ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรื้อน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thijs!bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: ky:Лепра
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink: คอมมอนส์
บรรทัด 45: บรรทัด 45:


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{commons|Leprosy}}
{{คอมมอนส์|Leprosy}}
* [http://www.netflix.com/Movie/Triumph_at_Carville_A_Tale_of_Leprosy_in_America/70092906 Documentary film about leprosy] Netflix
* [http://www.netflix.com/Movie/Triumph_at_Carville_A_Tale_of_Leprosy_in_America/70092906 Documentary film about leprosy] Netflix
* {{DMOZ|Health/Conditions_and_Diseases/Infectious_Diseases/Mycobacterial/Hansen's_Disease/}}
* {{DMOZ|Health/Conditions_and_Diseases/Infectious_Diseases/Mycobacterial/Hansen's_Disease/}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:07, 23 กันยายน 2555

เรื้อน
ชายวัย 24 ปีติดโรคเรื้อน
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10A30
ICD-9030
OMIM246300
DiseasesDB8478
MedlinePlus001347
eMedicinemed/1281 derm/223 neuro/187
MeSHD007918

โรคเรื้อน (อังกฤษ: Leprosy) หรือ โรคแฮนเซน (อังกฤษ: Hansen's disease, ย่อ: HD) เป็นโรคเรื้อรังอันเกิดจากแบคทีเรีย Mycobacterium leprae และ Mycobacterium lepromatosis[1][2] ตั้งตามชื่อแพทย์เจอร์ราด แฮนเซน (Gerhard Hansen) ชาวนอร์เวย์ โรคเรื้อนหลัก ๆ เป็นโรคผิวหนังเส้นประสาทส่วนปลายและเยื่อเมือกระบบทางเดินหายใจส่วนบน รอยโรคที่ผิวหนังเป็นสัญญาณภายนอกหลักอย่างหนึ่ง[3] หากไม่ได้รับการรักษา โรคเรื้อนอาจลุกลาม และสร้างความเสียหายถาวรต่อผิวหนัง เส้นประสาท แขนขาและตาได้ คติชาวบ้านมักเชื่อว่าโรคเรื้อนทำให้ส่วนของร่ายกายหลุดออกมา แต่คตินี้ไม่เป็นความจริง แม้ส่วนนั้นอาจชาหรือเป็นโรคจากการติดเชื้อทุติยภูมิ ซึ่งเกิดขึ้นหลังภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อปฐมภูมิ[4][5] การติดเชื้อทุติยภูมิสามารถส่งผลให้สูญเสียเนื้อเยื่อตามลำดับ ทำให้นิ้วมือและนิ้วเท้าสั้นลงและผิดรูปร่าง เพราะกระดูกอ่อนถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย[4][5][6]

แม้วิธีการส่งผ่านโรคเรื้อนจะยังไม่ทราบแน่ชัด ผู้ทำการศึกษาส่วนใหญ่คิดว่า M. leprae ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งโดยฝอยละออง[7] การศึกษาได้แสดงว่า โรคเรื้อนสามารถส่งผ่านไปยังมนุษย์ได้โดยอาร์มาดิลโล[8][9][10] ปัจจุบันนี้ โรคเรื้อนทราบกันว่า ไม่ส่งผ่านทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้ออย่างรุนแรงหลังได้รับการรักษาแล้ว มนุษย์กว่า 95% มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ[11] และผู้ป่วยจะไม่แพร่เชื้อหลังรักษาแล้วเพียง 2 สัปดาห์

ระยะฟักตัวน้อยสุดมีรายงานว่าสั้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ ตามการเกิดโรคเรื้อนขึ้นอย่างน้อยครั้งมากในทารก ระยะฟักตัวมากสุดมีรายงานว่านานถึง 30 ปีหรือมากกว่า ดังที่สังเกตหมู่ทหารผ่านศึกที่เคยไปอยู่ในพื้นที่การระบาดช่วงสั้น ๆ แต่ปัจจุบันได้อยู่ในพื้นที่ไม่มีการระบาด เป็นที่ตกลงกันทั่วไปว่าระยะฟักตัวเฉลี่ยอยู่ระหว่างสามถึงห้าปี

โรคเรื้อนเป็นโรคที่มนุษย์เป็นมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว[12] และเป็นที่รู้จักกันดีในอารยธรรมจีน อียิปต์และอินเดียโบราณ[13] ค.ศ. 1995 องค์การอนามัยโลกประเมินว่า ประชากรโลกระหว่าง 2 และ 3 ล้านคน พิการถาวรเพราะโรคเรื้อนในขณะนั้น[14] ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประชากรโลก 15 ล้านคนได้รับการรักษาโรคเรื้อน[15] แม้การบังคับกักกันหรือการแยกผู้ป่วยออกนั้น เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกแล้ว ในสถานที่ซึ่งมีการบำบัดรักษา แต่หลายพื้นที่ของโลกก็ยังมีนิคมโรคเรื้อนอยู่ เคยเชื่อกันว่า โรคเรื้อนติดต่อทางสัมผัสและรักษาได้ด้วยปรอท ซึ่งทั้งหมดเป็นลักษณะของซิฟิลิส ซึ่งอธิบายครั้งแรกใน ค.ศ. 1530 ปัจจุบัน เชื่อกันว่าผู้ป่วยโรคเรื้อนสมัยโบราณหลายคนอาจเป็นโรคซิฟิลิส[16]

ความเป็นที่รังเกียจของสังคมช้านานกับโรคเรื้อนขั้นหนักยังเหลืออยู่ในหลายพื้นที่ และเป็นอุปสรรคสำคัญในการรายงานด้วยตัวเองและเข้ารับการรักษาเบื้องต้น การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพมีขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ด้วยการริเริ่มยาแดปโซนและยาดัดแปลง การต้านทานของแบคทีเรียโรคเรื้อนต่อแดปโซนในไม่ช้าได้วิวัฒนาขึ้น และ จากการใช้แดปโซนเกิน ได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างด้วย ไม่จนกระทั่งการริเริ่มการรักษาด้วยยาผสมระยะสั้น (MDT) ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่โรคเรื้อนสามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างประสบผลในชุมชน[17]

MDT สำหรับโรคเรื้อนประเภทเชื้อมาก ประกอบด้วยการรับประทานยาไรแฟมพิซิน แดปโซน และคลอฟาซิมินนานกว่า 12 เดือน ขนาดใช้ที่ปรับให้เหมาะกับเด็กและผู้ใหญ่สามารถหาซื้อได้ตามศูนย์สาธารณสุขหลักทุกแห่งในรูปบลิสเตอร์แพ็ก[17]

อ้างอิง

  1. Sasaki S, Takeshita F, Okuda K, Ishii N (2001). "Mycobacterium leprae and leprosy: a compendium". Microbiol Immunol. 45 (11): 729–36. PMID 11791665.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. "New Leprosy Bacterium: Scientists Use Genetic Fingerprint To Nail 'Killing Organism'". ScienceDaily. 2008-11-28. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.
  3. Kenneth J. Ryan, C. George Ray, editors. (2004). Ryan KJ, Ray CG (บ.ก.). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 451–3. ISBN 0838585299. OCLC 52358530 61405904. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help); ตรวจสอบค่า |oclc= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "Lifting the stigma of leprosy: a new vaccine offers hope against an ancient disease". Time. 119 (19): 87. 1982. PMID 10255067. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  5. 5.0 5.1 Kulkarni GS (2008). Textbook of Orthopedics and Trauma (2 ed.). Jaypee Brothers Publishers. p. 779. ISBN 8184482426, 9788184482423. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  6. "Q and A about leprosy". American Leprosy Missions. สืบค้นเมื่อ 2011-01-22.
  7. City of Houston Government Center, Health and Human Services. (n.d.). Hansen's disease (leprosy) Retrieved from http://www.houstontx.gov/health/ComDisease/hansens.html
  8. "Probable Zoonotic Leprosy in the Southern United States". The New England Journal of Medicine. สืบค้นเมื่อ April 28, 2011.
  9. "Armadillos linked to leprosy in humans". CNN. 2011-04-28.
  10. Truman, Richard W.; Singh, Pushpendra; Sharma, Rahul; Busso, Philippe; Rougemont, Jacques; Paniz-Mondolfi, Alberto; Kapopoulou, Adamandia; Brisse, Sylvain; Scollard, David M. (2011). "Probable Zoonotic Leprosy in the Southern United States". The New England Journal of Medicine. Massachusetts Medical Society. 364 (17): 1626–1633. doi:10.1056/NEJMoa1010536. PMC 3138484. PMID 21524213. สืบค้นเมื่อ 3 May 2011. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  11. "About leprosy: frequently asked questions". American Leprosy Missions, Inc. สืบค้นเมื่อ October 28, 2011.
  12. Holden (2009). "Skeleton Pushes Back Leprosy's Origins". ScienceNOW. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.
  13. "Leprosy". WHO. 2009-08-01. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.
  14. WHO (1995). "Leprosy disabilities: magnitude of the problem". Weekly Epidemiological Record. 70 (38): 269–75. PMID 7577430.
  15. Walsh F (2007-03-31). "The hidden suffering of India's lepers". BBC News.
  16. Syphilis through history Encyclopædia Britannica
  17. 17.0 17.1 "Communicable Diseases Department, Leprosy FAQ". World Health Organization. 2006-05-25. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • 1877: Lewis, T. R. (1877). Leprosy In India. Calcutta: Office Of The Superintendent Of Government Printing. สืบค้นเมื่อ 2009-08-07. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • 1895: Ashmead, Albert S. (1895). Pre-Columbian Leprosy. Chicago: American Medical Association Press. สืบค้นเมื่อ 2009-08-07. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • 1895: Prize Essays On Leprosy. London: The New Sydenham Society. 1895. สืบค้นเมื่อ 2009-08-07. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • 1896: Impey, S. P. (1896). A Handbook On Leprosy. Philadelphia: P. Blakiston, Son & Co. สืบค้นเมื่อ 2009-08-07. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • 1916: Page, Walter Hines; Page, Arthur Wilson (1916). "Fighting Leprosy In The Philippines". The World's Work: A History of Our Time. XXXI: 310–320. สืบค้นเมื่อ 2009-08-04. {{cite journal}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  • 1991:William Jopling. Leprosy stigma. Lepr Rev 1991, 62, 1-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link GA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA