู่แบบสากล โดยที่ทำนองเพลงที่ใช้กับบทละครร้องยุคนั้น มีลูกคู่ยืดยาดเกินควร จึงใส่เนื้อร้องเต็มหรือตัดให้กระชับแทนลูกคู่ใช้ดนตรีคลอ โดยใช้เครื่องดนตรีฝรั่งบรรเลงแทนเครื่องพิณพาทย์ลาดตะโพนฉับแกระ เป็นที่นิยมกันมาก เมื่อคณะละครราตรีพัฒนาระงับการแสดงเพราะเจ้าของมีภารกิจทางด้านโรงภาพยนตร์เพิ่มขึ้น จึงเข้าทำงาน น.ส.พ.ประจำกองบรรณาธิการเดลิเมล์รายวัน เขียนเรื่องสั้น เรื่องยาว และบกพากย์การ์ตูนใน น.ส.พ.เดลิเมล์วันจันทร์ ต่อมาได้จัดตั้งคณะละครชื่อ "ศรีโอภาส" ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "จันทโรภาส" ละครที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือเรื่อง "จันทร์เจ้าขา" ซึ่งถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ เมื่อ พ.ศ. 2499 แสดงนำโดย เจือ จักษุรักษ์, สายสนม นางงามเพชรบุรี , น้อย จันทร์คณา

ริเริ่มทำบทพากย์ภาพยนตร์ในยุคแรก ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องหน้าจอให้คนฟังก่อนหนังฉาย ต่อมาเป็นการพากย์แบบโขน ในหนังอินเดียเรื่อง รามเกียรติ์ แล้วพัฒนาเป็นการพากย์เฉพาะเสียงแต่ละคนที่กำลังพูดพร้อมดนตรีประกอบในปัจจุบัน เริ่มจากเรื่อง "อาบูหะซัน" มีทิดเขียว (สิน สีบุญเรือง) และคณะ เป็นผู้พากย์ เมื่อ พ.ศ.2476 [1]

สมรสกับนางศรี จันทร์คณา มีบุตรและธิดา ดังนี้ นายจารุ จันทร์คณา (ถึงแก่กรรม) นางสาวจุไร จันทร์คณา (ถึงแก่กรรม) นางสาวจามรี จันทร์คณา และนางสาวจริยา จันทร์คณา และมีบุตรชายคือ จงรัก จันทร์คณาที่เกิดจากนางเทียมน้อย เนาวโชติ

ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2519 อายุได้ 74 ปี

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐมได้ปั้นหุ่นของพรานบูรพ์จัดแสดงไว้เพื่อเป็นเกียรติด้วย

ผลงาน

บทภาพยนตร์

พรานบูรพ์ (ซ้าย) ถ่ายภาพคู่กับแก้ว อัจฉริยะกุล

กำกับภาพยนตร์

ประพันธ์เพลง

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. โดม สุขวงศ์ ,ประวัติภาพยนตร์ไทย ,องค์การค้าคุรุสภา ,2533 ISBN:974-005-244-4